รับมือกฎหมาย PDPA ด้วยการปกป้องความเป็นส่วนบุคคลที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี

Loading

  ภายในงานสัมมนา TTT Virtual Summit: Enterprise Cybersecurity 2022 ที่เพิ่งจบไป คุณณัฏฐวี สกุลรัตน์ Chief Marketing Officer จาก Netka ได้ออกมาอัปเดตเรื่องการเตรียมความพร้อมขององค์กรให้ครอบคลุม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ที่กำลังบังคับใช้จริงในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ รวมไปถึงแนะนำเทคโนโลยีจาก Netka ที่จะช่วยปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคงปลอดภัย ดังนี้ ปัญหาที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทย หนึ่งในปัญหาสำคัญที่นำไปสู่การออกกฎหมาย PDPA คือ การที่ข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลสู่สาธารณะ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ข้อมูลต่างๆ ถูกแปลงให้อยู่ในรูปดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลสามารถหลุดออกไปได้หลากหลายช่องทางโดยบางครั้งเจ้าของข้อมูลก็ไม่รู้ตัว เช่น การโพสต์ข้อมูลส่วนบุคคลลงสื่อสังคมออนไลน์ การใช้บริการแอปพลิเคชันต่างๆ แล้วกดตกลงให้ความยินยอมในการให้ข้อมูลเองโดยไม่อ่านรายละเอียด การโดนแฮ็กหรือเจาะขโมยข้อมูล การถูกหลอกลวงด้วยวิธีต่างๆ เช่น Phishing เป็นต้น การรั่วไหลหรือขโมยข้อมูลส่วนบุคคลอาจนำไปสู่ความเสียหายดังต่อไปนี้ – ถูกนำไปใช้ในทางผิดกฎหมาย เช่น เลขบัตรประชาชนถูกนำไปใช้เปิดบัญชีเพื่อฉ้อโกงผู้อื่น คลิปส่วนตัวถูกข่มขู่แบล็กเมล เป็นต้น – โดนจารกรรมทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการใช้หมายเลขบัตรเครดิตไปซื้อสินค้า หรือโอนเงินจากบัญชีธนาคาร…

4 หน่วยงานภาคการเงินลงนามคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

Loading

  ธปท.เอ็มโอยูร่วมหน่วยงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ก่อนกฎหมายมีผลบังคับใช้ 1 มิ.ย.นี้ “เศรษฐพุฒิ”ระบุ ปี 64 ทั่วโลกพบข้อมูลรั่วไหล 24.7 พันล้านรายการ เป็นการรั่วไหลข้อมูลส่วนบุคคลถึง 65% ชี้ถือเป็นอุปสรรคการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลของประเทศ   วานนี้ (28 เม.ย.) หน่วยงานกำกับดูแลภาคธุรกิจการเงิน ทั้ง 3 องค์กร ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของภาคธุรกิจการเงิน   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า การคุ้มครองสิทธิของประชาชนในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล เป็นสิ่งที่รัฐบาลและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมให้ความสำคัญควบคู่ไปกับการผลักดันเรื่องการสร้างสรรค์นวัตกรรม และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเต็มศักยภาพ กฎหมายฉบับนี้เป็นหนึ่งในชุดกฎหมายดิจิทัลเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็ง รวมทั้ง เสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคมในการใช้บริการออนไลน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัยและเป็นธรรม   ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากเพิ่มขึ้น เป็นประโยชน์ต่อภาคประชาชนในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และในขณะเดียวกันเพื่อไม่ให้เป็นการสร้างภาระเกินสมควรแก่ผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานกำกับดูแลภาคธุรกิจการเงิน จึงได้จัดให้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของภาคธุรกิจการเงินขึ้น   นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ…

สภาสหรัฐฯโหวตท่วมท้น ผ่าน กม.สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ให้ยูเครนยืมอาวุธ – รัสเซียลั่นพร้อมตอบโต้

Loading

  ขณะนี้นานาชาติกำลังจับตาท่าทีของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนของยูเครนในตอนนี้ เพราะเมื่อคืนที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวที่สำคัญมาก 2 อย่างที่อาจนำไปสู่จุดเปลี่ยนของสงครามครั้งนี้   เรื่องแรก คือ “ประธานาธิบดีไบเดน” ขอให้สภาคองเกรสอนุมัติงบประมาณด้านการทหารก้อนใหญ่อีกก้อน เพื่อช่วยเหลือยูเครนในการรบ   และเรื่องที่สอง คือ สภาคองเกรสมีมติอย่างท่วมท้นให้ฟื้นกฎหมายสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นกฏหมายที่มีส่วนให้อังกฤษเอาชนะกองทัพนาซีได้   สภาคองเกรส หรือรัฐสภาของสหรัฐฯ ได้ลงมติให้มีการรื้อฟื้นกฎหมายที่มีชื่อว่า Lend and Lease หรือ “กฎหมายให้ยืมและให้เช่าเพื่อการป้องกันประชาธิปไตยยูเครนปี 2022”   โดยกฎหมายนี้ได้รับความเห็นชอบอย่างท่วมท้นอยู่ที่ 417 ต่อ 10 เสียง ขั้นตอนต่อไปหลังจากนี้คือ ส่งกฎหมายนี้ให้ประธานาธิบดีโจ ไบเดนลงนาม และประกาศใช้ ซึ่งหลังจากที่กฎหมายนี้ได้รบการลงนามจากประธานาธิบดีเรียบร้อยแล้ว     สหรัฐฯ จะสามารถให้ประเทศยูเครน หรือประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการทำสงคราม เช่น โปแลนด์ สามารถยืมหรือเช่าอาวุธจากสหรัฐฯ ได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาผ่านขั้นตอนของทางภาครัฐ   ด้านแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ กล่าวว่า…

EU บังคับบริษัทเทคโนฯยักษ์ใหญ่จัดการคอนเทนต์ผิดกม.-ฝ่าฝืนเจอโทษปรับ

Loading

  สหภาพยุโรป (EU) เห็นชอบในวันนี้ (23 เม.ย.) เกี่ยวกับการออกกฎหมายใหม่ ซึ่งจะบังคับให้บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ ๆ อาทิ กูเกิล และเมตา จัดการกับคอนเทนต์ที่ผิดกฎหมายในแพลตฟอร์มต่าง ๆ อย่างจริงจังมากขึ้น มิฉะนั้นจะเสี่ยงกับการถูกปรับเป็นเงินหลายพันล้านดอลลาร์   สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า รัฐสภายุโรปและประเทศสมาชิก EU ได้บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับกฎหมายการให้บริการดิจิทัล (Digital Services Act – DSA) ซึ่งเป็นกฎหมายหลักที่มีเป้าหมายเพื่อจัดการกับคอนเทนต์ที่ผิดกฎหมายและเป็นอันตราย ด้วยการสั่งให้แพลตฟอร์มดำเนินการลบคอนเทนต์เหล่านั้นออกไปอย่างรวดเร็ว   ส่วนสำคัญของกฎหมายนี้จะจำกัดวิธีที่บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านดิจิทัลทำการกำหนดเป้าหมายผู้ใช้งานสำหรับการโฆษณาออนไลน์ โดย DSA จะขัดขวางแพลตฟอร์มต่าง ๆ จากการกำหนดเป้าหมายผู้ใช้งานด้วยอัลกอริทึมโดยใช้ข้อมูลเพศ เชื้อชาติหรือศาสนา และจะห้ามไม่ให้กำหนดเป้าหมายด้านการโฆษณากับผู้ใช้งานที่เป็นเด็ก   นอกจากนี้ DSA จะห้ามการใช้กลวิธีหลอกลวงที่ออกแบบมาเพื่อผลักดันให้ผู้ใช้งานเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการบางอย่างด้วย   บริษัทเทคโนโลยีจะต้องใช้ขั้นตอนใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อกำจัดเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย เช่น คำพูดที่สร้างความเกลียดชัง การยั่วยุให้ก่อการร้าย และการล่วงละเมิดทางเพศเด็ก โดยตลาดอี-คอมเมิร์ซ เช่น แอมะซอนจะต้องห้ามการขายสินค้าผิดกฎหมายภายใต้กฎใหม่ดังกล่าว   ทั้งนี้ บริษัทที่ไม่ปฏิบัติตามกฎใหม่ดังกล่าวอาจต้องเสียค่าปรับสูงถึง 6% ของรายได้ประจำปีทั่วโลก…

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับแก้ไขของญี่ปุ่น

Loading

  โลกในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันทางการค้าสูง การเข้าถึงและครอบครองข้อมูลส่วนบุคคลจึงมีความสำคัญเพราะสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดความได้เปรียบเชิงธุรกิจได้   แต่ในขณะเดียวกัน การดำเนินการดังกล่าวโดยปราศจากการควบคุมย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลได้ ดังนั้นแล้ว การตรากฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจึงมีความสำคัญยิ่ง   ประเทศไทยได้มีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีประสิทธิภาพและเพื่อให้มีมาตรการเยียวยาเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจากการถูกละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพ   เนื่องจากในปัจจุบันเราจะพบปัญหาการละเมิดสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปแสวงหาประโยชน์ หรือเปิดเผยโดยมิชอบ หรือโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลอันส่งผลให้เกิดความเสียหายกับบุคคลจำนวนมาก   กฎหมายดังกล่าวจะมีกำหนดบังคับใช้ทั้งฉบับในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2565 อันส่งผลให้ผู้ประกอบการต่างๆ รวมถึงหน่วยงานของรัฐต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อมเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้   สำหรับผู้ประกอบการที่มีคู่ค้าเป็นชาวต่างชาติ นอกจากจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทยแล้ว ก็จำต้องศึกษากฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศคู่ค้าด้วย เพื่อจะได้ไม่เกิดกรณีการทำผิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศนั้นๆ   ประเทศญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นคู่ค้าสำคัญของผู้ประกอบการไทย และเป็นหนึ่งในประเทศแรก ๆ ของเอเชียที่ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล   ญี่ปุ่นได้ตรากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (個人情報保護法 – Act on Protection of Personal Information – APPI) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 และมีผลบังคับใช้กับผู้ประกอบการทั้งหมด ที่เสนอขายสินค้าและบริการที่มีการดำเนินการกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น   ไม่ว่าจะมีที่ตั้งอยู่ในญี่ปุ่นหรือไม่ก็ตาม และหลังจากที่ได้มีการบังคับใช้ ก็ได้มีการตรากฎระเบียบอื่น…

‘เธียรชัย’ ยัน ‘1 มิ.ย.’ ไทยบังคับใช้ ‘ก.ม. PDPA’

Loading

  ประธาน คกก.คุ้มครองส่วนบุคคล ยัน 1 มิ.ย.ไทยจะประกาศใช้กฎหมาย PDPA เป็นประเทศที่ 3 ของอาเซียน ดึงงานวิจัยจุฬาเป็นวิธีการปฎิบัติ ไม่มีบทลงโทษทางกฎหมาย สร้างการรับรู้ให้องค์กรเตรียมตัว ย้ำประกาศล่าช้าตัดโอกาสประเทศ ยกระดับดูแลข้อมูลส่วนบุคคลองค์กรไทยสู่มาตรฐานสากล   นายเธียรชัย ณ นคร ประธานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เปิดเผยกับ “กรุงเทพธุรกิจ” และสื่อในเครือเนชั่น ว่า ขณะนี้เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 นี้ โดยไม่เลื่อนการบังคับใช้ ตามที่คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เสนอ เนื่องจากขณะนี้มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ขึ้นมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา   ขณะเดียวกัน ยังมองว่าการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นสิทธิพื้นฐาน และจะกลายระเบียบใหม่ของโลก ที่ขณะนี้มีประเทศในกลุ่มอียู และกลุ่มประเทศที่ไม่ใช่อียู 50 ประเทศ การบังคับใช้ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หากไทยไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีมาตรฐานไม่น้อยกว่า…