“บอลลูนสอดแนม” จีนในอเมริกา ทำ รมว. ตปท. สหรัฐฯ เลื่อนเยือนปักกิ่ง

Loading

  แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า การที่จีนเลือกส่งสิ่งที่ดูเหมือนบอลลูนเพื่อการสอดแนมเหนือน่านฟ้าอเมริกา เป็นเรื่องที่ “ยอมรับไม่ได้และไร้ความรับผิดชอบ”   นักการทูตชั้นนำของสหรัฐฯ ผู้นี้ยกเลิกการเดินทางไปปักกิ่งอย่างกะทันหัน จากแผนเดิมที่ต้องการให้เป็นการประชุมระดับสูงระหว่างสหรัฐฯ-จีนครั้งแรกในรอบหลายปี   ก่อนหน้านี้ จีนแสดงความเสียใจ โดยกล่าวว่าเป็นเรือเหาะตรวจสภาพอากาศที่ถูกพัดหลงเข้าไปในน่านฟ้าของอเมริกา   เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีน   นายบลิงเคนกล่าวในแถลงการณ์เมื่อ 4 ก.พ. ว่าบอลลูนของจีน “ละเมิดอำนาจอธิปไตยของเรา”   “นี่เป็นการกระทำที่ยอมรับไม่ได้และไร้ความรับผิดชอบ” เขากล่าว   “การเข้ามาของบอลลูน 1 วัน ก่อนการออกเดินทางเยือนที่วางแผนไว้นานเป็นเรื่องที่ไร้ความรับผิดชอบยิ่ง”   เดิมนายบลิงเคนมีกำหนดเยือนปักกิ่งระหว่างวันที่ 5-6 ก.พ. เพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ มากมาย รวมถึงประเด็นความมั่นคง ไต้หวัน และโควิด-19   แต่เมื่อ 2 ก.พ. เจ้าหน้าที่กลาโหมของสหรัฐฯ ประกาศว่าพวกเขากำลังติดตามบอลลูนตรวจการณ์ในระดับความสูงเหนือน่านฟ้าสหรัฐฯ   วัตถุปริศนาทำหลายเที่ยวบินในรัฐมอนแทนาหยุดบิน | REUTERS   หลังการเปิดเผยของสหรัฐฯ…

กลาโหมสหรัฐฯ แถลงเปิดสัญญาร่วม 4 ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีสร้างระบบคลาวด์ใหม่

Loading

  กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา (DOD) เผยในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับการสร้างความร่วมมือกับ Google, Oracle, Microsoft และ Amazon ในการสร้างโครงข่ายคลาวด์ใหม่ของกระทรวงฯ   ระบบคลาวด์ใหม่นี้มีชื่อว่า Joint Warfighting Cloud Capability (JWCC) อยู่ภายใต้สัญญาจัดซื้อจัดจ้างมูลค่า 9,000 ล้านเหรียญ (ราว 312,000 ล้านบาท) มีกำหนดจะเสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนมิถุนายน 2028 ซึ่งคาดว่าจะช่วยขยายขีดความสามารถด้านคลาวด์ให้แก่ทุกหน่วยงานภายใต้ DOD   พลอากาศตรี โรเบิร์ต สกินเนอร์ (Robert Skinner) ชี้ว่าขีดความสามารถใหม่ ๆ ของเทคโนโลยีคลาวด์ในปัจจุบันจะช่วยให้คนที่ไม่เข้าใจคลาวด์ก็สามารถใช้งานคลาวด์ได้ โดยยังบอกอีกว่าระบบ JWCC จะช่วยให้ทหารที่อยู่ในสมรภูมิสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เก็บรวบรวมโดยอากาศยานไร้คนขับหรือดาวเทียมสื่อสารบนอวกาศได้อย่างง่ายดาย รวมถึงจะทำให้การส่งข้อมูลข่าวกรองทั่วโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้นด้วย   นี่ยังถือเป็นครั้งแรกที่เจ้าหน้าที่กลาโหมของสหรัฐฯ สามารถเข้าถึงระบบคลาวด์เอกชนในการทำงาน ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ที่ประจำอยู่ทั่วโลกไม่มีระบบคลาวด์ที่มีข้อมูลในทุกระดับชั้นความลับให้ใช้   ทั้งนี้ สัญญาจัดซื้อจัดจ้าง JWCC จะไม่ได้แบ่งเท่า ๆ กัน ระหว่าง 4 บริษัท โดยเริ่มแรกจะให้เงินบริษัทละ…

กระทรวงกลาโหมสหรัฐ เตรียมยกเครื่องไซเบอร์ ปล่อยแผน Zero Trust กันถูกแฮ็ก

Loading

  กลาโหมสหรัฐฯ เตรียมยกเครื่องระบบไซเบอร์ ใช้แนวคิด Zero Trust ให้ระบบตรวจสอบทุกอย่าง แม้จะเป็นคนที่ไว้วางใจ   กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (Department of Defense) เตรียมยุทธศาสตร์และแผนงาน (Roadmap) ใหม่ โดยใช้แนวคิด Zero Trust เพื่อป้องกันการโจรกรรมข้อมูล และการโจมตีทางไซเบอร์ ของเหล่าแฮ็กเกอร์จากทั่วโลก   แนวคิด Zero Trust คือ แนวคิดของระบบที่ไม่เชื่อถือใครเลย เช่น นายพล A เข้าระบบผ่านคอมพิวเตอร์เครื่องนี้เพื่อทำงาน ในการใช้งานก็ต้องมีการยืนยันว่า เป็น นายพล A จริงไหม ? ทั้ง ๆ ที่เครื่องก็ตั้งอยู่ในห้องนายพล หรือแม้กระทั่งการจะทำอะไรก็ต้องมีการตรวจสอบยืนยันตัวตน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อาทิ การใส่รหัส OTP เพิ่มเติมจาก Password ปกติ   แนวคิด Zero Trust เป็นส่วนหนึ่งที่เชื่อว่าหลายฝ่ายจะช่วยลดการโจรกรรมข้อมูลและโจมตีทางไซเบอร์ของเหล่าแฮ็กเกอร์ได้  …

กลาโหมสหรัฐฯ วางแผนอิมพลีเมนต์ Zero Trust ทั้งองค์กรภายในปี 2027

Loading

  กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ประกาศแผนอิมพลีเมนต์ระบบความปลอดภัยแบบ Zero Trust ทั้งระบบ โดยวางแผนว่าจะสามารถอิมพลีเมนต์ได้สำเร็จทั้งองค์กรภายในปี 2027   การวางระบบความปลอดภัยแบบ Zero Trust จำกัดการเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ ในองค์กร โดยตรวจสอบความปลอดภัยทุกอย่าง กระบวนการเข้าถึงแต่ละครั้งต้องตรวจสอบทั้งยืนยันตัวตนผู้ใช้, รูปแบบการเข้าถึงว่าผิดปกติหรือไม่, อุปกรณ์ที่ใช้มีความปลอดภัย โดยการอนุญาตให้เข้าถึงทรัพยากรต่างๆ เป็นรูปแบบที่จำกัดการอนุญาตเท่าที่จำเป็นเท่านั้น   แผนการนี้ยอมรับว่ามีระบบเก่า (legacy) จำนวนมาก ที่ไม่สามารถปรับให้เข้ากับรูปแบบ zero trust ได้เต็มรูปแบบ แต่ก็ต้องออกแบบการควบคุมป้องกับภัยไซเบอร์ให้เพียงพอ หรือไม่ก็ปรับปรุงระบบเหล่านี้ให้เข้ากับแนวทางสมัยใหม่     ที่มา – U.S. Department of Defence   —————————————————————————————————————————————————————————————- ที่มา :                         …

เพนตากอนยอมรับเป็นทางการ ทิ้งอาวุธยุทโธปกรณ์ให้ “ตอลิบาน” ดูต่างหน้าร่วม “7 พันล้านดอลลาร์” รวมรถฮัมวี 12,000 คัน อากาศยาน 78 ลำ หลังถอนออกจ้าละหวั่นปีที่แล้ว

Loading

  เอเจนซีส์ – รายงานกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ยื่นต่อสภาคองเกรสสหรัฐฯ เปิดเผยเป็นครั้งแรกในเดือนมีนาคมว่า หลังสหรัฐฯ ถอนกำลังออกจากอัฟกานิสถานในปีที่ผ่านมา เพนตากอนทิ้งอาวุธยุทโธปกรณ์รวมเครื่องมือสื่อสารประจำฐานทัพมูลค่ารวม 7 พันล้านดอลลาร์ ให้รัฐบาลตอลิบาน รวมถึงอาวุธ 300,000 ชิ้น ยานยนต์ทางการทหาร 40,000 คัน อากาศยาน 78 ลำ ทิ้งไว้ในสนามบินฮามิดคาไซก่อนวันสุดท้าย และเฮลิคอปเตอร์ Mi-17 จำนวน 5 ลำ ที่สหรัฐฯ มอบให้ยูเครน   CNN สื่อสหรัฐฯ รายงานเมื่อวานนี้ (27 เม.ย.) ว่า ในรายงานกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ที่ออกมาตามคำสั่งของสภาคองเกรสสหรัฐฯ ที่ต้องการทราบถึงยุทโธปกรณ์ทั้งหมดที่สหรัฐฯ ทิ้งไว้ในอัฟกานิสถานหลังจากที่กองกำลังสหรัฐฯ ถอนออกมาทั้งหมดภายในวันที่ 30 ส.ค.ปีที่แล้ว เพนตากอนกล่าวว่าเป็นมูลค่าทั้งหมดรวม 7 พันล้านดอลลาร์ตลอดช่วงระยะเวลา 16 ปี ที่สหรัฐฯ ส่งต่อยุทโธปกรณ์เหล่านี้ให้อัฟกานิสถาน และผู้ที่เข้ามารับช่วงต่อเป็นรัฐบาลตอลิบานที่ถือเป็นไม้เบื่อไม้เมากับสหรัฐฯ   รายงานฉบับนี้เกิดขึ้นเพื่อที่ต้องการสอบสวนไปถึงเบื้องหลังการอพยพกำลังกลับอเมริกาอย่างฉุกละหุกของรัฐบาลประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน…