ดีอีนำร่อง ‘สีคิ้ว สมาร์ท ลีฟวิ่ง’ ยกระดับความปลอดภัย-บริหารข้อมูลเมือง

Loading

หนุนดีป้าเปิดตัว สีคิ้วสมาร์ท ลีฟวิ่ง ส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในพื้นที่อำเภอสีคิ้ว ครอบคลุมมิติด้านความปลอดภัย ด้านบริการภาครัฐ และด้านการบริหารจัดการข้อมูลเมือง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารจัดการเมืองในภาคประชาชน สังคมและท้องถิ่น

ดีป้าเผย’ภูเก็ต’แชมป์เมืองอัจฉริยะไทย ดัชนีชี้วัดด้านแข่งขันสูง 83.60%

Loading

ดีป้าเผยรายงานดัชนีชี้วัดความสามารถในการแข่งขันเมืองอัจฉริยะประเทศไทย ประจำปี 2566 จาก 30 เมือง 23 จังหวัด ภูเก็ตได้ที่ 1 คิดคะแนนตามจังหวัดที่ 83.60% ส่วนวังจันทร์วัลเลย์คว้า 1 ด้าน City Base คะแนน 83.55%

รัฐบาลดิจิทัล (10): ‘คน’ …เรียนไม่รู้จบ

Loading

  “คน” เป็นหัวใจสำคัญที่สุดจาก 3 ปัจจัยหลักในการปรับเปลี่ยนองค์กรไปสู่ดิจิทัล ซึ่งได้แก่ คน กระบวนการและเทคโนโลยี   สำหรับเป้าหมายของปัจจัยเรื่อง “คน” คือ การสร้างทัศนคติของคนในองค์กรให้พร้อมปรับเปลี่ยน (Growth Mindset) การสร้างความเป็นผู้นำในการปรับเปลี่ยน และการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล ทั้งหมดนี้ก็เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์คือ บุคลากรภาครัฐที่มีประสิทธิผลในการทำงานสูงนั่นเอง   เราอาจแบ่งบุคลากรในองค์กรภาครัฐเป็นกลุ่มกว้างๆ ได้ 4 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริหารระดับสูง ซึ่งรวมผู้นำสูงสุดขององค์กรและผู้บริหารระดับรองถัดมา กลุ่มผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งคุมระดับกองหรือฝ่ายต่างๆ เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานโดยตรง กลุ่มเจ้าหน้าที่สายเทคโนโลยีดิจิทัลหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ และกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่เหลือทั้งหมด   เนื่องจากแต่ละกลุ่มมี “บทบาทหน้าที่” ในการปรับเปลี่ยนองค์กรแตกต่างกัน จึงมีเป้าหมายในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นแตกต่างกัน   บทบาทสำคัญของผู้นำองค์กร คือ การกำหนดวิสัยทัศน์ในการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลขององค์กร ผู้นำสูงสุดไม่จำเป็นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัล เพียงแต่ต้องรู้ว่า เป้าหมายของหน่วยงานต้องการอะไร แล้วตอบคำถามให้ได้ว่า “ภาพสุดท้าย” ของการดำเนินภารกิจขององค์กรจะเปลี่ยนไปอย่างไรถ้านำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้   การพัฒนาของผู้บริหารระดับสูงจึงเป็นเรื่องการสร้างความเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง สามารถกำหนดเป้าหมาย แต่งตั้งผู้บริหารระดับรองที่มาจากสายงานหลักให้มาขับเคลื่อนต่อจากเบอร์หนึ่ง แล้วทำหน้าที่คอยให้การสนับสนุนผ่านการกำหนดนโยบาย จัดสรรงบประมาณและทีมงาน และที่สำคัญ ผู้นำต้องเป็น…

รัฐบาลดิจิทัล (9) “เก็บ” ครั้งเดียวก็เกินพอ

Loading

  ทำไมต้องเอาสำเนาเอกสารราชการ ไปให้หน่วยงานรัฐที่เราไปติดต่อด้วย ทั้งๆ ที่เป็นเอกสารของราชการเอง แถมยังต้อง “ทำและรับรอง” สำเนาเท่ากับจำนวน “คำขอ” ที่เราจะยื่นอีก   หน่วยงานแห่งนั้นน่าจะยังไม่ได้ใช้ระบบไอที ทำให้แต่ละ “คำขอ” ต้องแนบเอกสารให้ครบจบในชุดเดียว จึงจะพิจารณาได้โดยไม่ต้องไปเปิดค้นเอกสารที่อื่นอีก ประชาชน“คนเดียว”มาติดต่อหลายเรื่องก็ต้องทำเป็น “หลายคำขอ”และสำเนาเอกสารแยกกัน   นี่เป็นการมองราชการเป็นศูนย์กลาง ถ้าหากมอง ประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen Centric) แล้ว ประชาชนหนึ่งคน จะยื่นกี่คำขอก็ต้องถือเป็นเรื่องเดียวกันถ้ายื่นพร้อมกัน   ส่วนการรับรองสำเนา น่าจะเกิดจากการที่หน่วยงานรัฐไม่สามารถตรวจสอบ “ความจริงแท้” ของเอกสารสำเนาได้ จึงต้องให้นำทั้งเอกสาร “ตัวจริง”มาแสดง พร้อมกับ “ลงนาม” รับรองสำเนาถูกต้อง ถือว่า ประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบในเอกสารต่างๆ ที่ยื่นเข้ามา หากปลอมแปลงหรือเป็นเท็จ ก็มีฐานทางกฎหมายที่จะปฏิเสธการอนุญาตหรืออาจดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไปได้   อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารนั้น ที่จริงแล้ว เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐผู้รับเรื่อง พ.ร.บ. วิ อิเล็กทรอนิกส์ จึงให้เจ้าหน้าที่ต้องเป็นคนทำสำเนาและลงนามรับรองเอกสารเอง ไม่ใช่ประชาชนผู้ยื่นเรื่องอีกต่อไป   หลักการ “การจัดเก็บข้อมูลเพียงครั้งเดียว”…

รัฐบาลดิจิทัล (8) : เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นยกเว้น

Loading

การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Government Data) เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูประบบราชการไปสู่การเป็น “รัฐบาลเปิด” (Open Government) เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน สามารถตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ รวมถึงร่วมกำหนดนโยบายสาธารณะ

รัฐบาลดิจิทัล (7) : ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ

Loading

ลองสมมติว่าตัวเองเป็นรัฐมนตรีของสักกระทรวงหนึ่ง วันแรกที่เข้าไปทำงาน อาจจะได้รายงานต่างๆ มาดูบ้าง แต่ถ้าอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม ก็ต้องไปรวบรวมมาจากกรมกองต่างๆ กว่าจะได้ข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจ