มาตรการทางกฎหมายเพื่อการใช้งานยานไร้คนขับ

Loading

  เป็นที่ทราบกันดีว่า น่านน้ำไทยทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันนั้น ถูกใช้ประโยชน์จากกิจกรรมทางทะเลหลากหลายส่วนแตกต่างกันไป   ตามความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์ เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ และประเพณีทางการค้า บ้างเป็นพื้นที่รัฐชายฝั่งที่มีอำนาจการผลักดันและขับเคลื่อนเศรษฐกิจทางน้ำ บ้างก็เป็นพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างรัฐ   เมื่อมีการใช้ประโยชน์ทางทะเล ประเด็นในเรื่องความปลอดภัยและความมั่นคงทางทะเล (Maritime Security) จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากจะปรากฏการเข้าออกของเรือ รวมถึงพาหนะรูปแบบอื่นในแต่ละรัฐเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ   เมื่อพิจารณาประเด็นในด้านความมั่นคงทางทะเล จะเห็นได้ว่าในช่วงที่ผ่านมา อัตราส่วนของการใช้งานเรือ พาหนะทางทะเลรูปแบบอื่น และวัตถุเคลื่อนที่ทางน้ำ   โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานทางด้านการทหารและความมั่นคงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศเหตุเพราะสถานการณ์ความมั่นคงและภาวะสงครามที่มีอยู่ในสถานการณ์ปัจจุบัน   ในบทความนี้จะพิจารณาถึงยานไร้คนขับทางน้ำ (Unmanned vehicle) ในมิติของภัยหรือความมั่นคงทางทะเล โดยจะพิจารณาถึงความหมาย บทนิยาม ประเภท การใช้งานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง   แต่อย่างไรก็ดีการใช้งานของวัตถุเคลื่อนที่ชนิดนี้ยังมีความคลุมเครือของวัตถุประสงค์การใช้งาน แม้ว่าในจุดเริ่มต้นจะมีวัตถุประสงค์เพื่อกิจกรรมทางทหาร (Military Purpose)   ต่อมาถูกพัฒนาเพื่อวัตถุประสงค์ในการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติก็ดี การถ่ายภาพก็ดีและเพื่อวัตถุในการขนส่งในอนาคต แม้กระนั้นการใช้งานวัตถุเคลื่อนที่ทางน้ำ ยังคงถูกรบกวนอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันและปกป้องสเถียรภาพและความมั่นคงของรัฐ   ยานไร้คนขับเองนั้น (Unmanned Vehicles) มีปรากฏให้เห็นมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ (Ancient Greek) นักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ชื่อ…