SSL/TLS (Secure Socket Layer/Transport Layer Security)

Loading

SSL/TLS (Secure Socket Layer/Transport Layer Security)คือ หลักหรือวิธีการเข้ารหัสข้อมูลที่ส่งผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อความปลอดภัยในการติดต่อผ่านสารสนเทศทั้งหมดระหว่างเซิร์บเวอร์กับเว็บ เบราเซอร์เช่น Web page Email  Internet faxing โปรแกรมสนทนา (voice-over-IP ,VoIP)หรืออื่นๆเครื่องหมายรับรองความปลอดภัย ทางอิเล็กทรอนิกส์  วิธีการดังกล่าวกำหนดเป็นมาตราฐานความปลอดภัยที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด อนุมัติโดย CA (Certificate Authority) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการออกใบรับรอง(SSL Certificates)ให้แก่เว็บไซต์เช่น Symantec, Thawte , Comodo , Geotrust .ใบรับรองนี้เพื่อยืนยันความมีอยู่จริงของเว็บไซต์และรับรองความปลอดภัยในการเข้ารหัส-ถอดรหัสข้อมูลด้วยระบบ SSL ผ่านการเรียกโปรโตคอล https:// บริการ SSL Certificates นี้ จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานในการรับ/ส่งข้อมูลสำคัญ เช่น ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลบัตรเครดิต รหัสผ่านต่าง ๆ และโดยเฉพาะเว็บไซต์ที่มีระบบ E-commerce Online หรือเว็บไซต์ที่ให้ความสำคัญกับข้อมูลที่ออนไลน์อยู่บนอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ที่ใช้งาน SSLCertificatesต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขอใบรับรองจาก CA (Certificate Authority) ที่ออกใบรับรองให้  จุดสังเกตว่าเว็บไซต์ใดมีระบบรักษาความปลอดภัย…

การ – การณ์ หลักง่ายๆ เพื่อป้องกันความสับสน

Loading

    คำว่า “การ” และ “การณ์” ที่ผมยกมาเป็นหัวข้อในวันนี้ เป็นคำที่พบบ่อยมากในภาษาไทย โดยมักใช้ประกอบกับคำอื่นได้ทั่วไป เนื่องจากคำทั้งสองเป็นคำพ้องเสียง ออกเสียงว่า /กาน/ เหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน ดังนั้นเมื่อใช้ในการพูดจึงมักไม่ค่อยเป็นปัญหา แต่จะไปเกิดปัญหาขึ้นเมื่อสื่อสารโดยการเขียน เพราะคนไทยบางคนยังสับสนระหว่างสองคำนี้ บางครั้งในบริบทที่ต้องใช้คำว่า “การ” ก็ไปใช้คำว่า “การณ์” แทน หรือในบริบทที่ต้องใช้คำว่า “การณ์” ก็เขียนเป็น “การ” ทำให้ผิดความหมายที่ต้องการจะสื่อ วันนี้ผมจึงขอเสนอหลักง่ายๆ เพื่อป้องกันความสับสนดังกล่าวครับ     ก่อนอื่นเราต้องศึกษาความหมายของคำทั้งสองก่อน คำว่า “การ” มีอยู่สามความหมาย ได้แก่ การ ๑ น. งาน, สิ่งหรือเรื่องที่ทํา, มักใช้เข้าคู่กับคํา งาน เช่น การงาน เป็นการเป็นงาน ได้การได้งาน, ถ้าอยู่หน้านาม หมายความว่า เรื่อง, ธุระ, หน้าที่, เช่น การบ้าน การครัว…

เอกลักษณ์ – อัตลักษณ์

Loading

     ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านคงคุ้นเคยกับคำว่า “เอกลักษณ์” ในความหมายว่าเป็นลักษณะเฉพาะตัวของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เขาเป็นคนมีน้ำเสียงดุดันเป็นเอกลักษณ์ ส่วนคำว่า “อัตลักษณ์” ก็เป็นอีกคำหนึ่งที่ผมพบว่ามีการใช้มากขึ้นในปัจจุบันโดยเฉพาะในแวดวงวิชาการ เช่น สัมมนาเรื่องการแสดงอัตลักษณ์ของกวีในบทประพันธ์ร่วมสมัย      คำว่า “เอกลักษณ์” และ “อัตลักษณ์” นี้สะกดคล้ายคลึงกัน แต่มีความหมายไม่เหมือนกันเสียทีเดียว แถมยังมีความหมายบางส่วนทับซ้อนกันอยู่ วันนี้ผมจึงขอหยิบยกเอาสองคำเจ้าปัญหามาอธิบายดังนี้ครับ      คำว่า “เอกลักษณ์” มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ว่า ลักษณะที่เหมือนกันหรือมีร่วมกัน เช่น ชุมชนนี้มีเอกลักษณ์อยู่ที่การทอผ้าจก หมายความว่าคนในชุมชนนี้มีอาชีพทอผ้าจกเหมือนๆ กันหมด อย่างไรก็ดี คนไทยส่วนใหญ่นิยมใช้คำว่า “เอกลักษณ์” ในความหมายว่าลักษณะอันเป็นเฉพาะ มีหนึ่งเดียวของสิ่งๆ หนึ่งดังที่ผมกล่าวไปแล้วข้างต้น เช่น ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย      ส่วนคำว่า “อัตลักษณ์” ไม่มีบันทึกไว้ในพจนานุกรม แต่มีตำราหลายเล่มให้ความหมายคำว่า “อัตลักษณ์” ไว้ว่าคุณลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ของลักษณะเฉพาะของบุคล สังคม ชุมชน หรือประเทศนั้นๆ…

ทันกาล, ทันการณ์ และ ทันการ

Loading

     คำที่ผมยกมาเป็นหัวข้อในวันนี้เป็นคำที่มีผู้ใช้สับสนกันมากครับ โดยทั้งสามคำเป็นคำพ้องเสียง อ่านเหมือนกันหมดว่า /ทัน-กาน/ แต่มีวิธีการสะกดต่างกัน และมีการใช้ต่างกันด้วย นอกจากนี้ ในจำนวนสามคำนี้ยังมีคำหนึ่งที่ (น่าจะ) เป็นคำที่ผิดและไม่มีใช้ในภาษาไทย ส่วนจะเป็นคำใดนั้นเชิญติดตามอ่านกันได้เลยครับ      ก่อนอื่นเรามาดูความหมายของสามคำนี้ก่อน ทั้งสามคำประกอบขึ้นจากคำว่า “ทัน” ซึ่งเป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง เป็นไปตามเวลาที่กำหนด คำว่า “กาล” หมายถึง เวลา, คราว, ครั้ง ดังนั้น คำว่า “ทันกาล” จึงหมายถึง ทันเวลา, ดำเนินการเสร็จสิ้นตามกำหนดเวลา เช่น อย่ามัวชักช้าเดี๋ยวงานจะเสร็จไม่ทันกาล      คำว่า “การณ์” หมายถึง เหตุ, เค้า มูล ดังนั้น คำว่า “ทันการณ์” จึงน่าจะหมายถึง ทันต่อเหตุการณ์ เช่น ปัจจุบันเราสามารถรายงานข่าวได้รวดเร็วทันการณ์ เพราะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย      ส่วนคำว่า “การ”…

คำว่า พฤติกรรม – พฤติการณ์

Loading

     สวัสดีครับท่านผู้อ่าน คำว่า “พฤติกรรม” และ “พฤติการณ์” ที่ผมยกมาเป็นหัวข้อในวันนี้ก็เป็นอีกคำหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้จำนวนไม่น้อยสับสนว่าสถานการณ์ใดควรเลือกใช้คำใดจึงจะถูก หากมองตามรูปศัพท์ ทั้งสองคำมีที่มาจากคำว่า พฤติ, พฤติ – (พรึด, พรึดติ) ซึ่งเป็นคำนาม หมายถึง ความประพฤติ, กิจการ, ความเป็นไป; ลักษณะความเป็นอยู่      พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า “พฤติกรรม” ไว้ว่า น. การกระทำหรืออาการที่แสดงออกทางกล้ามเนื้อ ความคิด และความรู้สึก เพื่อตอบสนองสิ่งเร้า ส่วนคำว่า “พฤติการณ์” หมายถึง น. เหตุการณ์ ที่เป็นมาหรือที่จะเป็นไป, ความเป็นไปในเวลากระทำการ      เมื่อมองให้ลึกถึงรายละเอียด จะเห็นได้ว่า “พฤติกรรม” หมายถึงการกระทำของบุคคล สามารถใช้ในความหมายกลางๆ ไม่จำเป็นต้องระบุชัดเจนว่าใครเป็นผู้กระทำ หรือกระทำเมื่อใด เช่น การทิ้งขยะบนทางเท้าเป็นพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง, พ่อแม่และครูอาจารย์ควรร่วมมือกันสร้างสรรค์พฤติกรรมตัวอย่างที่ดีให้กับวัยรุ่น เป็นต้น ส่วนคำว่า “พฤติการณ์” จะใช้กับสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วหรือกำลังจะเกิดขึ้น มักมีความเฉพาะเจาะจงในแง่ของตัวผู้กระทำ เวลา และสถานที่ เช่น ศาลพิจารณาจากพฤติการณ์แล้วเห็นว่าจำเลยมีเจตนาจะทำลายทรัพย์สินของโจทก์จริง จึงตัดสินให้เปรียบเทียบปรับจำเลยเป็นเงินห้าพันบาท เป็นต้นครับ      คำศัพท์ที่เกี่ยวเนื่องกับคำว่า พฤติ,…

ความหมายของอาชญากรรม

Loading

สำหรับความหมายของอาชญากรรม มีผู้ให้ความหมายไว้มากมายแตกต่างกัน สามารถสรุปได้ดังนี้ อาชญากรรมในความหมายอย่างกว้าง อาญา หมายถึง อำนาจ โทษ(ใช้สำหรับ พระเจ้าแผ่นดิน) กรรรม หมายถึง การกระทำที่สนองผลร้ายที่ทำไว้แต่ปางก่อน อาชญากรรม คือ การกระทำซึ่ง มีการกระทำผิด เจตนา ลักษณะความผิด   *ร้ายแรง อันตรายต่อสังคม   *กฎหมายเข้าไปดำเนินการ ได้รับโทษ   *สมาชิกของสังคม *กฎหมายบ้านเมือง -เป็นขั้นตอน -เป็นทางการ      สรุปได้ว่า อาชญากรรมในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง พฤติกรรมที่มีการกระทำผิดโดยผู้กระทำผิดมีเจตนาในการกระทำดังกล่าว โดยเป็นการกระทำความผิดที่มีลักษณะร้ายแรง มีความรุนแรงและเป็นอันตรายต่อสังคม ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบจำนวนมหาศาลต่อสังคม อันเป็นการกระทำที่มีการละเมิดต่อกฎหมายบ้านเมือง ผู้กระทำผิดจะต้องได้รับโทษทั้งที่ไม่เป็นทางการจากสมาชิกในสังคม อาทิ การตำหนิ ติเตียน การไม่คบหาสมาคมด้วย และการได้รับโทษที่เป็นทางการจากข้อกำหนดของกฎหมายบ้านเมือง โดยผู้กระทำผิดจะต้องถูกลงโทษโดยผ่านกระบวนการยุติธรรมเป็นสำคัญ อาชญากรรมในความหมายอย่างแคบ      อาชญากรรม คือ การกระทำที่ละเมิดต่อกฎหมายที่มีโทษทางอาญา      อาชญากร คือ ผู้กระทำผิดทางอาญาที่ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิดและได้รับโทษทางอาญา      สรุปได้ว่า…