กฎหมาย ‘ควบคุมปืน’ ในนิวยอร์กสะดุด! หลังผู้พิพากษาเห็นว่ากฎบางข้อขัดรธน.

Loading

FILE PHOTO: A sign similar to what is to be placed in the Times Square “gun free zone” is displayed regarding new gun laws in New York   ความพยายามของรัฐนิวยอร์กในการผลักดันกฎหมายเรื่องการครองปืนให้มีความเข้มงวดขึ้น กำลังเผชิญสิ่งท้าทาย เมื่อผู้พิพากษาศาลรัฐบาลกลางมีความเห็นว่าส่วนประกอบหลายส่วนในกฎหมายนี้ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญอเมริกัน ตามรายงานของเอพี   หลายส่วนของกฎหมายดังกล่าวซึ่งผ่านกระบวนการนิติบัญญัติของรัฐในปีนี้ ถูกผู้พิพากษาเกล็นน์ ซัดดาบี สั่งให้เป็นโมฆะ อย่างไรก็ตาม การตัดสินของเขายังไม่มีผลโดยทันที   ผู้พิพากษาซัดดาบีระบุว่ากฎเรื่องการให้ใบอนุญาตครองปืนหลายข้อล้ำเส้นเกินไป เช่น การใช้ภาษาในกฎหมายที่ว่า ผู้มีสิทธิ์ต้องมี “จริยธรรมอันดีงาม”   อีกประเด็นที่ผู้พิพากษาผู้นี้เห็นว่ากฎหมายของรัฐล้ำเส้นเกินไปคือ การที่ผู้ยื่นขอสิทธิ์ครองปืนจะต้องส่งข้อมูลที่เกี่ยวกับบัญชีโซเชียลมีเดียของตนให้กับรัฐ   ผู้พิพากษาซัดดาบี เห็นว่าผลท้ายที่สุดที่จะเกิดขึ้นจากกฎหมายนี้ คือ การกีดกั้นไม่ให้คนพกอาวุธปืนเพื่อใช้ป้องกันตัว เว้นแต่ว่าบุคคลดังกล่าวจะสามารถจูงใจเจ้าหน้าที่ผู้ออกใบอนุญาตได้ว่าจะไม่ใช้ปืนทำร้ายตนเองหรือคนอื่น ๆ…

ควบคุม ‘NGO ต่างชาติ’ อินโดฯ ออกกฎหมายจัดระเบียบ เหตุหวั่นถูกแทรกแซงกิจการภายใน

Loading

  รัฐบาลอินโดนีเซียกำลังถูกบีบให้ยกระดับกฎหมายจัดระเบียบองค์กร NGO ต่างชาติที่ดำเนินงานในประเทศให้มีความเข้มงวดมากขึ้น   มีเสียงเรียกร้องให้รัฐบาลอินโดนีเซีย เริ่มตรวจสอบกิจกรรมขององค์กร NGO ต่างชาติเพื่อให้แน่ใจว่าปฏิบัติตามกฎหมาย จากความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมขององค์กรเหล่านั้น และการแทรกแซงเรื่องความขัดแย้งในปาปัว กรณีการสร้างเขตปกครองตนเองใหม่ โดยการให้เงินทุนและการสนับสนุนด้านลอจิสติกส์   กลุ่มผู้เรียกร้องให้เหตุผลว่า กฎหมายจัดระเบียบองค์กร NGO ต่างชาติผิดกฎหมายของภาครัฐนั้นอ่อนเกินไป เนื่องจากไม่สามารถจัดการกับการแทรกแซงกิจการภายใน รวมถึงโฆษณาชวนเชื่อเชิงลบต่ออุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในประเทศ   ครั้งนี้รัฐบาลจะต้องเข้มงวดและมีความเป็นอิสระมากขึ้นในการกำหนดกฎหมายจัดระเบียบ NGO โดยอย่าได้ถูกยั่วยุ จนหลงกลติดกับดักที่ NGO ต่างชาติผิดกฎหมายได้วางไว้” Sofjan Wanandi ประธานของ คณะกรรมการที่ปรึกษาสมาคมนายจ้างชาวอินโดนีเซีย (Apindo) กล่าว   ทั้งนี้ ส.ส. Firman Subagyo ได้เรียกร้องให้สำนักข่าวกรองแห่งชาติอินโดนีเซีย (BIN) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สอบสวนกิจกรรมขององค์กร NGO ต่างชาติที่ผิดกฎหมาย ซึ่งหลังจากนี้ หากมีกิจกรรม NGO ใด ๆ ที่เป็นภัยต่อเสถียรภาพทางการเมืองของชาติ เจ้าหน้าที่จะดำเนินการทางกฎหมายทันที     อ้างอิง :…

สภาอินโดนีเซียผ่านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

Loading

  สภาของอินโดนีเซียเห็นชอบกฎหมาย ว่าด้วยการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต โดยผู้ประกอบการจะต้องเป็นฝ่ายรับโทษหนักตามกฎหมาย หากข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้ารั่วไหล   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 20 ก.ย. ว่า สภาผู้แทนราษฎรของอินโดนีเซียมีมติเสียงข้างมากท่วมท้น ในการประชุมเมื่อวันอังคาร ผ่านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับใหม่   ทั้งนี้ บริษัทแห่งใดก็ตามที่เผยแพร่ข้อมูล หรือนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้ประกอบการอาจต้องรับโทษจำคุกเป็นเวลานานถึง 6 ปี และปรับเป็นเงินสูงสุดคิดเป็นอัตรา 2% ของรายได้ตลอดทั้งปีของบริษัทแห่งนั้น และอาจมีการอายัดทรัพย์สินบางส่วนเพื่อนำมาขายทอดตลาดด้วย   Indonesia's parliament passed into law on Tuesday a personal data protection bill that includes corporate fines and up to six years imprisonment for those found to have mishandled…

เอาจริง! จีนเล็งเพิ่มบทลงโทษภายใต้กฎหมายความมั่นคงทางไซเบอร์

Loading

  สำนักงานบริหารไซเบอร์สเปซของจีน (ซีเอซี) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลความมั่นคงทางไซเบอร์ของจีน เสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายความมั่นคงทางไซเบอร์ของประเทศหลายชุด รวมถึงการเพิ่มโทษปรับของการละเมิดบางประการ โดยระบุว่าต้องการทำเช่นนั้นเพื่อปรับปรุงการประสานงานกับกฎหมายใหม่อื่น ๆ   สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ว่า ซีเอซี กล่าวว่า ทางหน่วยงานต้องการมุ่งเสนอบทลงโทษที่จะทำให้ผู้ประกอบการโครงสร้างพื้นฐานของข้อมูลสำคัญ ซึ่งใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการต่าง ๆ ที่ไม่ผ่านการตรวจสอบความปลอดภัย ถูกปรับสูงถึง 5% ของรายได้ในปีที่แล้วของพวกเขา หรือเป็น 10 เท่าของจำนวนเงินที่พวกเขาจ่ายให้กับผลิตภัณฑ์นั้น ๆ   นอกจากนี้ ซีเอซียังกล่าวเพิ่มเติมว่า ทางหน่วยงานต้องการเพิ่มค่าปรับสำหรับการละเมิดบางอย่าง จากเดิมในช่วงก่อนหน้านี้ที่สูงถึง 100,000 หยวน (ประมาณ 527,000 บาท) เป็น 1 ล้านหยวน (ประมาณ 5.27 ล้านบาท) ซึ่งการแก้ไขที่มีการเสนอไปนั้น จะเปิดรับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากสาธารณชนจนถึงวันที่ 29 ก.ย.นี้   China’s cyberspace regulator has proposed…

กฎหมายกับความท้าทายใน Metaverse | สุมาพร (ศรีสุนทร) มานะสันต์

Loading

  เมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสร่วมงานสัมมนาครบรอบ 25 ปี ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ในหัวข้อ “Metaverse เชื่อมโยงพื้นที่ใหม่กับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา : กฎหมายสำหรับโลกอนาคตในโลกคู่ขนาน” จึงถือโอกาสนำบางส่วนมาเล่าให้ฟังในบทความฉบับนี้ ระบบเศรษฐกิจใน Metaverse Metaverse คือความพยายามของบริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะสร้างโลกเสมือนเพื่อให้คนในโลกกายภาพสามารถเข้าถึงและมีกิจกรรมต่างๆ ในโลกเสมือนดังกล่าวได้ ผ่านการเชื่อมโยงของระบบอินเทอร์เน็ต ดังนั้น กิจกรรมที่จะเกิดขึ้นใน Metaverse คือ การทำธุรกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านการใช้คริปโทเคอร์เรนซี หรือ NFT โดยเงินดิจิทัลหรือคริปโทจะถูกใช้เพื่อถ่ายโอนมูลค่า และ NFT จะนำมาใช้เพื่อโอนกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง หรือเป็นตัวแทนของทรัพย์สินเสมือน ดังนั้น โดยสภาพ NFT จะทำหน้าที่คล้ายตราสารในโลกปัจจุบัน (เช่น โฉนด ใบหุ้น) ที่มีหน้าที่จดบันทึกสิทธิต่าง ๆ ของเจ้าของทรัพย์ และถูกยึดโยงไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นการเฉพาะ ในทางปฏิบัติการสร้าง Virtual Asset เช่น เสื้อผ้า สิ่งของ รูปภาพ และที่ดินในโลกเสมือน…

หน้าที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูล

Loading

  พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ) เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงหน้าที่และความรับผิดของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล   เพื่อให้การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยบทความนี้จะอธิบายถึงหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลเท่านั้น   มาตรา 6 กำหนดนิยามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) ว่าคือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เห็นได้ว่าผู้ควบคุมข้อมูลเป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เช่น ผู้ประกอบธุรกิจรูปแบบเจ้าของคนเดียว ผู้ประกอบธุรกิจ SME บริษัทจำกัด หน่วยงานของรัฐ เป็นต้น โดยผู้ควบคุมข้อมูลมี “อำนาจในการตัดสินใจ” เกี่ยวกับวัตถุประสงค์และวิธีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล   ผู้ควบคุมข้อมูลอาจมีความสัมพันธ์กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามสัญญาหรือไม่มีความผูกพันตามสัญญาก็ได้ โดยเจ้าของข้อมูลอาจมีสถานะเป็นลูกค้า คู่ค้า พนักงาน ผู้สมัครงาน หรือผู้มาติดต่อของผู้ควบคุมข้อมูล     (ภาพถ่ายโดย Kelly L)   ซึ่งหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลที่มีต่อเจ้าของข้อมูลตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ มีดังต่อไปนี้     1. หน้าที่ในการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการประมวลผล   มาตรา 23 กำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลมีหน้าที่แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลให้เจ้าของข้อมูลทราบ ไม่ว่าผู้ควบคุมข้อมูลจะได้รับข้อมูลจากเจ้าของข้อมูลโดยตรงหรือจากแหล่งอื่น…