พิพิธภัณฑ์ในฟลอริดาใช้กล้อง AI ตรวจจับคนร้ายที่มาพร้อมอาวุธ

Loading

    พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ฟรอสต์ในนครฟลอริดา รัฐไมอามี สหรัฐอเมริกา ใช้ปัญญาประดิษฐ์ที่ควบคุมกล้องวงจรปิดในการระบุตัวคนร้ายที่มาพร้อมอาวุธ   BeMotion เป็นบริษัทที่พัฒนาระบบนี้ขึ้น โดยเป็นส่วนหนึ่งของโซลูชันที่มีชื่อว่า Law Enforcement Network (LEN) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการตรวจจับอาวุธและการสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย   หากกล้องตรวจพบผู้ที่ถือปืนก็จะมีการแจ้งเตือนให้ผู้ที่เดินเยี่ยมชมและเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ทั้งหมดรับรู้ พร้อมทั้งระบุพิกัดที่คนร้ายอยู่ให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และยังสามารถแยกแยะคนร้ายจากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ด้วย   ผู้บริหารของ BeMotion เชื่อว่าการให้ปัญญาประดิษฐ์ทำงานในการดูกล้องวงจรปิดจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้มนุษย์ โดยยกตัวอย่างของเหตุการณ์กราดยิงในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ที่เมื่อนำระบบไปลองใช้แล้วพบว่าสามารถระบุตัวคนร้ายได้ในทันทีที่เข้าสู่โรงเรียน   นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีการใช้ระบบกล้องปัญญาประดิษฐ์ในพื้นที่อื่น ๆ อย่างเขตการศึกษาเฮอร์นันโด เมืองบรูกส์วิลล์ ของรัฐฟลอริดาที่ใช้ระบบของ Zero Eyes ที่มุ่งแจ้งเตือนให้ตำรวจรู้ถึงการบุกรุกก่อนที่จะเกิดเหตุร้ายขึ้น   BeMotion เผยว่าหากนำระบบของบริษัทไปใช้ในเขตการศึกษา ก็จะมีค่าใช้จ่ายคิดเป็นที่ราว 40 – 70 เหรียญ (ราว 1,500 – 2,500 บาท) ต่อนักเรียน 1 คนต่อปี   อย่างไรก็ดี องค์กรที่ใช้ระบบเหล่านี้เพื่อเสริมมาตรการความปลอดภัยที่มีอยู่แล้วเท่านั้น  …

แหล่งข่าวเผย Google ได้รับข้อมูลลับเกี่ยวกับกฎหมายภาษีของออสเตรเลียอย่างไม่เหมาะสมจาก PwC Australia

Loading

  สำนักข่าว Reuters รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า PwC Australia บริษัทสาขาของผู้ตรวจสอบบัญชีรายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกส่งข้อมูลลับที่เกี่ยวกับวันประกาศใช้กฎหมายภาษีใหม่ ที่หลุดมาจากการประชุมด้านภาษีของรัฐบาลออสเตรเลีย Reuters ชี้ว่านี่เป็นครั้งแรกที่มีการระบุว่า Google มีส่วนในกรณีฉาวในออสเตรเลียเกี่ยวกับการปล่อยข้อมูลลับดังกล่าว   โดย PwC กำลังถูกตรวจสอบอย่างหนักจากกรณีที่ ปีเตอร์ คอลลินส์ (Peter Collins) ที่ปรึกษารัฐบาลออสเตรเลียในด้านการออกกฎหมายต่อต้านการเลี่ยงภาษี และยังเป็นอดีตหุ้นส่วนของ PwC ได้ส่งร่างเอกสารลับที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับแผนของรัฐบาลให้กับพรรคพวก   ข้อมูลนี้ยังถูกนำไปใช้ในการพัฒนาความร่วมมือทางธุรกิจกับบรรดาบริษัทข้ามชาติต่าง ๆ   กรณีเริ่มจากเมื่อเดือนสิงหาคม 2015 หนึ่งในเพื่อนร่วมงานของคอลลินส์ได้ส่งอีเมลให้กับพนักงาน Google รายหนึ่ง อีเมลมีเนื้อหาระบุวันที่รัฐบาลออสเตรเลียน่าจะประกาศใช้กฎหมายต่อต้านการเลี่ยงภาษีนานาชาติ (MAAL)   แต่แหล่งข่าวระบุว่าผู้ที่ส่งอีเมลไม่ได้บอก Google ว่าข้อมูลนี้เป็นความลับ   ด้าน Google ออกมาแถลงว่ารู้สึกผิดหวังกับ PwC ที่เปิดเผยข้อมูลอย่างไม่เหมาะสม แต่ก็ยืนยันว่า Google ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว และประสานโดยตรงกับสรรพากรของออสเตรเลียมาโดยตลอด   ส่วน PwC Australia เผยว่าลูกค้าของบริษัทไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด และบริษัทเองไม่ได้ส่งข้อมูลลับที่ช่วยให้ลูกค้าจ่ายภาษีน้อยลงแต่อย่างใด…

เลิกส่ง link แฮ็กเกอร์ใช้ QR Code จ้องขโมยข้อมูลผ่านอีเมล

Loading

  เชื่อเถอะว่า แม้เราจะมีระบบป้องกันที่ดีมากแค่ไหน แฮ็กเกอร์เค้าก็จะพยายามหารูปแบบการโจมตีทีหลีกเลี่ยงระบบป้องกันไปให้ได้ โดยล่าสุดมีความพยายามจะโจมตีฟิชชิ่ง ด้วยการใช้ภาพ QR Code   ปกติแล้ว บริการอีเมลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Gmail หรือ Outlook เค้าจะมีระบบตรวจสอบฟิชชิ่ง ซึ่งจะใช้ AI ในการคัดกรองข้อความ หากพบว่าเป็นฟิชชิ่งที่มีลิงก์แนบมา ก็จะลบออกหรือแจ้งให้ผู้ใช้รู้ก่อนคลิก   แล้วอีเมลฟิชชิ่งหน้าตาเป็นแบบไหน ? ส่วนใหญ่ก็มักจะอ้างว่า เป็นฝ่ายสนันสนุนของ Microsoft , Google หรืออื่น ๆ พร้อมกับสร้าง   Story หลอกให้เรากดลิงก์ เช่น “สวัสดี นี่คือฝ่ายสนับสนุนของ Microsoft คุณต้องยืนยันการใช้งานรหัสแบบสองขั้นตอน ในทันที ไม่งั้นบัญชีของคุณอาจถูกล็อก” พร้อมกับส่งลิงก์ให้   ซึ่งถ้าเป็นข้อความในลักษณะข้างต้น Microsoft จะทำการบล็อคไปครับ แต่ตอนนี้แฮ็กเกอร์เปลี่ยนวิธีจากการใส่ลิงก์ มาเป็นการส่งภาพ QR Code ให้เราสแกน ทำให้สามารถหลีกเลี่ยงระบบตรวจจับไปได้ หากเราสแกน…

“พายุสุริยะ” คืออะไร นาซาสั่งจับตาส่อเกิด “อินเทอร์เน็ตล่ม” ทั่วโลกปี 2025

Loading

    ‘พายุสุริยะ’ คืออะไร เพราะเหตุใด นาซารวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญให้จับตา ทำลายระบบไฟฟ้า “อินเทอร์เน็ตล่ม” ทั่วโลก ทวีความรุนแรงในปี 2025   “พายุสุริยะ” กำลังเป็นที่พูดถึงและถูกจับตามองจากทั่วโลก รวมไปถึง NASA และผู้เชี่ยวชาญต่างคาดการณ์ว่า พายุสุริยะกำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และคาดว่า จะถึงจุดสูงสุดในปี 2025 พร้อมคาดการณ์กันอีกว่า มีโอกาสที่จะทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตล่มทั่วโลก และหากเกิดขึ้นจริง ก็อาจทำให้อินเทอร์เน็ตล่มยาวนานนับเดือน   พายุสุริยะ คืออะไร เหตุใดถึงมีอนุภาค ทำให้กระทบต่อระบบไฟฟ้าบนโลก ในประวัติศาสตร์เมื่อปี 1859 พายุสุริยะ เคยทำให้ระบบโทรเลขล่ม ต่อมาในปี 1989 ก็ทำให้ไฟฟ้ารัฐควิเบกดับนาน 12 ชั่วโมง   ด้าน คีธ สตรอง นักฟิสิกส์พลังงานแสงอาทิตย์และผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสภาพอากาศอวกาศที่มหาวิทยาลัยโคโลราโด สหรัฐอเมริกา ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลชี้ให้เห็นว่าจำนวนจุดดับ (Sunspot) บนดวงอาทิตย์เมื่อเดือนมิถุนายน 2023 ที่ผ่านมา สูงถึง 163 จุด และสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ปี…

ฟ้อง! OpenAI ใช้ข้อมูลสาธารณะฝึก ChatGPT

Loading

    กลุ่มบุคคลนิรนามบริษัท โอเพ่นเอไอ (OpenAI) ฐานใช้ข้อมูลสาธารณะเพื่อฝึกปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (AI) อย่างแชตจีพีที (ChatGPT)   ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (AI) ชื่อดังอย่าง แชตจีพีที (ChatGPT) ของบริษัท โอเพ่นเอไอ (OpenAI) กลายเป็นดราม่าอีกครั้ง เมื่อกลุ่มบุคคลนิรนามรวมตัวกันเพื่อฟ้องร้องบริษัท โอเพ่นเอไอ ต่อศาลแขวงของสหรัฐอเมริกา เขตทางตอนเหนือของแคลิฟอร์เนีย ฐานใช้ข้อมูลสาธารณะเพื่อฝึกเอไอ ซึ่งละเมิดกฎหมายความเป็นส่วนตัว     คำฟ้องของกลุ่มคนนิรนาม   โดยกลุ่มบุคคลนิรนามระบุเอกสารในการยื่นฟ้องว่าบริษัท โอเพ่นเอไอได้คัดลอกข้อความบนอินเทอร์เน็ตกว่า 3 แสนล้านคำ เพื่อฝึกเอไอ ซึ่งเป็นข้อมูลสาธารณะที่อยู่บนวิกิพีเดีย (Wikipedia) และบนเฟซบุ๊ก (Facebook)   “แม้จะมีสนธิสัญญาชั้นต้นที่กำหนดไว้สำหรับการซื้อและการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล แต่จำเลยกลับใช้วิธีการที่แตกต่างออกไป นั่นคือการโจรกรรม พวกเขาคัดแยกคำศัพท์ 3 แสนล้านคำจากอินเทอร์เน็ต, หนังสือ, บทความ, เว็บไซต์และโพสต์ รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้มาโดยไม่ได้รับความยินยอม” – ข้อความที่ระบุไว้ในเอกสารยื่นฟ้องที่มีความยาวกว่า 157 หน้า   โดยกลุ่มผู้ฟ้องร้องได้อ้างถึงพระราชบัญญัติการฉ้อฉลและการใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นกฎหมายต่อต้านการแฮ็กของรัฐบาลกลาง…

หายนะแน่ ! GISTDA เตือน เอกชนควรเตรียมพร้อมรับ พายุสุริยะ เหลือเวลาอีก 730 วัน

Loading

    GISTDA เตือนเอกชนเร่งหาทางป้องกัน “พายุสุริยะ” ที่เกิดขึ้นทุก 11 ปี คาดรอบนี้ค่อนข้างรุนแรงพร้อมยันเน็ตล่มแน่ หากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวนสัญญาณหนักจนโรงไฟฟ้าระเบิด   ดร.สิทธิพร ชาญนำสิน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศ GISTDA (จิสด้า) กล่าวในรายการสปริง ดิจิทัลไลฟ์ อัปเดต ที่จะออกอากาศในวันที่ 6 ก.ค.66 นี้ ว่า จากข้อมูลที่นาซาแจ้งเตือนมานั้น หากย้อนกลับไปดูข้อมูลที่ให้มาพบว่า ปัญหาพายุสุริยะนี้ จะวนมาเกิดขึ้นทุก 11 ปี ในรูปแบบลมสุริยะและจะเกิดซ้ำอีก   ทั้งนี้ ลมสุริยะ จะเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กอย่างรวดเร็วกลายเป็นพายุสนามแม่เหล็ก ส่งผลกระทบให้ระบบการสื่อสาร คลื่นความถี่สูงและต่ำหาย ไม่สามารถใช้งานเครือข่ายและไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้   ส่งผลกระทบต่อดาวเทียมสื่อสาร ทำให้โทรศัพท์มือถือไม่สามารถใช้งานได้ แต่อาจไม่ถึงขั้นส่งผลให้ตัวเครื่องระเบิด แต่ถ้าเป็นกรณีที่ร้ายแรงแบบสุด ๆ คือเกิด พายุแม่เหล็กโลก หรือ Geomagnetic strom ที่จะรุนแรงจนเกิดกระแสเหนี่ยวนำ ทำให้โรงงานไฟฟ้าระเบิดได้   หากถามว่าปัญหานี้น่ากลัวไหม ต้องบอกว่า ต้องเตรียมพร้อมรับมือและวางแผนแก้ไขปัญหาล่วงหน้า…