ผู้พิพากษาศาลสูงสุดสหรัฐฯ ใช้อีเมลส่วนตัวในการทำงาน – พบถุงบรรจุเอกสารลับที่รอการทำลายถูกเปิดทิ้งไว้บริเวณทางเดิน

Loading

    สำนักข่าว CNN (4 ก.พ.66) – ผู้พิพากษาศาลสูงสุดของสหรัฐฯ บางรายมักใช้อีเมลส่วนตัวในการส่งข้อมูลอ่อนไหว อีกทั้งเครื่องพิมพ์ของสำนักงานศาลสูงสุดไม่มีระบบบันทึกข้อมูลการใช้งาน (log) และยังสามารถสั่งพิมพ์เอกสารสำคัญต่าง ๆ จากนอกสำนักงานได้โดยไม่มีการติดตามตรวจสอบ ขณะที่ถุงบรรจุเอกสารลับสำหรับรอการทำลายถูกเปิดและวางทิ้งไว้บริเวณทางเดินโดยไม่มีใครสนใจ แหล่งข่าวซึ่งเป็นอดีตเจ้าหน้าที่ศาลสูงสุดระบุว่า มาตรการรักษาความปลอดภัยภายในที่หละหลวมเช่นนี้เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว ซึ่งอาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัย อันนำไปสู่การรั่วไหลของข้อมูลสำคัญ และเป็นอุปสรรคในการสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิดหากมีเหตุข้อมูลข่าวสารลับรั่วไหลเกิดขึ้น   ผู้พิพากษาฯ บางคนที่ปรับตัวตามเทคโนโลยีได้ช้ายังคงใช้อีเมลส่วนตัวในการทำงาน แทนที่จะใช้เซิร์ฟเวอร์ที่มีการตั้งค่าระบบความปลอดภัยสำหรับป้องกันข้อมูลข่าวสารรั่วไหล ประกอบกับเจ้าหน้าที่ศาลฯ นั้นรู้สึกลำบากใจที่จะกล่าวเตือนให้บุคคลเหล่านี้ระมัดระวังที่จะทำข้อมูลสำคัญรั่วไหล สิ่งนี้สะท้อนว่า ผู้พิพากษาฯ ไม่ได้เป็นตัวอย่างในการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด นอกจากนี้ อดีตลูกจ้างศาลฯ ยังมองว่าผู้พิพากษาฯ ไม่ได้เป็น “ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎระเบียบการรักษาความปลอดภัยข้อมูลข่าวสารลับ”   การจัดการกับถุงกระดาษนิรภัย อดีตเจ้าหน้าที่ศาลฯ อธิบายว่า ถุงบรรจุเอกสารลับสำหรับรอการทำลายนั้น เป็นถุงกระดาษนิรภัยที่มีแถบสีแดงคาดไว้สำหรับใส่เอกสารสำคัญหรือเอกสารลับ ซึ่งจะนำไปทำลายโดยการเผาหรือการย่อย ก่อนหน้านี้ไม่ได้มีมาตรการหรือข้อกำหนดที่ชัดเจนทั้งการใช้งานและการทำลาย และผู้พิพากษาฯ แต่ละรายก็จะมีวิธีปฏิบัติแตกต่างกันไป ภายหลังทางศาลฯ ให้นำถุงกระดาษนิรภัยไปเทลงในถังขยะที่ล็อกไว้ที่ชั้นใต้ดินของอาคาร เพื่อรอให้บริษัททำลายเอกสารนำไปทำลายทิ้ง ก่อนที่จะนำไปทิ้งในถังขยะที่จัดไว้ เจ้าหน้าที่บางคนจะเย็บปิดปากถุงด้วยเครื่องเย็บกระดาษก่อนนำไปทิ้ง บางคนวางถุงไว้ใกล้โต๊ะทำงานรอจนกว่าเอกสารเต็มแล้วถึงจะนำไปทิ้ง นอกจากนี้ ยังพบถุงบางส่วนถูกทิ้งไว้ที่ทางเดินนอกห้องทำงาน ซึ่งคาดว่าน่าจะรอนำไปทิ้งที่ชั้นใต้ดิน แม้บริเวณดังกล่าวจะไม่ใช่พื้นที่สาธารณะแต่ก็ไม่ใช่   เรื่องยากนักที่คนทั่วไปจะเข้าถึงได้…

ทำลายข้อมูลข่าวสารราชการอย่างไร !…ให้ปลอดภัย

Loading

  ที่ผ่านมามักจะพบเห็นเอกสารที่มีชั้นความลับของหน่วยงานรัฐ ถูกทิ้งอยู่ในสถานที่ที่ไม่เหมาะสมหรือถูกนำมาชั่งกิโลขายและกลายเป็นถุงใส่สารพัดสินค้า เมื่อประชาชนพบเห็นจึงเกิดความไม่สบายใจ และถามถึงความรับผิดชอบในการทำลายเอกสารสำคัญของหน่วยงานรัฐ เช่น เมื่อ 30 ต.ค.64 และ 10 ธ.ค.64 เพจ Drama-addict ได้นำเสนอภาพถุงกล้วยแขกและถุงขนมโตเกียวที่ทำมาจากเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาหน้าบัญชีธนาคาร ที่มีลายมือชื่อของเจ้าของบัตรและเจ้าของบัญชีติดอยู่อย่างชัดเจน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเจ้าของเพจแจ้งว่าเป็นข้อมูลที่ถูกส่งมาจากลูกเพจ       สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาหน้าบัญชีธนาคาร ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล (Personal data) ตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ และกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หน่วยงานผู้ครอบครองต้องดูแล ใช้ เก็บรักษาอย่างปลอดภัย และทำลายเมื่อหมดความจำเป็นใช้ประโยชน์ เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและความเสียหายที่อาจเกิดแก่เจ้าของข้อมูล รวมถึงเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีและความเชื่อมั่นต่อหน่วยงานรัฐในการติดต่อประสานงานทั้งจากหน่วยงานภายนอกและประชาชน จากกรณีดังกล่าวข้างต้น การรั่วไหลของข้อมูลอาจเกิดจากความไม่รอบคอบหรือการขาดจิตสำนึกด้านการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ รวมถึงมีความเป็นไปได้ว่าเกิดจากกระบวนการทำลายที่ขาดการควบคุมและไม่ปฏิบัติตามระเบียบอย่างเคร่งครัด โดยการทำลายข้อมูลข่าวสารของราชการให้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งต้องให้ความสำคัญไปจนถึงขั้นตอนการควบคุมการทำลายโดยคณะกรรมการทำลายที่แต่งตั้งขึ้น ให้แล้วเสร็จ ด้วยการเผาและขยี้เถ้าให้เป็นผง หรือย่อย หรือแปรรูปเป็นอย่างอื่นจนไม่สามารถทราบข้อความนั้นได้   บทความโดย…  องค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน          …

การแสวงประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารใน Web Portal

Loading

             ตามที่เคยเสนอบทความเรียนรู้ รปภ.จากภาพยนต์ ซึ่งเป็น series เกาหลี/ปี 2562  ชื่อ Search : WWW หรือ Geomsaegeoreul  Imnyeokaseyo WWW  เนื้อเรื่องเป็นแนว romantic comedy +social network+จิตวิทยาสังคม  แต่มีความน่าสนใจอยู่ที่การแสวงประโยชน์จากพื้นฐานสังคมและความพยายามของรัฐบาลที่จะสร้างอิทธิพลกับครอบงำบริษัทธุรกิจ Web Portal ชั้นนำของประเทศ 2 แห่ง คือ บริษัท UNICON และบริษัท BARRO ถึงแม้ทั้ง 2 บริษัทจะเป็นคู่แข่งและแย่งชิงความเป็นผู้นำการใช้ keyword 1  เพื่อทำให้เว็บไซต์ติดอันดับอย่างเว็บ search engine แต่เพื่อปกป้องความถูกต้องของข้อมูลข่าวสารบนโลกออนไลน์ จึงนำมาสู่ความร่วมมือเพื่อต่อต้านอำนาจรัฐบาล  ด้วยเนื้อเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ Web Portal ระหว่างภาคเอกชนกับรัฐ อิทธิพลแฝงของการ searching ในออนไลน์ การแสวงประโยชน์จาก keyword ใน search engine2 หรือการที่รัฐบาลเข้าแทรกแซงธุรกิจบริษัท Web…

การปรับปรุงองค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือนด้วย Digital Transformation ตอนที่ 2

Loading

                  ในบทความ “การปรับปรุงองค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือนด้วย Digital Transformation ตอนที่ 2” จะนำเสนอความเป็นมาขององค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน เพื่อให้เห็นถึงหน้าที่ความรับผิดชอบที่ไม่ชัดเจนขององค์การนี้กับแนวโน้มที่ส่อถึงการลดค่าความเป็นองค์การ ไปพร้อมกับบทบาทการดำเนินการรักษาความปลอดภัยหรือการรักษาความลับของทางราชการให้แก่หน่วยงานรัฐฝ่ายพลเรือนเพิ่มมากขึ้นโดยไม่สอดคล้องกับกฎหมายและสภาพสังคมในปัจจุบัน                   เหล่านี้ล้วนเป็นประเด็นสำคัญต่อการพิจารณาความคุ้มค่าในการนำ Digital Transformation มาปรับวิถีการปฏิบัติงานขององค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน ทั้งในแง่การใช้ระยะเวลาดำเนินการจนบรรลุผล รวมกับต่อหน่วยการลงทุนที่นำมาจากงบประมาณของประเทศอีกด้วย                   ตามระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยและการรักษาความลับของทางราชการทุกระเบียบต่างกำหนดให้สำนักข่าวกรองแห่งชาติทำหน้าที่องค์การรักษาความปลอดภัยสำหรับหน่วยงานรัฐฝ่ายพลเรือน โดยให้รับผิดชอบหน่วยงานรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร ตามระบบบริหารราชการแผ่นดินประกอบด้วยฝ่ายบริหารราชการส่วนกลาง ฝ่ายบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และฝ่ายบริหารราชการส่วนภูมิภาค ซึ่งมีหลากหลายประเภท ทั้งหน่วยงานรัฐฝ่ายพลเรือนบางประเภท ระเบียบราชการเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยและการรักษาความลับของทางราชการก็มิได้ครอบคลุมถึง เช่น องค์การมหาชน หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ เป็นต้น  …

การปรับปรุงองค์การการรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน ด้วย Digital Transformation ตอนที่ 1

Loading

  คำว่า “Digital transformation” ตามนิยามภาษาไทยจาก Wikipedia คือ การใช้สิ่งที่ใหม่ ที่เร็ว และเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของ Digital Technology เพื่อแก้ปัญหา ซึ่งเข้าใจได้ว่าเป็นการนำเอาประโยชน์จาก Digital Technology เข้ามาปรับวิถีการทำงาน สมรรถนะของบุคลากร และนำไปแก้ไขปัญหาที่เผชิญอยู่   ปัจจุบันการนำ Digital Transformation มาปรับปรุงงานในประเทศไทยส่วนใหญ่พบในภาคธุรกิจและการตลาด โดยนำมาประยุกต์ใช้ในทุกภาคส่วน ซึ่งในแต่ละส่วนมีการใช้ต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพพื้นฐาน รูปแบบและวัฒนธรรมภายในของกลุ่มธุรกิจและการตลาด วิธีดำเนินการ การให้บริการ ตลอดจนประเภทสินค้าในธุรกิจนั้น สำหรับการนำ Digital Transformation มาปรับประสิทธิภาพในส่วนราชการขณะนี้ คาดว่า “โอกาสที่จะเป็น” เป็นไปได้ยาก  เนื่องจากแต่ละหน่วยงานภายในหน่วยงานรัฐต่างมีวัฒนธรรมภายใน มีการกำกับการปฏิบัติงานด้วยระเบียบราชการและระเบียบภายในแต่ละหน่วยงานรัฐที่ต่างกัน อีกทั้งหน่วยงานรัฐบางแห่งยังมีกฎหมายรองรับเป็นการเฉพาะ เหล่านี้นับเป็นวิถีที่ไม่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงใด ๆ  แต่หากเห็นว่าจำเป็นต้องดำเนินการแล้ว ในขั้นต้นก็จำเป็นต้องปรับความเข้าใจระหว่างทุกกลุ่มผู้บริหารภายในให้ตรงกันอย่างชัดเจนโดยปราศจากอคติที่จะก่อความสับสนให้ได้ก่อนที่จะนำเสนอต่อกลุ่มผู้บริหารระดับที่สูงกว่า เพื่อให้เกิดบรรทัดฐานความเข้าใจในทางเดียวกัน   สำหรับข้อที่ควรพิจารณาให้ชัดเจนก่อนวางเป้าประสงค์ที่จะนำ Digital Transformation มาปรับใช้กับองค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือนนั้น ประเด็นแรก คือทำความเข้าใจกับ ความเป็นมานับแต่อดีตถึงปัจจุบันขององค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน ประเด็นที่ 2 ความสอดคล้องและรองรับกันระหว่างกฎหมายและระเบียบราชการที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน…

ข้อพิจารณาจากบางส่วนข้อมูลของหนังสือ “The room where it happened : A white house memoir” กับกฎหมายและระเบียบราชการไทย

Loading

  เนื้อหาของหนังสือ “The room where it happened : A white house memoir” เขียนโดยนายจอห์น โบลตัน อดีตที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่า จะส่งผลด้านวิกฤตศรัทธาต่อตัวประธานาธิบดีทรัมป์ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะต่อการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2563 และก่อนหน้าที่หนังสือเล่มนี้จะวางจำหน่ายเมื่อ 23 มิถุนายน 2563 ประธานาธิบดีทรัมป์แสดงออกถึงความไม่พอใจและพยายามขัดขวาง ทั้งให้สภาความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว (The White House National Security Council, NSC) ทำการตรวจสอบเนื้อหาที่อาจเปิดเผยหรือเชื่อมโยงถึงสิ่งที่เป็นความลับในครอบครองของราชการ เพราะนายโบลตันผู้เขียน เคยได้รับความไว้วางใจให้เข้าถึงสิ่งที่เป็นความลับทุกระดับชั้นของทางราชการในฐานะที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคง พร้อมกันนั้นยังมีการร้องขอต่อศาลรัฐบาลกลาง (Federal Government of United States) เพื่อออกคำสั่งให้นายโบลตันระงับการจัดพิมพ์และวางจำหน่าย ด้วยเหตุผลที่ว่าการดำเนินการตรวจสอบของฝ่ายรัฐยังไม่แล้วเสร็จ อย่างไรก็ดี ศาลรัฐบาลกลางปฎิเสธคำร้องของฝ่ายรัฐดังกล่าว     เนื้อหาสาระ“The room where it happened…