สถานการณ์ตึงเครียดบริเวณชายแดนตะวันออกของ ‘นาโต’

Loading

AFP   สถานการณ์ที่ชายแดนระหว่างโปแลนด์และเบลารุสกำลังมาถึงจุดพีค กองทหารวากเนอร์ในประเทศเพื่อนบ้าน เฮลิคอปเตอร์ของเบลารุส และผู้ลี้ภัยที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น กำลังสร้างความตื่นตระหนกให้กับรัฐบาลในกรุงวอร์ซอ   เฮลิคอปเตอร์จากเบลารุสบินต่ำเกินไปที่ระบบเรดาร์จะตรวจจับได้ แต่ผู้คนในหมู่บ้านของโปแลนด์ที่อยู่บริเวณชายแดนสามารถได้ยินเสียงกระหึ่มดังของเฮลิคอปเตอร์เหล่านั้น วอร์ซอวิจารณ์ถึงสิ่งที่มินสค์ปฏิเสธ นั่นคือ น่านฟ้าของโปแลนด์กำลังถูกละเมิด ผลลัพธ์ที่ตามมาคือ โปแลนด์ส่งกองกำลังไปที่ชายแดนมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่ครั้งแรกในฤดูร้อนนี้   นับตั้งแต่รู้ข่าวว่ากองทหารวากเนอร์เข้าไปแฝงตัวอยู่ในเบลารุส โปแลนด์ก็ระส่ำระสายแล้ว กระทรวงกลาโหมยืนยันว่าพวกเขากำลังฝึกซ้อมร่วมกับกองทัพของเบลารุส ยิ่งปรากฏมีภาพวิดีโอบันทึกการพบปะกันระหว่างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซีย กับอเล็กซานเดอร์ ลูกาเชงโกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม แล้วกองทหารถามเขาว่าพวกเขาสามารถเคลื่อนไปทางตะวันตกได้หรือไม่ ยิ่งทำให้โปแลนด์เกิดความกังวลหนักขึ้นอีก   นอกจากนี้ในการสนทนากัน พวกเขายังกล่าวถึงโปแลนด์ ลูกาเชงโกให้คำมั่นกับปูตินว่าจะให้กองทหารประจำการที่เบลารุส-ตามที่ตกลงกันไว้ และในตอนท้ายของประโยคมีเสียงหัวเราะของลูกาเชงโกด้วย ดูเป็นการยั่วยุที่ไม่มีใครในโปแลนด์ขำตาม กองทหารวากเนอร์มีอยู่ราว 4,000 นายในเบลารุส แต่ไม่ใช่ว่ากองทหารวากเนอร์อยู่ในบริเวณใกล้ชายแดนเท่านั้นที่ทำให้เกิดความไม่สงบ รัฐบาลโปแลนด์ยังเกรงว่ากองทหารวากเนอร์อาจช่วยผู้อพยพข้ามพรมแดนไปฝั่งโปแลนด์ด้วย ทุกวันนี้จำนวนผู้อพยพที่พยายามข้ามพรมแดนสูงถึง 16,000 คน ซึ่งมากกว่าจำนวนทั้งหมดในปี 2022   การอพยพผ่านเส้นทางที่เรียกว่า ‘Belarus Route’ ทำให้โปแลนด์ต้องหวนนึกถึงความหลังเมื่อปี 2021 ที่ผู้อพยพหลั่งไหลเข้าสหภาพยุโรปผ่านทางเบลารุส หลายคนต้องพักค้างอยู่ในป่าบริเวณชายแดนนานหลายสัปดาห์ จนกลายเป็นเหตุฉุกเฉินด้านมนุษยธรรม ตั้งแต่ครั้งนั้นแล้วที่เบลารุสตกเป็นเป้าสงสัยว่าเป็นฝ่ายช่วยลักลอบพาผู้อพยพข้ามพรมแดน วันนี้บริเวณเส้นพรมแดนปรากฏรั้วยาว…

ความเคลื่อนไหวใหม่ในพม่า กับโอกาสยุติสงครามกลางเมือง

Loading

  รัฐบาลใหม่ของประเทศไทยจะต้องเจอกับประเด็นเรื่องพม่าที่ต่อเนื่องมาจากรัฐบาลประยุทธ์ที่ผ่านมา   จึงจำเป็นจะต้องวิเคราะห์สถานการณ์ให้แม่นว่าเราจะทำหน้าที่ประสานระหว่างอาเซียนกับผู้นำกองทัพพม่าและฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าอย่างไรจึงจะสามารถช่วยให้เกิดสันติภาพและความสงบสุขให้กับเพื่อนบ้านทางตะวันตกแห่งนี้ได้   คำประกาศของกองทัพพม่าเมื่อสัปดาห์ก่อนที่จะผ่อนผันโทษของอองซาน ซูจีลงจาก 19 ข้อหาเหลือ 14 ข้อหา   และลดโทษจากจำคุก 33 ปีเหลือ 27 ปีนั้นเป็นท่าทีที่จริงจังของพลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่ายที่จะริเริ่มกระบวนการเจรจากับ “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย” ในพม่าจริงหรือไม่   อาเซียนจะประชุมสุดยอดในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้   เชื่อกันว่าจะมีการ “ทบทวน” เนื้อหาของฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียนว่าด้วยวิกฤตพม่าเพื่อให้สอดคล้องกับ “ความเป็นจริงบนภาคพื้นดิน”   อาจจะหมายความว่าอาเซียนพร้อมจะลดความเข้มข้นของมาตรการที่จะไม่ร่วมสังฆกรรมกับระดับนำของพม่าจนกว่าจะมีความคืบหน้าในการทำตามฉันทามติ 5 ข้อนี้   หรืออาจจะนำไปสู่การเผชิญหน้าที่หนักขึ้นหรือไม่   อาเซียนเองก็มีท่าทีที่แตกต่างกันในกรณีนี้   อินโดนีเซียซึ่งเป็นประธานหมุนเวียนอาเซียนปีนี้มีความแน่วแน่ในการที่จะกดดันให้รัฐบาลทหารพม่าต้องแสดงความคืบหน้าในการทำตาม 5 ข้อที่มิน อ่อง หล่ายไปร่วมประชุมและรับที่จะทำตาม   แต่ถึงวันนี้ก็ยังห่างไกลจากการนำมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม   อินโดฯ, มาเลซีย, สิงคโปร์กับฟิลิปปินส์โอนเอียงไปในทางเข้มเข้นกับทหารพม่า   ขณะที่เวียดนาม, กัมพูชา, ลาวและไทยมีท่าทีที่ผ่อนปรนมากกว่า  …

รู้จัก มหาอำนาจ กองทัพเรือโลก กองทัพเรือไทย อยู่ตรงไหน

Loading

  มหาอำนาจกองทัพเรือโลก รายนามเรือรบทันสมัยของโลก (WDMMW) จัดอันดับกองทัพเรือแข็งแกร่งสุดของโลก สำรวจ 36 ชาติ พบว่าในกลุ่มท็อป 7 เป็นเอเชีย 5 ชาติ ไต้หวัน ไทย เกาหลีเหนือ ออสเตรเลียไม่ติดท็อปเท็น   เว็บไซต์เซาท์ไชนามอร์นิงโพสต์รายงาน WDMMW จัดอันดับ มหาอำนาจ กองทัพเรือโลก วัดจากจำนวนเรือรบและเรือดำน้ำโดยรวม, อายุกองเรือ, การสนับสนุนด้านโลจิสติกส์, ขีดความสามารถในการโจมตีและป้องกัน, ความหลากหลายของอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มี, การกระจุกตัวของอาวุธยุทโธปกรณ์ในพื้นที่หนึ่ง   การจัดสมดุลของเรือแต่ละประเภท จำนวนรวมเรือส่วนใหญ่แต่ไม่รวมเรือขนาดเล็ก, เรือสำรวจ และเรือพิธีการประวัติศาสตร์ การจัดอันดับแยกระหว่างเรือรบคลาสต่าง ๆ ตั้งแต่เรือคอร์เวตขนาดเล็ก เรือฟริเกต เรือพิฆาตขนาดใหญ่ และเรือลาดตระเวน แล้วประเมินออกมาเป็น “คะแนนมูลค่าที่แท้จริง” (True Value Rating)   5 อันดับ มหาอำนาจ กองทัพเรือโลก   1. กองทัพเรือสหรัฐ กองทัพเรือสหรัฐ ถูกมองว่าทรงพลังที่สุดในโลก…

มทร.สุวรรณภูมิ ใช้บล็อกเชนพัฒนา “ระบบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

Loading

  การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนของผู้ลงนามในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่ส่งผ่านออนไลน์ ซึ่งลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีหลายรูปแบบ   ปฏิเสธไม่ได้ว่า … สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ได้กลายเป็นตัวเร่งให้องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เปลี่ยนผ่านการทำงานสู่ “ดิจิทัล” กันมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าปัจจุบันหลาย ๆ หน่วยงานมี “ระบบบริหารจัดการเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์” สำหรับใช้งานเรียบร้อยแล้ว   แต่..ทำไมบางหน่วยงานยังคงใช้วิธี “ลงลายมือชื่อหรือเซ็นเอกสาร” ในข้อมูลที่เป็นกระดาษอยู่ดี สาเหตุสำคัญมาจากความไม่เชื่อถือข้อมูลที่อยู่บนระบบบริหารจัดการเอกสาร โดยเฉพาะการลงนามที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย ซึ่งแม้จะมีการลงนามไปแล้ว ผู้ดูแลระบบก็ยังสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงข้อมูลย้อนหลังได้ตลอดเวลา   พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จัดหมวดหมู่ของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็น 2 กลุ่มหลักคือ   1.ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป เช่น การส่งข้อมูลตอบกลับทางอีเมล หรือการวางรูปลายเซ็นไว้บนเอกสาร เป็นต้น และ   2.ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ ซึ่งจะใช้กระบวนการเข้ารหัสทางคอมพิวเตอร์ (Digital Signature) เพื่อใช้ตรวจสอบและผูกมัดผลทางกฎหมายให้แน่นยิ่งขึ้น   ปัจจุบัน ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ จะมีโซลูชั่นในการให้บริการจากผู้ให้บริการออกใบรับรอง…

จับตา Generative AI สู่ช่องทาง ‘อาชญากรไซเบอร์’ โจมตี!!

Loading

  ทุกเทคโนโลยีมีศักยภาพในการใช้งานทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเทคโนโลยี “generative AI” อย่างเช่น ChatGPT ซึ่งนับเป็นแพลตฟอร์มที่ถูกกล่าวถึงอย่างมากในแวดวงไอที   แซม ออลท์แมน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ OpenAI ผู้สร้าง ChatGPT เองก็ได้แสดงความกังวลในแถลงการณ์ฉบับล่าสุด โดยได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของเอไอ และให้นำไปใช้งานอย่างเหมาะสม โปร่งใส ให้ความสำคัญกับประเด็นความท้าทายระดับโลก ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงกับมนุษยชาติ     ChatGPT ช่องทางภัยร้าย เอกภาวิน สุขอนันต์ ผู้จัดการประจำวีเอ็มแวร์ประเทศไทย เล่าถึงประเด็นนี้ว่า ความกังวลและข้อเสนอแนะข้างต้นเป็นการกระตุ้นและเน้นยำให้บริษัทต่างๆ พิจารณาเชิงรุกถึงผลกระทบด้านความปลอดภัยของ generative AI   เป็นโอกาสสำหรับองค์กรที่จะต้องเริ่มตื่นตัวในเรื่องการปกป้องระบบและข้อมูลของตนเมื่อเผชิญกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าเหล่านี้   นอกจากนี้ ยังได้พบว่า ผู้ประสงค์ร้ายอาศัยช่องทางเหล่านี้สร้างประโยชน์แก่ตนเอง ตัวอย่าง ไม่กี่สัปดาห์ หลังจากการเปิดตัว ChatGPT เมื่อเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา อาชญากรไซเบอร์ได้นำเครื่องมือไปแชร์และใช้บนฟอรัมดาร์กเว็บ   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องมือที่สามารถใช้โดยผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการเขียนโค้ด เพื่อสร้างมัลแวร์ที่ซับซ้อนขึ้นมาใหม่ สำหรับคนหลายล้านคน   ChatGPT นั้นเป็นเสมือนวิศวกรคนหนึ่งที่บริษัทจ้างทำงาน หรือเปรียบเสมือนพนักงานที่มีศักยภาพคนหนึ่งที่เต็มไปด้วยความรู้และสามารถเข้าถึงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต สั่งงานได้ตลอด…

ความเสี่ยงไซเบอร์ ‘Critical Infrastructure’

Loading

  อย่างที่เราทราบกันดีว่า ระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Critical Infrastructure) มีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ เลยก็ว่าได้ หากมีปัญหาใด ๆ ที่ทำให้ระบบต้องหยุดชะงัก แน่นอนว่าจะนำมาสู่ผลกระทบที่เป็นวงกว้างและสร้างความเสียหายได้เป็นอย่างมากเลยทีเดียว   จึงไม่น่าแปลกใจที่ระบบโครงสร้างพื้นฐาน กลายเป็นเป้าหมายในการโจมตีจากเหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์ เมื่อเร็ว ๆ นี้มีการเผยแพร่รายงานที่ให้ความสำคัญกับความสามารถในการปรับตัวของพนักงานเพื่อเป็นการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ   นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงสัดส่วนการมีส่วนร่วมที่สูงขึ้นในการระบุบ่งชี้และรายงานเกี่ยวกับความพยายามในการโจมตีผ่านฟิชชิ่ง (phishing)   โดยรายงานนี้มีชื่อว่า Human Cyber-Risk Report: Critical Infrastructure มีการตรวจสอบปัจจัยเสี่ยงที่มาจากมนุษย์ภายใต้ภาคส่วนของโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการจำลองฟิชชิ่ง (Phishing Simulation) ถึง 15 ล้านครั้ง และการโจมตีทางอีเมลที่ได้มีการรายงานไว้ในปี 2565 ประมาณ 1.6 ล้านคนที่เข้าร่วมในโปรแกรมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านความปลอดภัย   ภายในปีแรกของการเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกอบรมดังกล่าวนี้พบว่า กว่า 65% ของผู้เข้าร่วมสามารถตรวจพบและรายงานการโจมตีทางอีเมลที่เป็นอันตรายได้ซึ่งนับได้ว่าเป็นสัญญาณที่ดีในการรับมือกับภัยคุกคามได้อย่างเป็นรูปธรรม   นอกจากนี้ ในงานวิจัยยังพบอีกว่า พนักงานได้แสดงออกถึงการตรวจจับภัยคุกคามสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมถึง 20 % โดยองค์กรเหล่านี้มีอัตราการตรวจจับภัยคุกคามพีคที่สุดคือ 10 เดือน ซึ่งถือว่าดีกว่าค่าเฉลี่ย 12…