ความสับสนระหว่าง “กระเป๋าเงินดิจิทัล” และ “เงินดิจิทัล”

Loading

  หลังจากการเลือกตั้งไปกว่า 100 วัน ในที่สุดเราก็ได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่โดยมีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล พร้อมนโยบายเด่น “ดิจิทัลวอลเล็ต” หรือ “กระเป๋าเงินดิจิทัล” ที่เคยประกาศไว้ช่วงหาเสียง …คนทั่วไปอาจยังสับสนกับคำว่า “กระเป๋าเงินดิจิทัล กับ เงินดิจิทัล”   หลังจากการเลือกตั้งไปกว่า 100 วัน ในที่สุดเราก็ได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่โดยมีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล พร้อมกับนโยบายเด่น “ดิจิทัลวอลเล็ต” หรือ “กระเป๋าเงินดิจิทัล” ที่เคยประกาศไว้ในช่วงหาเสียง   สื่อหลายแห่งหรือแม้แต่นักการเมืองต่างก็ใช้คำพูดที่แตกต่างกัน บ้างก็บอกว่าแจก “เงินดิจิทัล” บ้างก็เรียกว่า แจก “กระเป๋าเงินดิจิทัล” แต่เสมือนว่าทุกคนเข้าใจคล้าย ๆ กันว่าจะได้เงินจำนวน 10,000 บาท ที่อยู่ในรูปของดิจิทัล โดยทีมพรรคเพื่อไทยก็บอกว่า จะใช้เทคโนโลยี บล็อกเชน ที่มีความปลอดภัยสูงมาช่วยพัฒนาระบบดังกล่าว   คนทั่วไปก็อาจจะยังสับสนกับคำว่า “กระเป๋าเงินดิจิทัล กับ เงินดิจิทัล” ทั้ง ๆ ที่สองคำนี้แตกต่างกันมากพอควร ถ้าเราลองนึกถึงกระเป๋าเงินปกติที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำ ก็คงพอเข้าใจว่าเป็นอุปกรณ์ที่เราใช้ในการเก็บเงินสด บัตรเครดิต บัตรโดยสารรถ หรือบัตรประจำตัวต่าง ๆ…

ตั้งค่าการแจ้งเตือนในไอโฟน ไม่ให้โชว์ข้อความ ป้องกันคนอื่นแอบอ่าน

Loading

ตั้งค่าการแจ้งเตือนในไอโฟน ไม่ให้โชว์ข้อความ ขณะใช้งานไอโฟน   โดยเฉพาะตอนใช้ฟีเจอร์สะท้อนหน้าจอ เอาหน้าจอมือถือขึ้นทีวีขณะนำเสนองาน อาจเห็นข้อความแจ้งเตือน และทำให้เห็นข้อความแชทของเพื่อนคุณในแจ้งเตือน ปรากฎต่อผู้เข้าร่วมงานหลาย 10 คน หรือ 100 คนเลย ดังนั้นคุณควรจะปิดข้อความพรีวิวไว้เพื่อไม่ให้แชทสำคัญของคุณที่เป็นความลับปรากฎให้คนอื่นเห็น   iT24Hrs   ตัวอย่างข้อความเตือนที่โชว์ข้อความเต็ม ๆ อยู่   ตั้งค่าการแจ้งเตือนในไอโฟน ไม่ให้โชว์ข้อความ ป้องกันคนอื่นแอบอ่าน   iT24Hrs   เข้าไปที่ การตั้งค่า เลือก การแจ้งเตือน แล้วไปแตะที่ แสดงตัวอย่าง ซึ่งตอนนี้เลือก ตลอดเวลา อยู่   iT24Hrs   เลือกที่ ไม่เลย   iT24Hrs   แค่นี้ ข้อความเตือนต่าง ๆ ทั้งบนหน้าจอ lockscreen และแจ้งเตือนแบบสด ๆ นั้นก็ไม่โชว์ข้อความเต็ม ๆ ให้เห็น…

10 วิธี ป้องกันภัยคุกคามทาง E-mail ระวังตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

Loading

  เช็กที่นี่! 10 วิธี ป้องกันภัยคุกคามทาง E-mail และวิธีตรวจสอบ   ปัจจุบันในยุคสารสนเทศที่ไร้พรมแดน ผู้คนทั่วโลกต่างก็ใช้อีเมลเป็นเครื่องมือในการสื่อสารระหว่างกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งประโยชน์ของอีเมลนั้นมีมากมาย แต่ก็อาจเป็นช่องโหว่ให้แก่เหล่ามิจฉาชีพในการแสวงหาผลประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ หากคุณเห็นข้อความที่มีการขอชื่อบัญชีและรหัสผ่านของคุณในขณะเปิดอีเมล หรือในอีเมลของคุณมีไวรัส คุณอาจจะกำลังตกเป็นเป้าหมายของการหลอกลวงได้   ผู้หลอกลวงจะทำทุกวิถีทาง ทั้งอีเมลปลอม โฆษณาป๊อปอัพ ข้อความตัวอักษร ลิงก์เชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ไม่พึงประสงค์ เพื่อพยายามหลอกให้คุณแชร์ข้อมูลส่วนตัว เช่น รหัสผ่าน หรือข้อมูลบัตรเครดิตของคุณ ดังนั้น เพื่อป้องกันภัยคุกคามอันเกิดจากอีเมลหลอกลวงดังกล่าว ให้ทำตาม 10 คำแนะนำการป้องกันภัยคุกคามทางอีเมล ดังนี้   10 คำแนะนำการป้องกันภัยคุกคามทางอีเมล   1.  ตั้งรหัสผ่าน (Password) ที่คาดเดาได้ยาก และหมั่นเปลี่ยนบ่อย ๆ 2.  ดูแลช่องทางที่ใช้ในการเปลี่ยน (Reset) รหัสผ่านให้มีความมั่นคงปลอดภัย เช่น อีเมลสำรองสำหรับกู้คืนบัญชี 3.  หมั่นตรวจสอบประวัติการใช้งานที่น่าสงสัย รวมถึงช่องทางในการยืนยันตัวตนอย่างสม่ำเสมอ 4.  ติดตั้งโปรแกรม AntiVirus…

Google เตรียมใช้เทคโนโลยีควอนตัมบน Chrome เพื่อให้ทำงานดีขึ้น

Loading

  เทคโนโลยีควอนตัม ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีการพูดถึงมากในช่วง 1-2 ปีนี้ เพราะเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่ดีเยี่ยม แต่นักวิชาการหลายฝ่ายก็ยังกังวลว่าจะเป็นตัวทำลายเทคโนโลยีดั้งเดิม ทำให้ทุกอย่างเหมือนรีเซ็ทใหม่   มีความกังวลของผู้เชี่ยวชาญหลายราย ที่ออกมาเตือน Google ในการพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัมว่า อาจจะเป็นบ่อนทำลายเทคโนโลยีเดิมหลายอย่าง และอาจจะรุนแรงถึงขั้นข้อมูลสำคัญสูญหาย ด้าน Google ยังเงียบ   เทคโนโลยีควอนตัม ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีการพูดถึงมากในช่วง 1-2 ปีนี้ เพราะเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่คาดว่าจะเป็นตัวทำลายเทคโนโลยีดั้งเดิม อาจทำให้เกิดทั้งข้อดี-ข้อเสีย ไม่ว่าจะเป็นความได้เปรียบ-เสียเปรียบทางเศรษฐกิจ ทั้งรัฐและเอกชนทั่วโลก   อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้ก็ยังมีเรื่องดีในแง่ของงานวิจัยและการคำนวณ แต่เป็นผลร้ายในแง่ของการรักษาความปลอดภัยด้านข้อมูล   โดย Google ได้นำควอนตัมมาใช้จริงในเทคโนโลยีบางส่วนมาใช้ปฏิบัติจริงใน Chrome ซึ่งความน่ากังวลคือเทคโนโลยีนี้จะกระทบการเข้ารหัสแบบใหม่ที่อาจจะถูกทำลายด้วยควอนตัมก็เป็นได้   การผสานรวมเทคโนโลยีที่เรียกว่า X25519Kyber768 ซึ่งเป็นชื่อของอัลกอริทึมการเข้ารหัสแบบไฮบริด การรวมทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันหมายความว่า ข้อมูลได้รับการปกป้องทั้งอัลกอริธึมเดิมที่ปลอดภัยดีอยู่กับข้อมูลที่ได้รับการป้องกันจากควอนตัมคอมพิวเตอร์   นอกจากนี้ การอัปเดตเทคโนโลยีใหม่ๆ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานของ Google เพื่อ “เตรียมตัวสำหรับการย้ายข้อมูลบนเว็บไซต์ ไปยังการเข้ารหัสแบบควอนตัมที่ดีขึ้น”   Devon O’Brien ผู้จัดการโปรแกรมทางเทคนิคของ…

ระวัง!! ‘ฟิชชิ่ง’ แทรกซึมในที่ทำงาน ‘แคสเปอร์สกี้’ เปิดกลโกงล่าสุด

Loading

  ‘ฟิชชิ่ง’ เป็นคำคุ้นเคยที่ได้ยินในข่าว เป็นเทคนิคแทรกซึมของอาชญากรไซเบอร์ เพราะง่ายและได้ผลดี โดยพื้นฐานแล้ว ฟิชชิ่ง เป็นการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตประเภทหนึ่ง ใช้วิธีหลอกลวงเพื่อเอาข้อมูลประจำตัวผู้ใช้ รวมถึงขโมยรหัสผ่าน หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลลับอื่น ๆ   จับตา ‘ฟิชชิ่ง’ (Phishing) ระบาดหนัก อาชญากรใช้เทคนิคแทรกซึม ด้วยเพราะเป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลดี ฟิชชิ่ง คือ การหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตประเภทหนึ่ง ใช้หลอกเพื่อเอาข้อมูลประจำตัวของผู้ใช้ ซึ่งรวมถึงขโมยรหัสผ่าน หมายเลขบัตรเครดิต รายละเอียดบัญชีธนาคาร และข้อมูลลับอื่นๆ   ‘เอเดรียน เฮีย’ กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า อาชญากรไซเบอร์ ติดตามแนวโน้มอยู่ตลอดเวลา จึงรู้หัวข้อล่าสุดที่จะเลือกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเทคนิควิศวกรรมสังคมที่เล่นงานจิตใจของมนุษย์ ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ยากจะอดใจที่จะคลิกลิงก์ที่ไม่รู้จัก ซึ่งอาจกลายเป็นอันตรายในที่สุด   ตัวอย่าง หัวข้อฟิชชิงที่สำคัญได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ในปี 2565 นั้นเกี่ยวข้องกับ เงินชดเชย โบนัส และการคืนเงินต่างๆ โบนัสและค่าตอบแทนเป็นสิ่งยากจะปฏิเสธได้ในช่วงเวลาวิกฤติและสภาวะความไม่แน่นอนต่างๆ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมมิจฉาชีพจึงรับปากเป็นมั่นเหมาะว่า “จะให้ความช่วยเหลือทางการเงิน” ก็เพื่อหลอกลวงเงินจากผู้ใช้นั่นเอง   “แคมเปญส่งเสริมการขายโดยธนาคารรายใหญ่”…

รู้เท่าทัน AI Deepfake ภาพที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อาจไม่ใช่เรื่องจริงเสมอไป

Loading

  ในวันที่อัลกอริทึม Generative AI ถูกพัฒนาสู่การเป็น AI Deepfake ที่ฉลาดล้ำและถูกนำมา สร้างเนื้อหา “ภาพ+เสียง” ที่เสมือนเรื่องจริงจนแยกไม่ออก ว่านี่คือชุดข้อมูล ที่ “มนุษย์ หรือ เทคโนโลยี AI” เป็นผู้คนสร้างสรรค์   ประเด็นดังกล่าว กลายเป็นประเด็นร้อนที่เราต่างเป็นห่วงและให้ความสำคัญ เพราะเราแทบไม่สามารถล่วงรู้ได้เลยว่า ภาพ VDO หรือแม้แต่เสียง ที่เราแชร์ ส่งต่อกันบนโลกออนไลน์ ภายในเสี้ยววินาทีนี้ คือ ความจริง หรือ ภาพลวง แล้วเราจะรับมือและรู้ทัน AI Deepfake ได้อย่างไร?   ศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ (AI Governance Clinic หรือ AIGC) เปิดเวทีแลกเปลี่ยนมุมมอง ทำความรู้จักกับ AI Deepfake พร้อมวิธีการรับมือเบื้องต้นเพื่อให้เรารู้ทันเทคโนโลยี AI ที่วันนี้สามารถสร้างชุดข้อมูล ภาพ เสียง ได้ราวกับมนุษย์แล้ว ใน AI…