IT Certification กับ IT Certificate ความสำคัญต่างกันอย่างไร

Loading

Picture Credit : WBT Systems   การรับรองคุณวุฒิส่วนบุคคลสำหรับสายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ถือว่าเป็นยุทธศาสตร์แห่งชาติที่สำคัญที่สามารถยกระดับความก้าวหน้าในการผลิตและพัฒนากำลังคนในประเทศไทย คุณวุฒิวิชาชีพด้านไอที เป็นการรับรองทักษะและความเชี่ยวชาญของบุคคล และสามารถสร้างมาตรฐานการบริการให้กับองค์กรได้อย่างยั่งยืน แล้วรูปแบบมาตรฐานของ การรับรองด้านไอที (IT Certification) กับ ใบรับรอง (Certificate) แตกต่าง และมีความสำคัญอย่างไร   ประเทศไทยมีการตื่นตัวในการกำหนดยุทธศาสตร์แห่งชาติ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป้าหมายการพัฒนาให้คนไทยสามารถใช้คอมพิวเตอร์ระดับพื้นฐานได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนประชากรไทยทั้งประเทศ ทั้งภาคการศึกษา และภาคอุตสาหกรรม จึงได้จัดแผนบูรณาการระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. ในฐานะหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่พัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพ อันเป็นกลไกสำคัญที่จะยกระดับความก้าวหน้าและอัตราผลผลิตของกำลังคนในประเทศไทย จึงมีการร่วมมือกับกลุ่มอุตสาหกรรมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ‘จัดทำมาตรฐานอาชีพ’ อีกทั้งยังรับรองทักษะและความเชี่ยวชาญของบุคคลด้วยการสร้างมาตรฐานในการวัดสมรรถนะเพื่อรับรอง ‘คุณวุฒิวิชาชีพ’   อ้างอิงข้อมูลเพิ่มเติมจาก : file_32600e26a233b3fc9c88e48300c10334.pdf (dga.or.th)https://www.dga.or.th/wp-content/uploads/2018/08/file_32600e26a233b3fc9c88e48300c10334.pdf สคช.เร่งยกระดับคุณวุฒิคนไอที…รับเปิดประชาคมอาเซียน (komchadluek.net)   Certification (รับรองคุณวุฒิ) และ Certificate (ประกาศนียบัตรรับรอง)การรับรองทั้งสองรูปแบบ ยังคงมีความสับสนในการเข้าใจถึงข้อเท็จจริงของความหมายและประโยน์ในการนำไปต่อยอด ซึ่งความจริงแล้ว มีความแตกต่างกันค่อนข้างชัดเจน…

รวมคำศัพท์ด้านคอมพิวเตอร์และไอทีจากราชบัณฑิตยสภา

Loading

  รวมคำศัพท์ด้านคอมพิวเตอร์และไอทีจากราชบัณฑิตยสภา โดยเพจสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้รวบรวมคำศัพท์ด้านคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาไทย พร้อมกับความหมายของคำ ที่เชื่อว่าบางท่านอาจไม่รู้ว่า ศัพท์นี้เรียกเป็นคำไทยว่าอะไร ความหมายเป็นอะไร และเขียนอย่างไร เพจนี้ได้รวมไว้นานแล้วเป็นอัลบั้มเลยทีเดียว เลยจะมาดูคำศัพท์ด้านคอมพิวเตอร์และไอทีเป็นภาษาไทยกัน   รวมคำศัพท์ด้านคอมพิวเตอร์และไอทีจากราชบัณฑิตยสภา ที่หลายคนอาจยังไม่รู้ * หมายเหตุ ศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภาที่เผยแพร่นี้มีจุดประสงค์เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน โดยสำนักงานราชบัณฑิตยสภาจะนำข้อเสนอแนะของท่านไปปรับปรุงแก้ไของค์ความรู้ที่เผยแพร่นี้ก่อนจะบันทึกลงฐานข้อมูลงานวิชาการและจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มต่อไป   cyber bully การระรานทางไซเบอร์ ความหมายคือ การกลั่นแกล้ง การให้ร้าย การด่าว่า การข่มเหง หรือการรังแกผู้อื่นทางสื่อสังคมต่าง ๆ เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์   cybersecurity ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ภาวะที่เครือข่าย ระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรม และข้อมูล พ้นจากภัยคุกคาม มีลักษณะสำคัญ ๓ ประการ คือ คงความลับ คงความถูกต้องครบถ้วน และคงความพร้อมใช้งาน ภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยบุคลากร กระบวนการทำงาน และเครื่องมือ ที่เหมาะสม   cybercrime;…

ผ่าพิษสง มัลแวร์ ตัวแสบ!! แห่งยุคดิจิทัล

Loading

  สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ เอ็ตด้า เผยแพร่ข้อมูล ระบุ พิษสงของ “มัลแวร์” โปรแกรมประสงค์ร้าย ถูกเขียนขึ้นหวังเข้าทำอันตรายกับข้อมูลในระบบ ทั่วโลกต้องสูญเสียเม็ดเงินให้กับมัลแวร์ “ตัวแสบ” ของยุคนี้ไปอย่างมหาศาล   “มัลแวร์” (MALWARE) หรือ “ไวรัสคอมพิวเตอร์” ย่อมาจาก MALicious และ SoftWARE หมายถึง โปรแกรมประสงค์ร้ายที่ถูกเขียนขึ้นมา เพื่อทำอันตรายกับข้อมูลในระบบ เช่น ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานผิดปกติ ขโมยหรือทำลายข้อมูลหรืออาจจะเปิดช่องทางให้ผู้ไม่หวังดีเข้ามาควบคุมเครื่องของเราได้   ประเภทของมัลแวร์ เช่น   Virus (ไวรัส) สามารถแพร่กระจายตัวเองไปยังเครื่องอื่น ๆ ผ่านไฟล์ที่ส่งต่อกันระหว่างเครื่อง เมื่อมันแอบเข้ามายังคอมพิวเตอร์ได้แล้ว มันก็จะเข้าไปก่อกวนการทำงานจนทำให้เกิดผลเสียต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ เหมือนเวลาที่เราป่วยเพราะไวรัส ร่างกายของเราก็จะทำงานได้ไม่เต็มที่เท่าเดิม คอมพิวเตอร์เองก็เช่นเดียวกัน   Worm (เวิร์ม) สามารถแพร่กระจายตัวเองไปยังเครื่องอื่น ๆ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้เองโดยอัตโนมัติ คล้ายกับตัวหนอนที่ชอนไชไปยังเส้นทางต่าง ๆ จนทำให้เครือข่ายล่มหรือใช้งานไม่ได้   Trojan (โทรจัน) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อหลอกเราว่า…

ความหมายของความผิดเกี่ยวกับทรัพย์

Loading

  ความหมายของความผิดเกี่ยวกับทรัพย์   ลักทรัพย์ คือ การนำเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย โดยที่เจ้าของไม่ยินยอม   วิ่งราวทรัพย์ คือ การลักทรัพย์ของผู้อื่นโดยฉกฉวยซึ่งหน้า โดยเจ้าของทรัพย์ต้องอยู่ในในระยะประชิด และรู้ตัวตอนที่โดนลักทรัพย์ไป   กรรโชกทรัพย์ คือ การข่มขู่ให้ผู้อื่นยอมให้ทรัพย์ โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือ โดยขู่ว่าจะทำอันตราย ต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน ซึ่งผู้ถูกขู่ต้องยอมให้เพราะความกลัวจากการถูกขู่   รีดเอาทรัพย์ คือ การข่มขู่ให้ผู้อื่นยอมให้ทรัพย์ โดยขู่ว่าจะเปิดเผยความลับให้เกิดความเสียหาย *** “ความลับ” คือข้อเท็จจริงที่ไม่ประจักษ์แก่คนทั่วไป และเจ้าของประสงค์จะปกปิด ***   ชิงทรัพย์ คือ การลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายในขณะนั้น   ปล้นทรัพย์ คือ การทำความผิดฐานชิงทรัพย์โดยร่วมกันตั้งแต่ 3 คน ขึ้นไป   ฉ้อโกง คือ การ “หลอกลวง” ผู้อื่นด้วยการ…

ที่มาของการเรียกชื่อประเทศ “Burma” และ “Myanmar” บนเวทีโลก

Loading

  เป็นที่ทราบกันว่าเมียนมาคือประเทศพม่าที่คนไทยเรียกขานกัน สองชื่อนี้ที่เป็นภาษาอังกฤษ คือ Burma และ Myanmar ถูกเลือกใช้เเตกต่างกันในประเทศต่างๆ และในเมียนมาเอง สหประชาชาติและ หลายประเทศ เช่น ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และไทย ใช้คำเรียกประเทศเพื่อนบ้านของไทยนี้ว่า Myanmar แต่สหรัฐฯ มีนโยบายให้ใช้คำเรียกเมียนมาว่า Burma แต่หากต้องเป็นงานที่ต้องเเสดงมารยาททางการทูตในกรณีพิเศษสหรัฐฯจะใช้คำว่า Myanmar แทน ตามคำอธิบายของโฆษกทำเนียบขาว เจน ซากี เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้คำเรียกทั้งสองชื่อมีที่มาทางประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ เมื่อปี ค.ศ.1989 หลังจากที่รัฐบาลทหารพม่าปราบปรามผู้เรียกร้องประชาธิปไตยและสังหารคนหลายพันคน กองทัพผู้ปกครองประเทศเปลี่ยนชื่อพม่าจาก Burma เป็น Myanmar ผู้นำทหารยังเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงจาก Rangoon เป็น Yangon กองทัพให้เหตุผลว่า ชื่อเดิม Burma เป็นการสะท้อนถึงกลุ่มชาติพันธุ์ชาว Burman ของประเทศแต่มองข้ามความสำคัญของชนกลุ่มน้อยอื่นในประเทศที่มีอยู่ 134 กลุ่ม นอกจากนี้ชื่อ Burma ยังเป็นคำเรียกเมื่อครั้งที่ประเทศอยู่ใต้อำนาจจักรวรรดินิยมอังกฤษ     ในส่วนของคนในประเทศเอง นางออง ซาน…

เฟมทวิต : ประวัติศาสตร์ของแนวคิดสตรีนิยม และปมขัดแย้งในสังคมไทย

Loading

แนวคิดสตรีนิยม (feminism) และกลุ่มผู้นิยมแนวคิดนี้ที่เรียกว่า “เฟมินิสต์” (feminist) กำลังเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงอย่างเผ็ดร้อนในหมู่ผู้ใช้โซเชียลมีเดียของไทย #เฟมทวิต เป็นแฮชแท็กที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทางโซเชียลมีเดีย โดยเป็นคำเรียกในเชิงเสียดสีที่หมายถึง กลุ่มผู้ใช้ทวิตเตอร์ที่ออกมารณรงค์เรื่องความเสมอภาคทางเพศระหว่างหญิงชาย และต่อต้านเรื่องการเหยียดเพศ ตลอดจนการล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้หญิง ผ่านการโพสต์ถ้อยคำในโลกออนไลน์ โดยที่ไม่ได้ลงมือทำอะไรอย่างแท้จริง แบบที่กลุ่ม “เฟมินิสต์” ตัวจริงเคลื่อนไหวรณรงค์อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง บีบีซีไทยจะพาไปดูประวัติความเป็นมาของแนวคิดสตรีนิยม และความเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อความเสมอภาคระหว่างเพศนี้ กำเนิดแนวคิดสตรีนิยม คำว่า “เฟมินิสม์” (feminism) หรือแนวคิดสตรีนิยม ได้รับการบัญญัติไว้โดยนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ ชาร์ล ฟูรีเย ในปี ค.ศ.1837 ปัจจุบันสารานุกรมบริแทนนิกา ซึ่งเป็นสารานุกรมภาษาอังกฤษที่ตีพิมพ์มายาวนาน ได้นิยามความหมายของคำนี้ว่าเป็น “ความเชื่อเรื่องความเท่าเทียมกันระหว่างชายหญิงในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง” ขณะที่พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับอ็อกซ์ฟอร์ด ได้นิยามคำว่า “เฟมินิสต์” (feminist) ว่าเป็น “ผู้สนับสนุนสิทธิและความเสมอภาคของสตรี” รีเบ็คก้า เวสต์ นักเขียนชื่อดังชาวอังกฤษผู้วิพากษ์วิจารณ์ความไม่เท่าเทียมระหว่างเพศอย่างตรงไปตรงมา เคยเขียนเอาไว้ในปี 1913 ว่า “ดิฉันเองไม่เคยระบุได้อย่างชัดเจนว่า แนวคิดสตรีนิยม คืออะไร ดิฉันรู้เพียงว่าผู้คนเรียกดิฉันว่า “เฟมินิสต์” เวลาที่ดิฉันแสดงทัศนะที่แบ่งแยกความแตกต่างระหว่างตัวดิฉันกับพรมเช็ดเท้า” พัฒนาการของแนวคิดสตรีนิยม…