“ประสบ” หรือ “ประสพ”

Loading

โดย : สำรวย นักการเรียน สำนักงานราชบัณฑิตยสภา           คำ “ประสบ” พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า เป็นกริยา หมายถึง “พบ พบปะ พบเห็น” คำที่มี “ประสบ” ประกอบอยู่ด้วย พจนานุกรมฯ เก็บคำว่า “ประสบการณ์” และ“ประสบการณ์นิยม”           ส่วนคำ “ประสพ” พจนานุกรมฯ นิยามว่า “การเกิดผล” และบอกที่มาของคำว่ามาจากภาษาสันสกฤตว่า “ปฺรสว” ซึ่งตรงกับภาษาบาลีว่า “ปสว           ในภาษาบาลี มีคำหนึ่ง คือ “ปสวติ” ซึ่งเป็นคำกิริยา เช่น ประโยคว่า สทฺโธ กุลปุตฺโต พหุ…

Panama Papers

Loading

กรณีนี้อยู่ในข่ายการจารกรรมข้อมูลข่าวสารที่เป็นความลับ เพื่อนำออกเปิดเผยสู่บุคคลอื่น ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องหรือมีอำนาจหน้าที่ที่จะได้รับทราบ  แต่ด้วยเหตุที่เป็นการรั่วไหลข้อมูลข่าวสารของบริษัทเอกชน ทั้งยังเป็นข้อมูลข่าวสารลับที่เกี่ยวกับการทุจริตและอาชญากรรม การนำออกเปิดเผยที่เกิดขึ้นจึงมิได้ถูกประเมินว่าเป็นการ Hack ระบบสารสนเทศที่ผิดกฎหมาย ทั้งส่งผลกระทบอื่นๆ ตามมา หนังสือพิมพ์SüddeutscheZeitungในเยอรมันได้รับข้อมูลขนาด 2.6 เทอราไบท์ (เป็นเอกสารประมาณ 11.5 ล้านชิ้น) โดยไม่ปรากฎแหล่งที่มาเมื่อกลางปี2558 รายละเอียดข้อมูลดังกล่าวนับแต่ปี 2520 ซึ่งเป็นข้อมูลความลับของบริษัท Mossack Fonseca ประกอบด้วย E-mail โต้ตอบกับลูกค้า เอกสารสัญญา ฐานข้อมูล เอกสารทางกฎหมายของบริษัท Offshore กว่าสองแสนแห่ง ใน21 ประเทศ ธนาคารอีกกว่า 500 แห่ง ทั้งยังปรากฎชื่อบุคคลที่มีชื่อเสียงทั่วโลกนับแต่ผู้นำประเทศ หัวหน้าคณะรัฐบาล นักการเมือง นักธุรกิจ ดารา นักกีฬา มหาเศรษฐี ในการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากที่ได้รับนี้ หนังสือพิมพ์ SüddeutscheZeitung ร่วมมือกับองค์กรอิสระอย่าง International Consortium of Investigative Journalists (ICJC) โดยมีการแจกจ่ายข้อมูลดังกล่าวให้นักหนังสือพิมพ์ประมาณ 400 คนในองค์การสื่อ 107…

กองบัญชาการตำรวจนครบาลลอนดอน “นิว สกอตแลนด์ ยาร์ด” บนถนนบรอดเวย์

Loading

สก็อตแลนด์ ยาร์ด (Scotland Yard) เป็นชื่อเรียกสำนักงานใหญ่ของตำรวจนครบาล (Metropolitan Police) เดิมมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลการรักษาความสงบเรียบร้อยและกิจการตำรวจในพื้นที่กรุงลอนดอน อังกฤษสก็อตแลนด์ ยาร์ดก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2372 (ประมาณรัชกาลที่ 4 กรุงรัตนโกสินทร์) โดยเซอร์โรเบิร์ต พีล ขณะนั้นที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยสำนักแห่งแรกตั้งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ตำรวจนครบาลเดิมที่เขตไวท์ ฮอลล์ในอดีตบริเวณนั้นเคยเป็นเขตที่ประทับของกษัตริย์สกอตแลนด์และถนนทางเข้าเรียกว่า  เกรตสกอตแลนด์ยาร์ด ดังนั้น คำว่า”สกอตแลนด์ ยาร์ด” จึงถูกใช้เรียกชื่อหน่วยตำรวจที่จัดตั้งขึ้นใหม่นี้ สำนักงานแห่งเดิมที่เขตไวท์ ออลล์ ปัจจุบันเศรษฐีอินเดียซื้อไว้เพื่อปรับปรุงเป็นโรงแรมระดับห้าดาว ในปี 2433สกอตแลนด์ ยาร์ด ย้ายที่ตั้งไปอยู่บนถนนวิคตอเรียเอ็มแบงก์เมนต์ ริมฝั่งแม่น้ำเทมส์ ทางทิศเหนือและใช้ชื่อใหม่ตามการย้ายสำนักงานว่า นิว สกอตแลนด์ ยาร์ด” (New Scotland Yard) และหลังจากนั้นมีการย้ายสำนักงานอีกหลายครั้ง ในปี 2510 ย้ายสำนักงานใหญ่มาที่อาคารนอร์แมน ชอว์ บนถนนบรอดเวย์ เขตเวสต์มินสเตอร์ ปัจจุบันได้ย้ายกลับไปที่อาคารเคอร์ติส กรีน บนถนนวิคตอเรีย ซึ่งเป็นอาคารเคยใช้เป็นสำนักงานของสกอตแลนด์ ยาร์ด มาแล้ว โดยจะเปิดสำนักงานอย่างเป็นทางการในวันที่ 23 มีนาคม 2561 แต่ต้องเลื่อนกำหนดเปิดอย่างไม่มีกำหนด…

หน่วยงานตำรวจของฝรั่งเศส

Loading

ภาพจาก AFP ฝรั่งเศสแบ่งหน่วยงานตำรวจออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. Police Nationale (ตำรวจแห่งชาติฝ่ายพลเรือน) สังกัดกระทรวงมหาดไทย 2.GendarmerieNationale (ตำรวจแห่งชาติฝ่ายทหาร) สังกัดกระทรวงกลาโหม 3.Police Municipale(ตำรวจท้องถิ่นฝ่ายพลเรือน)ขึ้นตรงต่อนายกเทศมนตรี (Maire) ในแต่ละท้องถิ่น Police Nationale และ Gendarmerie Nationaleคล้ายกับตำรวจของประเทศไทย คือ มีอำนาจหน้าที่ทำการสืบสวน สอบสวน และสรุปสำนวนการสอบสวนเบื้องต้นในฐานะพนักงานสอบสวน (Police Judiciaire)เสนอต่อพนักงานอัยการ โดยเป็นไปตามกฎหมายอาญา อย่างไรก็ดี ฝรั่งเศสใช้ระบบไต่สวน (Inquisitorial system) เพื่อดำเนินกระบวนการยุติธรรม พนักงานอัยการจึงเป็นผู้กำกับและควบคุมแนวทางการสืบสวน สอบสวน รวบรวมพยานหลักฐาน ข้อเท็จจริง โดยตำรวจต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานอัยการผู้มีอำนาจสั่งดำเนินการสืบสวน สอบสวน และฟ้องคดีอาญา คือ อัยการแห่งสาธารณรัฐ (ProcureurGenerale de la Republique) Police Nationaleภาพhttp://police-bac.skyrock.com/ Gendarmerie Nationaleภาพhttps://kathyinparis.wordpress.com/ Police Municipale ปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจกฎหมายปกครองและข้อบัญญัติอื่นๆที่ออกโดยรัฐมนตรี ผู้แทนของรัฐในระดับจังหวัด (Department)…

ฐานันดร

Loading

ฐานันดรที่ 5 หรือ Fifth Estate อ้างอิงจาก วิกิพีเดีย และ poynter.org สรุปได้ว่า ก่อนเกิดฐานันดรที่ 5 จะมีฐานันดรอยู่ 4 ฐานันดรตามลำดับซึ่งแต่ละฐานันดรมีอิทธพลต่อสังคมนับแต่อดีตจนถึงปัจุบัน  ประกอบด้วย ฐานันดรที่ 1 หมายถึง พระ สังฆราช นักบุญต่างๆ ที่เกิดในยุคแรกๆ ของประวัติศาสตร์ จะมีบทบาทในการตัดสินความดี ความชั่วเป็นหลัก ฐานันดรที่ 2 คือ ชนชั้นสูง กษัตรย์ ราชวงศ์ ผู้ปกครอง เป็นยุคแห่งการครอบครองและมีศักดิ์ มีชนชั้น จึงนำไปสู่ ฐานันดรที่ 3 คือ ชนชั้นกลางหรือผู้ประกอบอาชีพค้าขาย ทหาร พยาบาล ทนายและอื่นๆ ซึ่งเป็นยุคที่เห็นชัดที่สุดในเรื่องการทำมาหากิน ในเมื่อ 3 ฐานันดรแรกปรากฏมาจนถึงทุกวันนี้ ฐานันดรที่ 4 คือ ยุคของสื่อ หลังจากเกิดสื่อสิ่งพิมพ์ สำนักข่าวทั้งหลาย รวมทั้งรายการโทรทัศน์ วิทยุ ทุกช่องทาง แหล่งข้อมูลข่าวสารที่ถูกเผยแพร่ต่อสาธารณชนทั้งหลายแต่การ นำเสนอข้อมูลของสื่อเป็นการเสนอเฉพาะด้าน เปิดเผยไม่ครบ และจำกัดการรับรู้แก่คนอ่านทั่วไป ทำให้เกิดฐานันดรที่…

อาวุธไฟฟ้าหรือปืนไฟฟ้า (Taser/ Tasergun)

Loading

อาวุธไฟฟ้าหรือปืนไฟฟ้า (Taser/ Tasergun)  คิดค้นขึ้นโดยนายแจ็ค โคเวอร์ นักวิจัยอวกาศขององค์การ NASA สหรัฐฯ ระหว่างปี ๒๕๑๒-๒๕๑๗ เป็นอาวุธที่ใช้ยับยั้งคนร้ายที่จะใช้กำลังหรืออาวุธทำร้ายผู้อื่น เพราะ Taser  ทำให้สภาพกล้ามเนื้อของคนร้ายหมดสภาพการทำงานและไม่สามารถควบคุมตนเองได้ โดยเป็นผลมาจากการช็อตของกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดบาดแผลลุกไหม้ที่ผิวหนัง อวัยวะภายในไม่เป็นอันตราย   อย่างไรก็ดี เมื่อปี ๒๕๕๒ สำนักข่าวเอเอฟพีเคยรายงานว่า เกิดคดีการใช้ปืนไฟฟ้าของตำรวจรัฐนิวเซาท์เวลล์ ออสเตรเลีย ยิงคนร้ายพร้อมอาวุธที่บุกยึดบ้านพักของประชาชน คนร้ายดังกล่าวเสียชีวิต สำหรับประเทศไทย Taserถือว่าผิดกฎหมาย เพราะเป็น “อาวุธโดยสภาพ” ตามนี้