นานาชาติหวั่นใจการบังคับใช้กม.ความมั่นคงใหม่ของจีนในฮ่องกง

Loading

กฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ที่รัฐบาลจีนอนุมัติให้ฮ่องกงมีผลบังคับใช้แล้ว ทำให้หลายฝ่ายเกิดความวิตกกังวลและกระวนกระวายใจ โดยเฉพาะกลุ่มนักเคลื่อนไหวและผู้ที่มีความเห็นต่าง ด้วยความกลัวบทลงโทษที่นำมาใช้จากนี้ไป สำนักข่าวซินหัวของจีนรายงานว่า ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้ลงนามรับรองกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ ที่คณะกรรมาธิการสภาประชาชนแห่งชาติจีนมีมติอนุมัติใช้ในฮ่องกงในวันอังคารตามเวลาท้องถิ่น โดยรายงานข่าวระบุว่า หลังจากนี้ ทางการจีนจะเพิ่มเติมมาตรการใหม่ต่างๆ ของกฎหมายนี้เข้าไปในอนุรัฐธรรมนูญของฮ่องกงต่อไป นางแครี่ แลม ผู้บริหารเกาะฮ่องกง เผยว่า กฎหมายดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในช่วงค่ำของวันอังคาร ซึ่งเป็นวันก่อนวันครบรอบ 23 ปีที่อังกฤษส่งมอบคืนเกาะฮ่องกงให้จีน กฎหมายฉบับใหม่ที่รัฐบาลกรุงปักกิ่งผ่านออกมาใช้งานในฮ่องกงนี้ มีจุดประสงค์เพื่อหยุดยั้งการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลที่ดำเนินมาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยมีบทลงโทษสำหรับผู้ที่มีความผิดฐานพยายามแบ่งแยกดินแดน ล้มล้างการปกครอง ก่อการร้าย และสมคบคิดกับต่างชาติเพื่อทำการใดๆ สำนักข่าวซินหัว รายงานโดยอ้างคำพูดของ หลี่ จานชู ประธานคณะกรรมาธิการสภาประชาชนแห่งชาติจีน ว่า กฎหมายใหม่นี้ร่างออกมาตามหลักการของ “การลงทุนคนกลุ่มน้อยเพื่อปกป้องคนส่วนใหญ่” และเพื่อปกป้องและรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงระยะยาวของฮ่องกง ขณะที่ยังไม่มีใครได้เห็นรายละเอียดของกฎหมายความมั่นคงฉบับล่าสุดนี้ รายงานข่าวสื่อท้องถิ่น อ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับกรณีนี้ว่า ผู้บริหารของฮ่องกงและหน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติใหม่ที่รัฐบาลกรุงปักกิ่งตั้งขึ้นในฮ่องกงสามารถส่งตัวผู้กระทำความผิด “ร้ายแรง” ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงไปขึ้นศาลในจีนแผ่นดินใหญ่ได้ และว่าโทษของผู้กระทำความผิดนั้นเป็นการจำคุกที่เริ่มตั้งแต่ 3 ถึง 10 ปี รวมทั้งการจำคุกตลอดชีวิตในบางกรณีด้วย หลังมีการประกาศบังคับใช้กฎหมายใหม่ ตัวแทนกลุ่มเคลื่อนไหวด้านการเมืองที่เป็นที่รู้จักกันทั่ว อาทิ โจชัว หว่อง นาธาน…

เผยรายละเอียด กม.คุมฮ่องกง จีนมีอำนาจศาลคดีร้ายแรง, ตั้งหน่วยงานความมั่นคงฯบนเกาะ

Loading

เอเอฟพี – จีนจะมีอำนาจศาลเหนือคดีอาชญากรรมความมั่นคงแห่งชาติ “ร้ายแรงมาก” ในฮ่องกง ในความผิดที่ต้องเผชิญโทษสูงสุด คือ จำคุกตลอดชีวิต จากเนื้อหาของกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ที่เปิดเผยในวันอังคาร (30 มิ.ย.) ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากมันถูกบังคับใช้ในเขตปกครองพิเศษแห่งนี้ กฎหมายซึ่งเป็นที่ถกเถียงฉบับนี้ ยังให้อำนาจจีนจัดตั้งหน่วยงานด้านความมั่นคงแห่งชาติในฮ่องกง โดยจะมีพนักงานเป็นเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะไม่อยู่ภายใต้ข้อผูกมัดของกฎหมายท้องถิ่น ยามที่พวกเขาปฏิบัติหน้าที่ ชุดอำนาจใหม่นี้ถือเป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างปักกิ่งและฮ่องกงอย่างรุนแรง โดยเป็นการโค่นปราการป้องกันทางกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งกั้นระหว่างระบบศาลยุติธรรมที่เป็นอิสระของฮ่องกงกับศาลที่ควบคุมโดยพรรคคอมมิวนิสต์ ในจีนแผ่นดินใหญ่ กฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่กำหนดให้อาชญากรรมด้านความมั่นคงแห่งชาติ 4 ประเภทเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ประกอบด้วย การล้มล้างการปกครอง, แบ่งแยกดินแดน, ก่อการร้ายและสมคบคิดกับกองกำลังต่างชาติก่ออันตรายแก่ความมั่นคงแห่งชาติ เนื้อหาของกฎหมายได้หยิบยก 3 กรณีที่จีนอาจเข้าควบคุมกระบวนการพิจารณาคดี ได้แก่ คดีซับซ้อนที่ต่างชาติเข้าแทรกแซง, คดีร้ายแรงมากๆ และยามที่ความมั่นคงแห่งชาติต้องเผชิญกับภัยคุกคามเลวร้ายและเป็นจริง กฎหมายย้ำว่าทั้งหน่วยงานความมั่นคงแหงชาติ และฮ่องกง ต่างสามารถร้องขอส่งมอบคดีแก่จีนแผ่นดินใหญ่ และการฟ้องร้องคดีจะดำเนินการโดยอัยการที่ได้รับการแต่งตั้งจากอัยการสูงสุดของประชาชน และการพิจารณาคดีจะมีขึ้นในศาลที่กำหนดโดยศาลศาลสูงสุดของประชาชน “ไม่สำคัญว่ามีการใช้ความรุนแรงหรือไม่ หรือมีการข่มขู่ใช้ความรุนแรงหรือเปล่า แกนนำหรือผู้กระทำผิดร้ายแรงจะถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิตและขั้นต่ำสุดติดคุก 10 ปี” กฎหมายประกาศ “รัฐบาลฮ่องกงไม่มีขอบเขตอำนาจศาลเหนือหน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติในฮ่องกง เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานฯ ยามที่พวกเขาปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายนี้” เนื้อหาของกฎหมายระบุ กฎหมายระบุด้วยว่าคดีความมั่นคงแห่งชาติบางคดีจะพิจารณาคดีแบบลับในฮ่องกง โดยปราศจากคณะลูกขุน หากว่าคดีเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับความลับของรัฐ แต่จะมีการเปิดเผยคำพิพากษาต่อสาธารณะในภายหลัง ————————————————————–…

จบกัน จีนดันกม.ความมั่นคงกำราบฮ่องกง ขณะฝ่ายปชต.ปลุกม็อบนับล้านต้าน

Loading

นักเคลื่อนไหวและ ส.ส.ฝ่ายประชาธิปไตยฮ่องกงแถลงข่าวตอบโต้การเสนอกฎหมายความมั่นคงเข้าสภาของจีนเมื่อวันศุกร์ ไม่รอสภาฮ่องกงแล้ว พรรคคอมมิวนิสต์จีนเสนอกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติเข้าสภาตรายางของจีนในวันศุกร์ กำราบพวกกบฏแบ่งแยกดินแดนปลุกปั่นโค่นล้มระบอบในฮ่องกง ฝ่ายประชาธิปไตยพิโรธ ระบุเป็นอวสานของฮ่องกง ประกาศระดมคนหลายล้านประท้วงต่อต้านสุดสัปดาห์นี้ ร่างกฎหมายความมั่นคงที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนเสนอเข้าที่ประชุมสภาผู้แทนประชาชนจีน (เอ็นพีซี) ในวันเปิดประชุมประจำปีเช้าวันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม เป็นผลต่อเนื่องจากคำเตือนซ้ำหลายครั้งของบรรดาผู้นำในพรรคว่าจีนจะไม่ทนอดกลั้นกับการต่อต้านขัดขืนในฮ่องกงอีกต่อไป หลังจากเกิดการประท้วงครั้งใหญ่ของฝ่ายประชาธิปไตยที่ยืดเยื้อยาวนาน 7 เดือนเมื่อปีที่แล้ว เอเอฟพีรายงานว่า กฎหมายฉบับนี้จะเป็นการบังคับใช้มาตรา 23 ของกฎหมายพื้นฐานของฮ่องกง ที่ห้าม “การก่อกบฏ, การแบ่งแยกดินแดน, การปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง และการบ่อนทำลาย” รัฐบาลจีน ซึ่งไม่เคยถูกนำมาบังคับใช้เนื่องจากการต่อต้านของชาวฮ่องกงที่เห็นว่าเป็นกฎหมายที่ทำลายสิทธิพลเมืองของพวกเขา ภายใต้รูปแบบกึ่งปกครองตนเองตามหลักหนึ่งประเทศ สองระบบ ที่จีนให้คำมั่นไว้ภายหลังรับมอบเกาะศูนย์กลางการเงินแห่งนี้คืนจากอังกฤษเมื่อปี 2550 เมื่อปี 2556 สภานิติบัญญัติของฮ่องกงเคยพยายามผ่านมาตรานี้ แต่ก็ต้องยกเลิกเนื่องจากชาวฮ่องกงราว 500,000 คนออกมาเดินขบวนประท้วงต่อต้าน ความพยายามผลักดันกฎหมายนี้อีกครั้งเมื่อปีที่แล้วกลับเผชิญการต่อต้านหนักหน่วงยิ่งกว่าเก่า หวัง เฉิน รองประธานคณะกรรมการประจำของเอ็นพีซี กล่าวอย่างชัดเจนเมื่อวันศุกร์ว่า ร่างกฎหมายนี้มีเป้าหมายเพื่อกำราบขบวนการประชาธิปไตยของฮ่องกง “เราต้องใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกัน, หยุดยั้ง และลงโทษพวกเขาตามกฎหมาย” หวังกล่าวถึงขบวนการต่อต้านจีนในฮ่องกง การดำเนินการของพรรคคอมมิวนิสต์จีนจะข้ามกระบวนการทางนิติบัญญัติของฮ่องกงโดยถือเป็นการผ่านกฎหมายจากสภาแห่งชาติ หวังกล่าวว่าความล่าช้าในการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงของฮ่องกงบังคับให้ผู้นำจีนต้องดำเนินการเอง “เป็นเวลานานกว่า 20 ปีแล้วนับแต่รับมอบฮ่องกงคืนมา ที่กฎหมายเหล่านี้ยังไม่ได้บังคับใช้เพราะการลอบทำลายและขัดขวางโดยพวกที่พยายามหว่านปัญหาในฮ่องกงและจีน…

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ฉบับประชาชน: บันทึกภาพ/แชร์ภาพคนอื่น ผิดกฎหมาย?

Loading

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) หากไม่มีอะไรผิดพลาด จะประกาศบังคับใช้วันที่ 27 พฤษภาคมนี้ โดยพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือชื่อย่อ PDPA (Personal Data Protection Act) ฉบับ 2560 นี้เป็นพ.ร.บ.ที่ออกแบบมาเพื่อคุ้มครองประชาชน ปกป้องข้อมูลส่วนตัวทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งในบทความ ‘PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บรรทัดฐานใหม่ของชีวิตดิจิทัล’ ในเว็บไซต์ Brandinside กล่าวสรุปอย่างง่ายไว้ว่า “หนึ่งความเข้าใจผิดต่อเรื่องหลักการเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลคือ คิดว่าจะเป็นมาตรการที่ห้ามใช้ ห้ามบันทึก ข้อมูลของคน ซึ่งผิดไปจากข้อเท็จจริง เพราะที่จริงแล้ว เนื้อหาหลักคือ ให้นำไปใช้เท่าที่จำเป็น ปลอดภัย และโปร่งใส” ดังนั้นทีมงานวิจัยโครงการของศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ได้แก่ ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง, ชวิน อุ่นภัทร, ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล และ พีรพัฒ โชคสุวัฒนสกุล จึงจัดเสวนาให้ความรู้เรื่องพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับประชาชน ในมุมมองประชาชนว่าเราควรรู้อะไรบ้าง เช่น การบันทึกภาพ หรือแชร์ภาพถ่ายคนอื่น จะโดนปรับสามแสนบาทไหม? ทางแฟนเพจ Law Chula โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้ อยากถ่ายรูปเพื่อน แต่กลัวโดนจับ หนึ่งในความเข้าใจผิดยอดฮิตของ PDPA  คือหากถ่ายรูปเพื่อน ครอบครัว แล้วอัปโหลดลงโซเชียล อาจถูกจับหรือปรับได้ ฐิติรัตน์…

ครม.ไฟเขียวเลื่อนบังคับใช้พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ออกไปอีก 1 ปี

Loading

ครม. เด้งรับ ‘ดีอีเอส’ รับทราบ ความจำเป็นออกพ.ร.ฎ.ขยายเวลาบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บางหมวด ออกไปอีก 1 ปี เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม. รับทราบถึงความจำเป็นในการออกร่างพระราชกฤษฎีกา ขยายเวลาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ในหมวด 2 การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หมวด 3 สิทธิเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หมวด 5 การร้องเรียน หมวด 6 ความรับผิดทางแพ่ง หมวด 7 บทกำหนดโทษ และความในมาตรา 95 และมาตรา 96 ที่เดิมจะมีผลบังคับใช้ ในวันที่ 27 พ.ค. 2563 ออกไปอีก 1ปี ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ เพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน เนื่องจากหากมีการบังคับใช้ตามกำหนดเวลาเดิมในขณะที่ทุกภาคส่วนยังไม่พร้อม…

‘ดีอีเอส’ ถกเลื่อน ‘กฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล’

Loading

ดีอีเอส เร่งถกยืดบังคับใช้กฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล หลังพบ ‘โควิด’ ทำพิษ หลายบริษัทพ่วงเอสเอ็มอียังไม่พร้อมปรับใช้ ระบุไม่เกินสิ้นเดือนนี้ได้ข้อสรุปจะเลื่อนไปเป็นช่วงไหน “พุทธิพงษ์” ชี้จะต้องดำเนินการให้เหมาะสม ทั้งการออกกฎหมายลูก หรือระเบียบที่จำเป็น เพื่อให้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนำไปบังคับใช้ให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวถึง ตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 มีประกาศใช้ใช้ไปเมื่อ 27 พ.ค. 2562 และจะมีผลบังคับใช้ในปลายเดือนนี้คือ 28 พ.ค. 2563 โดยกฎหมายบัญญัติให้มีการจัดตั้งสำนักคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และออกระเบียบและกฎหมายลูกในการปฏิบัติตามกฎหมายซึ่งทั้งหมดอยู่ระหว่างการดำเนินการ ตามบทบัญญัติของกฎหมายไม่สามารถเลื่อนการมีผลบังคับใช้ออกไปได้ แต่เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ปัจจุบัน ประกอบกับการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตนเห็นตรงกับหลายฝ่ายว่าควรหาช่องทางบรรเทาการบังคับใช้ด้วยการยืดระยะเวลาออกไปอย่างน้อย 1 ปี โดยได้รับฟังข้อเสนอจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) ที่เสนอให้ รัฐบาลตราพระราชกฤษฎีกายกเว้นการนำบทบัญญัติของพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดหรือบางส่วนมาบังคับใช้ โดยตนได้นำเรื่องนี้เข้าหารือกับนายวิษณุเครืองามรองนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้และเหตุผลความจำเป็นในการออกพระราชกฤษฎีกา “เราพยายามจะให้ยืดระยะเวลาออกไป เพื่อให้ การบังคับใช้กฎหมายเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันเพราะถ้าหากรีบใช้อาจจะไม่เกิดประโยชน์กับทุกคน และความพร้อมทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนที่ต้องปฏิบัติ เพราะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ต้องยอมรับว่ามีหลายบริษัทรวมไปถึงเอสเอ็มอีเอง ปรับตัวเพราะให้เข้ากับกฎหมายไม่ทัน จึงก็ต้อง พิจารณาให้ดี” นายพุท ธิพงษ์ กล่าว…