กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อขายสินค้า

Loading

  ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในปัจจุบันสังคมไทยมีการใช้ สื่อสังคมออนไลน์ ในรูปแบบที่หลากหลาย เนื่องจากสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ไม่จำกัดและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ถูกนำมาใช้ต่อยอด ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมือง   เมื่อพิจารณาในแง่ของการควบคุมการใช้สื่อสังคมออนไลน์จะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีรูปแบบในการควบคุมสื่อสังคมออนไลน์ที่อาจยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ   หนึ่งในประเด็นที่ผู้เขียนอยากนำเสนอ สำหรับการเข้าควบคุมสื่อสังคมออนไลน์ ให้มีประสิทธิภาพและไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคเกินจำเป็น คือ การเข้าควบคุมการขายของออนไลน์ผ่านสื่อสังคมอออนไลน์ต่าง ๆ     เมื่อพิจารณากฎหมายในการควบคุมการขายของออนไลน์ จะเห็นได้ว่าประเทศไทยยังมีบทบัญญัติกฎหมายที่เข้าควบคุมการขายของออนไลน์ ด้วยการแพร่ภาพผ่านสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์คที่ค่อนข้างน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับในอีกหลายประเทศ   ทำให้รูปแบบในการขายของออนไลน์ผ่านสื่อโซเชียลในบางครั้ง มีการใช้พฤติกรรมที่มีลักษณะส่อไปทางอนาจาร หรือมีการใช้ถ้อยคำที่หยาบคาย ไม่เหมาะสม อาจเป็นแบบอย่างที่ไม่ถูกต้องต่อผู้บริโภคและนำไปสู่พฤติกรรมเลียนแบบ   หากไม่มีกฎหมายที่ควบคุมการแพร่ภาพดังกล่าว ย่อมส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคในประเทศไทยในระยะยาว ในขณะที่ในหลายประเทศได้ออกกฎหมาย เพื่อควบคุมกิจกรรมบางอย่างบนสื่อสังคมออนไลน์   โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่อาจเป็นการละเมิดต่อสิทธิของเด็ก หรือมีลักษณะเป็นการก่อการร้าย หรือมีลักษณะเป็นการกระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน     ผู้เขียนจะยกกฎหมายของต่างประเทศที่น่าสนใจ ในการควบคุมกิจกรรมในสื่อสังคมออนไลน์ในลักษณะนี้ ได้แก่ เยอรมนี ฝรั่งเศส และจีน   ในประเทศเยอรมนีมีพระราชบัญญัติตรวจสอบเครือข่ายสังคมออนไลน์ (NetzDG) ซึ่งกำหนดหน้าที่ให้แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ต้องตรวจสอบเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมและติดตามลบเนื้อหาที่เกี่ยวพันกับการก่อการร้าย การละเมิดสิทธิของเด็กหรือมีลักษณะเป็นการลามกอนาจาร และจะต้องรายงานไปยังสำนักงานยุติธรรมแห่งเยอรมัน   ในส่วนของประเทศฝรั่งเศสนั้นมีพระราชบัญญัติควบคุมระบบเศรษฐกิจดิจิทัล…

เทคโนโลยีจดจำใบหน้าทำงานพลาด! ส่งชายอเมริกันเข้าคุกทั้งที่ไม่ผิด

Loading

Facial Recognition   นักกฎหมายผู้หนึ่งกล่าวว่า การใช้เทคโนโลยีระบบการจดจำใบหน้าของทางการรัฐหลุยเซียนานำไปสู่การจับกุมที่ผิดพลาด โดยเจ้าหน้าที่ได้ใช้หมายจับในการจับกุมตัวชายชาวจอร์เจีย ซึ่งคดีนี้เป็นคดีที่รื้อฟื้นความสนใจในเรื่องของความไม่เสมอภาคทางเชื้อชาติในการใช้เครื่องมือดิจิทัล   รายงานจากหนังสือพิมพ์ The Times-Picayune และ The New Orleans Advocate ระบุว่า แรนดัล เรด (Randall Reid) ชายวัย 28 ปี ต้องถูกจำคุกเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ ดีคัล์บ เคาน์ตี้ (DeKalb County) รัฐจอร์เจีย   โดยทอมมี่ คาโลเจอโร (Tommy Calogero) ทนายความของเขากล่าวว่าเจ้าหน้าได้ที่เชื่อมโยงใบหน้าของเรดกับการขโมยกระเป๋าแบรนด์หรูที่เขตเจฟเฟอร์สัน แพริช (Jefferson Parish) และเมือง แบตัน รูจ (Baton Rouge) ด้วยความผิดพลาด ทำให้เขาถูกจับกุมเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน และได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 1 ธ.ค.   เรดเป็นชายผิวดำและการที่เขาถูกจับกุมนี้ทำให้ผู้คนหันมาให้ความสนใจในการใช้เทคโนโลยีที่บรรดาผู้คัดค้านกล่าวว่าส่งผลให้อัตราการระบุตัวคนผิวสีผิดพลาดสูงกว่าคนผิวขาว   เรดเล่าว่า…

#สรุปให้ ประกาศ ก.ดิจิทัลฯ ใหม่ สั่งปิดเว็บได้ใน 24 ชม. ไม่ต้องมีคนร้องเรียน

Loading

  กระทรวงดิจิทัลฯ ออกประกาศใหม่ เพิ่มอำนาจให้เจ้าหน้าที่กระทรวง สั่งปิดเว็บได้เลยภายใน 24 ชั่วโมง ใครไม่ทำตาม ให้สันนิษฐานว่าผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ผู้นั้น ร่วมมือ สนับสนุน หรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด   กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ออกประกาศกระทรวง เรื่อง “ขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2565” โดยเนื้อหาสาระสำคัญส่วนใหญ่ เป็นการเพิ่มอำนาจและตัวบทลงโทษให้กับเจ้าหน้าที่กระทรวงในการสั่งปิดเว็บไซต์ผิดกฎหมายให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น   โดยภายในประกาศ ระบุถึง ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และ ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ ไว้ด้วย และระบุต่ออีกว่า หากไม่ปฎิบัติตามให้สันนิษฐานว่าผู้ให้บริการหรือสื่อสังคมออนไลน์ผู้นั้น ร่วมมือ สนับสนุน หรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด   สำหรับประกาศดังกล่าว ใช้อำนาจตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 หรือที่เราเรียกติดปากว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์     มีอะไรเพิ่ม ?   ภายในตัวประกาศมีการเพิ่มอำนาจให้เจ้าหน้าที่กระทรวงฯ หากพบความผิดตามมาตรา 14 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์…

ออสเตรเลียผ่านกฎหมายลงโทษคนทำข้อมูลส่วนบุคคลหลุดสุดโหด ค่าปรับคิดตามความเสียหาย

Loading

  ออสเตรเลียผ่านกฎหมายขึ้นค่าปรับการทำข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล จากเดิมที่ค่าปรับสูงสุดอยู่ที่ 2.2 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย กลายเป็นค่าปรับไม่มีเพดานแต่จะคิดจากความเสียหายหรือขนาดองค์กรที่ทำข้อมูลหลุดแทน โดยค่าปรับในกรณีที่เกิดความเสียร้ายแรงหรือทำผิดซ้ำ   โดยเพดานค่าปรับจะดูจากสามเงื่อนไขและคิดเงื่อนไขที่เพดานค่าปรับสูงสุด เงื่อนไขได้แก่ – 50 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย – สามเท่ามูลค่าผลประโยชน์ที่คนร้ายได้ไปจากการใช้ข้อมูล – 30% ของเงินหมุนเวียนของบริษัท (adjusted turnover)   ออสเตรเลียพบปัญหาข้อมูลหลุดครั้งใหญ่ ๆ หลายครั้งในปีนี้ เช่น เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ Optus ทำข้อมูลลูกค้าหลุด 9.8 ล้านคน หรือบริการประกันสุขภาพ Medibank ที่ทำข้อมูลหลุดถึง 9.7 ล้านคน   นอกจากการเพิ่มบทลงโทษแล้ว กฎหมายนี้ยังให้อำนาจกรรมการข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการช่วยสอบสวนเหตุการณ์ข้อมูลหลุดและการเปิดเผยข้อมูลเพื่อปกป้องลูกค้าขององค์กรที่ข้อมูลหลุด   กฎหมายนี้นับเป็นวาระเร่งด่วนของรัฐบาล Albanese ที่เพิ่งรับตำแหน่งในปีนี้ ทางรัฐบาลประกาศว่าจะแก้ไขกฎหมายข้อมูลส่วนตัวเพิ่มเติมต่อไป     ที่มา – Australia Attorney General ภาพ – vjohns1580    …

ถาม-ตอบ : พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์

Loading

  ผู้เขียนจะเล่าถึงพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๖๕ ที่เพิ่งประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อกลางเดือนตุลาคม 2565 โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้การทำงานและการให้บริการของภาครัฐ สามารถใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก     ปัญหาและที่มา ปัญหาก่อนหน้านี้ คือ กฎหมายที่มีอยู่หลายฉบับกำหนดให้การปฏิบัติราชการหรือการติดต่อกับประชาชนต้องใช้สำเนาหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือจำกัดวิธีหรือรูปแบบในการติดต่อราชการเฉพาะการติดต่อด้วยตัวบุคคล ณ สถานที่ทำการ หรือนำส่งเอกสารต่าง ๆ ทางไปรษณีย์   อันเป็นผลให้หน่วยงานของรัฐไม่สามารถนำวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างเต็มรูปแบบ (ซึ่งที่ผ่านมาบางหน่วยงานที่ไม่มีข้อติดขัดทางกฎหมาย และข้อจำกัดทางงบประมาณได้มีการนำวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการแล้วบ้าง)   ดังนั้น ที่มาของ พ.ร.บ. ปฏิบัติราชการอิเล็กทรอนิกส์ คือ การตรากฎหมายกลางเพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดทางกฎหมายที่เป็นอุปสรรคของแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้การดำเนินการทางอิเล็กทรอนิกส์มีผลสมบูรณ์ในทางกฎหมาย   ใช้กับทุกหน่วยราชการหรือไม่? คำตอบ คือ “ไม่” โดย พ.ร.บ. ปฏิบัติราชการอิเล็กทรอนิกส์จะใช้กับหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงาน ยกเว้น   (๑) รัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด (๒) หน่วยงานของรัฐในฝ่ายนิติบัญญัติ (๓) หน่วยงานของรัฐในฝ่ายตุลาการ (๔) องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ (๕) องค์กรอัยการ และ (๖) หน่วยงานอื่นของรัฐที่กำหนดในกฎกระทรวง  …

จะเกิดอะไรขึ้นหลังรัสเซียประกาศใช้กฎอัยการศึก

Loading

Ukraine Russia   เมื่อวันพุธ ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย ประกาศใช้กฎอัยการศึกในดินแดนสี่แห่งของยูเครนที่รัสเซียเข้ายึดและอ้างว่าเป็นดินแดนของตน   แม้รัสเซียจะเข้ายึดเขตปกครองดอแนตสก์ ลูฮันสก์ เคอร์ซอน และซาปอริห์เชีย เพียงฝ่ายเดียว และไม่ได้มีอำนาจควบคุมพื้นที่เหล่านี้อย่างเต็มที่ แต่รัสเซียก็ประกาศใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่เหล่านี้ เสมือนว่าเป็นพื้นที่ของตน   กฎหมายที่มีมาตั้งแต่ปีค.ศ. 2002 นี้ ไม่เคยถูกประกาศใช้มาก่อน และจะถูกใช้ได้ก็ต่อเมื่อรัสเซียเผชิญการรุกราน หรือ”ภัยต่อการถูกรุกรานแบบฉับพลัน”   รอยเตอร์ประเมินเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นหลังผู้นำรัสเซียประกาศใช้กฎอัยการศึกดังต่อไปนี้   การระดมพล   กฎอัยการศึกของรัสเซียกำหนดให้มีการระดมกำลังพลโดยทั่วไปหรือระดมกำลังพลบางส่วน   อย่างไรก็ตาม รัสเซียได้เริ่มระดมพลบางส่วนแล้วทั้งในประเทศ และในดินแดนของยูเครนที่รัสเซียยึดครอง ดังนั้น จึงยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ารัสเซียจะเรียกระดมพลเพิ่มหรือไม่   กฎอัยการศึกมอบอำนาจให้ทางการรัสเซียประกาศใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อ “สนองความต้องการของกองกำลังติดอาวุธรัสเซีย” และเพื่อ “ปกป้องดินแดน”   วิตาลี คิม ผู้ว่าการแคว้นมีโคลาอีฟทางตอนใต้ของยูเครน ระบุว่า เขาเชื่อว่ารัสเซียประกาศใช้กฎอัยการศึกครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อให้รัสเซีย “ระดมกำลังจากประชาชนของเราที่ยังเหลืออยู่” ในดินแดนของยูเครนที่ถูกรัสเซียยึดครอง   ทั้งนี้ การบังคับให้พลเมืองต้องปฏิบัติหน้าที่ในกองกำลังของฝั่งที่เข้ายึดครอง…