ฟิลิปปินส์ผ่าน ก.ม. บังคับให้ยืนยันตัวตนบนโซเชียลมีเดีย

Loading

  รัฐสภาฟิลิปปินส์ ผ่านกฎหมายฉบับใหม่ ส่งผลให้ประชาชนต้องยืนยันตัวตนตามความเป็นจริง ในการสมัครใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ หวังลดปัญหาข่าวปลอม และการฉ้อโกง   รัฐสภาฟิลิปปินส์ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาของฟิลิปปินส์ ผ่านกฎหมายฉบับใหม่ ว่าด้วยการให้ประชาชนทุกคนต้องยืนยันตัวตนทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นชื่อ นามสกุลและหมายเลขโทรศัพท์ เมื่อสมัครใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ พร้อมทั้งอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ใช้ข้อมูลดังกล่าว เพื่อการสอบสวนแกะรอยได้ หลังพบปัญหาการก่อกวนทางออนไลน์ การให้ข่าวเท็จ และมีการใช้ตัวตนปลอมในการสร้างแอ็กเคาต์ในโลกโซเชียลจำนวนมาก   แฟรงคลิน ดริลอน หนึ่งในวุฒิสมาชิกที่ผลักดันกฎหมายฉบับนี้ระบุว่า เป็นหน้าที่ของพวกเขาที่จะต้องแก้ปัญหาการไม่เปิดเผยตัวตนในโลกออนไลน์ ที่จะนำไปสู่การโจมตี มุ่งร้ายผู้บริสุทธิ์ในโลกโซเชียลมีเดีย โดยกฎหมายฉบับนี้ยังคงต้องรอให้ประธานาธิบดี โรดริโก ดูเตร์แต ลงนาม ก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ต่อไป   ทั้งนี้ แม้กฎหมายฉบับนี้จะมีการระบุบทลงโทษสถานหนัก ทั้งการจำคุกและการปรับเงินจากการให้ข้อมูลเท็จ แต่ยังไม่มีรายละเอียดที่แน่ชัดว่า บรรดาผู้ให้บริการสื่อโซเชียลมีเดียจะมีวิธีตรวจสอบได้อย่างไร ว่าข้อมูลที่มีการลงทะเบียนเป็นความจริง รวมถึงจะตรวจสอบข้อมูลของบัญชีที่ลงทะเบียนไปก่อนหน้านี้แล้วอย่างไร ขณะที่เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ ยังปฏิเสธที่จะให้ความเห็นอย่างเป็นทางการต่อประเด็นนี้ นอกจากนี้กฎหมายฉบับดังกล่าวยังรวมครอบคลุมไปถึงการลงทะเบียนใช้งานซิมโทรศัพท์มือถือกับผู้ให้บริการตามความเป็นจริงอีกด้วย   ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในประเทศในทวีปเอเชีย ที่มีผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนมากที่สุดที่ 79 ล้านคน จากจำนวนประชากรประมาณ 110 ล้านคน และยังถูกจัดอยู่ในประเทศอันดับต้นๆ ที่ประชากรใช้เวลาในโลกโซเชียลมีเดียต่อวันสูงสุดด้วย…

รัฐสภายุโรปผ่านกฎหมายบริการดิจิทัล มีหน้าที่ต้องลบเนื้อหาผิดกฎหมาย-ข่าวปลอม

Loading

  สัปดาห์ที่แล้ว รัฐสภายุโรปผ่านกฎหมายดิจิทัลสำคัญฉบับหนึ่งคือ Digital Services Act (ต่อไปจะย่อ DSA) ด้วยคะแนน 530 ต่อ 78 เสียง (งดออกเสียง 80) กฎหมายฉบับนี้มีเป้าหมายเพื่อกำกับดูแลแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยเฉพาะโซเชียลมีเดียและอีคอมเมิร์ซ ที่มีภาระความรับผิดชอบอย่างชัดเจน ในการนำเนื้อหาหรือสินค้าผิดกฎหมายออกจากแพลตฟอร์มภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องเนื้อหาผิดกฎหมาย ข่าวปลอม สินค้าผิดกฎหมาย ในกรณีที่เป็นแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ (very large online platforms หรือ VLOP) ยังมีหน้าที่ต้องนำเนื้อหาที่อันตราย (harmful ซึ่งอาจไม่ผิดกฎหมาย) และข่าวปลอมออกจากแพลตฟอร์ม รวมถึงต้องผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานอิสระ และเปิดเผยอัลกอริทึมที่ใช้คัดเลือกเนื้อหามาแสดงด้วย กฎหมาย DSA ยังมีประเด็นเรื่องการโฆษณาแบบเจาะจงบุคคล (targeted advertising) ที่ต้องโปร่งใสและเปิดให้ผู้ใช้เลือกได้โดยง่าย , การชดเชยความเสียหายเป็นตัวเงินหากแพลตฟอร์มไม่ยอมปฏิบัติตาม เป็นต้น รัฐสภายุโรปยังมีกฎหมายคู่กันอีกฉบับคือ Digital Markets Act (DMA) ที่ควบคุมพฤติกรรมของแพลตฟอร์มดิจิทัล ไม่ให้ผูกขาดหรือใช้อิทธิพลไปกลั่นแกล้งคู่แข่ง ตอนนี้ยังอยู่ในชั้นพิจารณาของสภา ที่มา – European…

กฎหมายในปี 2565 เทรนด์และความท้าทาย

Loading

  ฉบับส่งท้ายปีเก่านี้ ผู้เขียนขอกล่าวถึงเทรนด์กฎหมายในปี 2565 โดยแบ่งเป็น 5 หัวข้อ ครอบคลุมทั้งเรื่องของ ธุรกรรมดิจิทัล สินทรัพย์ดิจิทัล กฎหมายคุ้มครองข้อมูล การปฏิบัติงานราชการอิเล็กทรอนิกส์ และ COP26 1.เมื่อธุรกรรมดิจิทัลกำลังเข้าทดแทนธุรกรรมในแบบเดิม ผู้เขียนเชื่อว่า ในปีหน้าและปีต่อๆ ไป รูปแบบและการใช้งานของสินทรัพย์ดิจิทัล (คริปโทและโทเคนดิจิทัล) จะมีความซับซ้อน หลากหลาย และมีโอกาสเข้าทดแทนหลายบริการที่เคยอยู่ภายใต้สถาบันการเงินหรือธุรกรรมที่เคยทำในแบบเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง NFT ที่สภาพถูกสร้างมาใช้สำหรับแทนสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง ไม่ว่าจะเป็นงานศิลป งานเพลง ของสะสม หรือแม้แต่พระเครื่อง ดังนั้น การทำ Tokenization ในรูปแบบ NFT จึงเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในสร้างนิติกรรมที่หลากหลายในทางกฎหมาย เช่น ซื้อ-ขาย/แลกเปลี่ยน/ครอบครองทรัพย์สิน และการโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งผู้เขียนคาดว่า เราจะได้เห็นการพัฒนาของ NFT ที่ยึดโยงกับ Traditional assets มากขึ้นในอนาคต สิ่งที่น่าติดตามในมุมกฎหมายและการจัดทำนโยบาย คือ กรณีข้อพิพาทที่เกิดจากการทำนิติสัมพันธ์ผ่านธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์หรือช่องทางออนไลน์ ซึ่งในปัจจุบัน โดยเฉพาะในประเทศไทย ยังไม่มีแนวคำพิพากษาที่ตีความเกี่ยวกับ Blockchain และ Smart…

กระทรวงดิจิทัลสหราชอาณาจักรเสนอกฎหมายควบคุมอุปกรณ์ IoT บังคับตั้งรหัสผ่านใหม่ ต้องแจ้งผู้ใช้ว่าจะซัพพอร์ตนานเพียงใด

Loading

  กระทรวงดิจิทัล, วัฒนธรรม, สื่อ, และการกีฬาสหราชอาณาจักรเสนอร่างกฎหมาย Product Security and Telecommunications Infrastructure (PSTI) เข้าสู่สภาเพื่อควบคุมความปลอดภัยของอุปกรณ์ IoT ทั้งระบบ เช่น สมาร์ตทีวี, กล้องวงจรปิด, ลำโพงเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต หลังจากผลักดันนอกสภามาถึงสองปี   กฎหมายเพิ่มมาตรการควบคุมผู้ผลิตและผู้นำเข้าอุปกรณ์ ต้องทำตามเงื่อนไขหลัก 3 รายการ ได้แก่ – ห้ามใช้รหัสเริ่มต้นจากโรงงานอีกต่อไป เนื่องจากเสี่ยงต่อการถูกแฮก – ต้องมีกระบวนการเปิดเผยช่องโหว่ มีช่องทางรับแจ้งช่องโหว่จากนักวิจัย – ต้องแจ้งระยะเวลาซัพพอร์ต ว่าอุปกรณ์ที่กำลังขายอยู่จะได้รับแพตช์ความปลอดภัยขั้นต่ำนานเพียงใด ตอนนี้กฎหมายผ่านวาระที่หนึ่งในสภาผู้แทนสหราชอาณาจักรแล้ว หากผ่านเป็นกฎหมายจริงจะมีเวลาให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าเตรียมการทำตามกฎหมาย 12 เดือน ดังนั้นกว่าจะผ่านกฎหมายและบังคับใช้จริงก็น่าจะต้นปี 2023 เป็นอย่างเร็ว นับว่าใช้เวลาค่อนข้างนานเนื่องจากกฎหมายเสนอมาตั้งแต่ต้นปี 2020 ที่มา – Gov.uk   ————————————————————————————————————————————————————— ที่มา :   Blognone by lew     …

หมดยุคอวตาร เล็งออกกฎหมายหมิ่นประมาท บังคับโซเชียล เปิดเผยตัวตน

Loading

  ออสเตรเลีย เตรียมออกกฎหมายหมิ่นประมาท บังคับโซเชียล เปิดเผยตัวตน นายกรัฐมนตรี สกอตต์ มอร์ริสัน แห่งออสเตรเลีย กำลังออกกฎหมายหมิ่นประมาทฉบับใหม่ ซึ่งจะบังคับให้แพลตฟอร์มออนไลน์ต้องเปิดเผยตัวตนของอวตารหรือโทรลล์ มิฉะนั้นแพลทฟอร์มจะต้องชดใช้ค่าเสียจากการหมิ่นประมาท กฎหมายดังกล่าวจะมีแพลตฟอร์มโซเชียล เช่น Facebook หรือ Twitter ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อความคิดเห็นใด ๆ ก็ตามที่สร้างความเสื่อมเสียให้กับผู้ใช้งาน แพลตฟอร์มจะต้องสร้างระบบการร้องเรียนที่ผู้คนสามารถใช้ได้หากรู้สึกว่าเป็นเหยื่อของการหมิ่นประมาท ในกระบวนการนี้ บุคคลที่โพสต์เนื้อหาที่หมิ่นประมาทจะถูกขอให้ลบออกในขั้นแรก แต่ถ้าพวกเขาปฏิเสธ หรือหากเหยื่อสนใจที่จะดำเนินการทางกฎหมาย แพลตฟอร์มก็สามารถขออนุญาตตามกฎหมายจากผู้โพสต์เพื่อเปิดเผยข้อมูลติดต่อของพวกเขาได้ ซึ่งจะสามารถดำเนินคดีตามกฏหมายต่อไป มอร์ริสัน เปิดเผยอีกว่า โลกออนไลน์ไม่ควรเป็นที่ซึ่งบอทและพวกหัวรุนแรงและโทรลล์และคนอื่น ๆ จะไม่เปิดเผยตัวตน แต่สามารถเข้ามาทำร้ายผู้คนได้ และร่างกฎหมาย “ต่อต้านโทรลล์” คาดว่าจะมีขึ้นในสัปดาห์นี้ คิดยังไงกัน หากกฏหมายนี้การบังคับใช้ในไทยบ้าง ?       ที่มาข้อมูล  https://www.theverge.com/2021/11/28/22806369/australia-proposes-defamation-laws-unmask-trolls     ————————————————————————————————————————————————————— ที่มา :  Techhub           …

หน้าที่จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม

Loading

  พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนดให้องค์กรมีหน้าที่จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสมเป็นหน้าที่ของ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” และ “ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” ซึ่งการไม่มีมาตรการที่เหมาะสมอาจมีความรับผิดตามที่กฎหมายกำหนด พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนดให้องค์กรมีหน้าที่ ดังนี้ 1.ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล มีหน้าที่จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ และต้องทบทวนมาตรการดังกล่าวเมื่อมีความจำเป็นหรือเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามมาตรฐานขั้นต่ำที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (มาตรา 37(1))   2.ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล มีหน้าที่แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลแก่สำนักงานโดยไม่ชักช้าภายใน 72 ชั่วโมง นับแต่ทราบเหตุเท่าที่จะสามารถกระทำได้ เว้นแต่การละเมิดดังกล่าวไม่มีความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ในกรณีที่การละเมิดมีความเสี่ยงสูงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ให้แจ้งเหตุการละเมิดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบพร้อมกับแนวทางการเยียวยาโดยไม่ชักช้าด้วย ทั้งนี้ การแจ้งดังกล่าวและข้อยกเว้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (มาตรา 37(4))   3.ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล มีหน้าที่จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ รวมทั้งแจ้งให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทราบถึงเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดขึ้น (มาตรา 40(2)) จากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง…