สังคมโลก : นักรบต่างชาติ

Loading

  ปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียในยูเครน ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา มีรายงานชาวต่างชาติหลายพันคน จากหลายประเทศทั่วโลก เดินทางเข้าไปในยูเครน เพื่ออาสาช่วยสู้รบต่อต้านทหารรัสเซีย ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า กรณีเช่นนี้ผิดกฎหมายใด ๆ หรือไม่   จากรายงานของสื่อหลายสำนัก รวมถึงรอยเตอร์ นักรบอาสานานาชาติ ที่ไปช่วยกองทัพยูเครน รวมถึงพลเมืองของแคนาดา จอร์เจีย อินเดีย ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐ เมื่อตรวจสอบดูกฎหมายของแต่ละประเทศพบว่า   ข้อมูลในเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ระบุว่า กฎหมายไม่ห้ามพลเมืองอเมริกัน เข้าเป็นทหารในกองทัพของประเทศใดประเทศหนึ่ง การเป็นทหารประจำการ หรือสู้รบกับประเทศที่มีสันติภาพกับสหรัฐ อาจใช้เป็นมูลเหตุสละสัญชาติโดยสมัครใจ แต่คำวินิจฉัยบรรทัดฐานของศาลฎีกาสหรัฐ การเข้าเป็นทหารในกองทัพต่างชาติ เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถใช้เพิกถอนสัญชาติสหรัฐได้   กฎหมายอีกฉบับของสหรัฐ รัฐบัญญัติว่าด้วยความเป็นกลาง (Neutrality Act) บังคับใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1794 (พ.ศ. 2337) กำหนดห้ามพลเมืองสหรัฐ ทำสงครามสู้รบกับรัฐบาลต่างชาติ ที่มีสันติภาพกับรัฐบาลสหรัฐ โดยกำหนดหนดโทษจำคุกผู้ฝ่าฝืนไว้ สูงสุดไม่เกิน 3 ปี กฎหมายฉบับนี้ซึ่งอาจจะถูกนำมาบังคับใช้ทางเทคนิค…

PDPA กฎหมายที่ผู้ประกอบการต้องรู้

Loading

คอลัมน์ Great Talk กลางปีนี้ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือกฎหมาย PDPA ที่ย่อมาจาก Personal Data Protection Act จะเริ่มบังคับใช้เต็มรูปแบบในวันที่ 1 มิ.ย. 2565 กฎหมาย PDPA นี้ให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ บัญชีธนาคาร อีเมล ไอดีไลน์ บัญชีผู้ใช้ของเว็บไซต์ ลายนิ้วมือ ประวัติสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถระบุถึงตัวเจ้าของข้อมูลนั้นได้ อาจเป็นได้ทั้งข้อมูลในรูปแบบเอกสาร กระดาษ หนังสือ หรือจัดเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ กฎหมาย PDPA เรียกได้ว่าถอดแบบมาจากกฎหมายต้นแบบอย่างกฎหมาย GDPR (General Data Protection Regulation) ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป วัตถุประสงค์ของการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ไม่ประสงค์ดีทำการแฮกข้อมูลหรือละเมิดความเป็นส่วนตัวเพื่อข่มขู่หวังผลประโยชน์จากทั้งจากตัวเจ้าของข้อมูลเองหรือจากบุคคลที่ดูแลข้อมูล STEP 1 การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล 1. จัดทำ…

พร้อมรับมือ PDPA สรุป 10 สิ่งที่องค์กรต้องเตรียมพร้อม

Loading

    หลายคนคงคุ้นหูกับคำว่า PDPA มาบ้าง ว่าเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองส่วนบุคคล สำหรับผู้ประกอบการหรือองค์กรที่มีการจัดเก็บ รวบรวม หรือใช้ข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อใช้ดำเนินงานในองค์กรหรือเพื่อการประกอบธุรกิจ ก็จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA ทั้งสิ้น เพื่อไม่ให้เกิดการละเมิด หรือนำข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าหรือพนักงานในองค์กรไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งจะมีโทษทางกฎหมายตามมา รวมถึงความน่าเชื่อถือขององค์กรที่เสียไปอีกด้วย   สิ่งที่ธุรกิจต้องเตรียมความพร้อมก่อนที่กฎหมาย PDPA จะบังคับใช้เต็มรูปแบบในเดือนมิถุนายน 2565 ไม่ได้มีเพียงเรื่องการขอความยินยอมให้ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลจากเจ้าของข้อมูลเท่านั้น (Consent) แต่การจัดทำ Consent Management เพียงอย่างเดียว ยังไม่ถือว่าครอบคลุม ยังมีการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ซึ่งรวมถึงการเตรียมความพร้อมด้านระบบที่รองรับและเอกสารทางกฎหมาย การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปตามมาตรฐาน รวมทั้งการสร้าง Awareness ด้าน PDPA ให้กับพนักงานในองค์กร มาดูกันว่านอกจากการทำระบบขอ Consent ตาม PDPA แล้ว องค์กรยังมีอะไรต้องเตรียมอะไรอีกบ้าง     1. Data Inventory Mapping สิ่งแรกที่องค์กรควรดำเนินการ คือ การจัดทำ Data…

‘เอ็ตด้า’ขู่ ‘แพลตฟอร์มดิจิทัล’ ต่างชาติต้องจดทะเบียน

Loading

    ‘เอ็ตด้า’ เสียงแข็งยันแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างชาติ ต้องจดแจ้งในไทย ฝ่าฝืน ผิดกฎหมายมีบทลงโทษหนัก ดึงโมเดลกฎหมายญี่ปุ่น-ยุโรป มาปรับใช้ต่างใช้กฎหมายนี้แล้ว   นายชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า กล่าวว่า (ร่าง) พระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. …. เป็นสิ่งที่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลทั้งในประเทศและต่างประเทศต้องปฏิบัติตาม ไม่เช่นนั้นจะถือเป็นผู้ให้บริการผิดกฎหมาย ไม่มีธรรมาภิบาลในการประกอบธุรกิจ   โดยเฉพาะกลุ่มผู้ให้บริการต่างประเทศเมื่อต้องการมาลงทุนในประเทศไทยก็ต้องดำเนินธุรกิจตามกฎหมายไทย และหากไม่จดแจ้งคนไทยก็ไม่ควรใช้บริการของแพลตฟอร์มต่างชาติ หรือ แพลตฟอร์มใดๆก็ตามที่ทำผิดกฎหมาย   “หากไม่ทำจะมีตั้งคณะกรรมการร่วม โดยมีปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นประธาน และปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองประธาน นอกจากนี้ยังมีกรรมการที่มาจากทั้งตัวแทนภาครัฐและเอกชนกว่า 20 คน ในการร่วมกันกำหนดเงื่อนไขและส่งหนังสือไปยังสถานทูตในประเทศที่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างชาติตั้งสำนักงานใหญ่อยู่เพื่อเรียกร้องให้ปฏิบัติตามกฏหมายไทยด้วย”   เขา กล่าวว่า เอ็ตด้ามีหน้าที่ตั้งแต่ การจดแจ้ง,การขึ้นทะเบียน และการอนุญาต แต่กฎหมายฉบับนี้เอ็ตด้าให้ดำเนินการตามอำนาจเพียงการจดแจ้งเท่านั้นซึ่งนับว่าไม่ได้เป็นภาระของผู้ประกอบการแต่อย่างใด โดยเฉพาะผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างชาติที่ต้องมีการแจ้งรายได้ประจำปีต่อสำนักงานตามกม.นั้น จำเป็นต้องปฏิบัติเพราะจัดอยู่ในมาตรา 32 เรื่องความเสี่ยง โดยความมั่นคงทางการเงินและพาณิชย์เป็น หนึ่งในความเสี่ยงที่ต้องแจ้งด้วย เพราะเกี่ยวข้องกับผู้ใช้บริการคนไทย…

รัสเซีย ผ่านกฎหมายต้าน ข่าวปลอม ด้อยค่า กองทัพ โทษจำคุกสูงสุด 15 ปี

Loading

  รัสเซีย ผ่านกฎหมายต้าน ข่าวปลอม ด้อยค่า กองทัพ โทษจำคุกสูงสุด 15 ปี สั่งระงับสื่อแล้วหลายสำนัก อ้างเผยแพร่ข้อมูลเท็จปม ยูเครน   วันที่ 4 มี.ค.65 สภาผู้แทนราษฎรของรัสเซีย หรือ สภาดูมา ผ่านร่างกฎหมายต่อต้านการแพร่ข่าวปลอมหรือข้อมูลที่เป็นเท็จเกี่ยวกับกองทัพ หากฝ่าฝืนจะมีทั้งโทษปรับและโทษจำคุกสูงสุด 15 ปี โดยหลายฝ่ายมองว่าเป็นการตอบโต้ของรัสซีย ในสงครามข้อมูลข่าวสาร จากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน   “กฎหมายจะมีผลบังคับตั้งวันพรุ่งนี้ โดนจะมีการบังคับใช้อย่างเข้มงวดต่อผู้ที่โกหกและเผยแพร่ข้อมูลด้อยค่ากองทัพรัสเซีย” นายยาเชสลาฟ โวโลดิน ประธานสภาดูมา กล่าว   ทางการรัสเซียระบุว่า ปัจจุบันมีการเผยแพร่ข่าวปลอมจากศัตรูของรัสเซียอย่างสหรัฐฯ และประเทศยุโรปตะวันตก ที่พยายามสร้างความแตกแยกในหมู่ชาวรัสเซีย   ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน กล่าวว่า ปฏิบัติการพิเศษทางทหารในยูเครนนั้น มีเพื่อรับประกันความปลอดภัยของรัสเซีย หลังสหรัฐฯ พยายามขยายอิทธิพลขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต (NATO) เข้ามาประชิดชายแดนรัสเซีย   โดยที่ผ่านมา ทางการรัสเซีย ไม่ใช้คำว่า “การรุกราน”…

เงินดิจิตัล และกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง

Loading

  เงินดิจิตัล (Digital currency) ตามพจนานุกรม Investopedia ให้ความหมายไว้คือ เงินตราที่มีอยู่ในรูปของดิจิตัลหรือในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น ส่วน เงินคริปโท (cryptocurrency ) พจนานุกรม Investopediaได้ให้ความหมายไว้ หมายถึงเงินตราที่เป็นดิจิตัลหรือเงินตราเสมือนที่เกิดจากการเข้ารหัส โดยเทคโนโลยี Cryptography ตามความหมายดังกล่าวข้างต้น Digital currency และ cryptocurrency เป็นสิ่งเดียวกัน   เงินดิจิตัลหรือ เงินคริปโทเป็นเงินที่ถูกกฎหมายหรือไม่ ตามเอกสารรายงานของห้องสมุดกฎหมายสภาครองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกา ที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 ระบุประเทศที่ห้ามใช้เงินคริปโทมี 9ประเทศ คืออียิปต์ อีรัค กาต้าร์ โอมาน มอรอคโค อัลจีเรีย บังคลาเทศ และจีน   ส่วนอีก 42 ประเทศไม่ได้สั่งห้ามโดยตรง แต่ห้ามทางอ้อมโดยการออกกฎระเบียบที่เข้มงวดกับธนาคารในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับเงินตราคริปโท หรือห้ามแลกเปลี่ยนเงินตรากับเงินคริปโท   ทั้งนี้เหตุผลที่รัฐบาลบางประเทศห้ามใช้เงินคริปโท เพราะการใช้เงินตราคริปโท มีช่องทางที่ใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย และอาจทำลายเสถียรภาพของระบบการเงินของประเทศ แต่ขณะเดียวกันก็มีรัฐบาลหลายประเทศกำลังมองแนวทางในการวางกฎระเบียบและการกำกับดูแลเงินตราคริปโท   เงินตราคริปโทสกุลต่างๆ : เงินตราคริปโทมีมากมายหลายสกุลที่แพร่หลาย…