อังกฤษจำกัดการใช้กล้องซีซีทีวีผลิตโดยจีน “ด้วยเหตุผลความมั่นคง”

Loading

GETTY IMAGES   รัฐบาลสหราชอาณาจักรขอให้หน่วยงานของรัฐไม่ติดตั้งกล้องวีดีโอวงจรปิด ที่ผลิตโดยบริษัทของจีน เพราะความวิตกกังวลในเรื่องความมั่นคง   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 25 พ.ย. ว่านายโอฃิเวอร์ โดวเดน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร ยื่นหนังสือต่อสภาสามัญ ขอความร่วมมือให้หน่วยงานทุกแห่งของฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ ไม่ติดตั้งกล้องวีดีโอวงจรปิดที่ผลิตโดยบริษัทของจีน “ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง”   ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของรัฐบาลสหราชอาณาจักรเกิดขึ้น หลังตลอดช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา สมาชิกสภาสามัญหลายสิบคนร่วมกันเรียกร้อง ให้มีการบัญญัติกฎหมาย หรืออย่างน้อยกำหนดมาตรการควบคุมการจำหน่ายและการใช้งาน กล้องวีดีโอวงจรปิด ซึ่งผลิตโดยบริษัทเจ้อเจียง ต้าหัว เทคโนโลยี ( ต้าหัว ) และบริษัทฮิควิชั่น   UK restricts Chinese cameras in government buildings over security fears https://t.co/HdeOXHRgNk pic.twitter.com/N0bVv6RDsP — Reuters (@Reuters) November 25, 2022   ขณะที่บริษัทฮิควิชั่นออกแถลงการณ์ปฏิเสธ “ความวิตกกังวล”…

องค์กรคุ้มครองสิทธิ์สหรัฐฯ เรียกร้องให้ศาลสูงสุดพิจารณาว่ารัฐควรมีติดใช้กล้องส่องประชาชนโดยไร้หมายได้หรือไม่

Loading

  องค์กรคุ้มครองสิทธิ์สหรัฐฯ หรือ American Civil Liberties Union (ACLU) ขอให้ศาลสูงสุดของสหรัฐฯ พิจารณาว่าควรอนุญาตให้กล้องวงจรปิดที่ตำรวจติดตั้งไว้บนเสาไฟฟ้าโดยไม่มีหมายศาลนั้นสามารถส่องดูประชาชนถึงในบ้านได้หรือไม่   ในคำขอของ ACLU มีเนื้อหาขอให้ศาลสูงพิจารณาผลการตัดสินของศาลระดับรองที่ไม่มีข้อยุติเกี่ยวกับสถานะทางกฎหมายของการติดตั้งกล้องวงจรปิดดังกล่าว   ก่อนหน้านี้ มีกรณีที่เจ้าหน้าที่จากสำนักงานแอลกอฮอล์ ยาสูบ อาวุธปืน และวัตถุระเบิด (ATF) ที่ใช้ภาพจากกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งในบริเวณบ้านของ แดฟนี มัวร์ (Daphne Moore) เพื่อใช้เป็นหลักฐานในคดีที่ฟ้อง นีอา มัวร์-บุช (Nia Moore-Bush) บุตรสาวของแดฟนี กับสามีในข้อหาขายอาวุธปืนที่ไม่มีใบอนุญาต รวมถึงการขายยาผิดกฎหมายด้วย   อย่างไรก็ดี มัวร์-บุช ร่วมกับจำเลยอีก 4 คน ได้ยื่นขอให้มีการตัดพยานหลักฐานที่ได้จากกล้องวงจรปิดออกไปเนื่องจากเป็นการติดตั้งโดยไม่มีหมายศาล ซึ่งศาลชั้นต้นไม่มีคำตัดสินชี้ขาด แต่ศาลอุทธรณ์ชี้ว่าการรวบรวมพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นไปโดยสุจริต นำไปสู่การที่จำเลยยอมรับสารภาพในที่สุด   ด้วยเหตุนี้ ACLU จึงร้องขอให้ศาลสูงสุดของสหรัฐฯ มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับการนำบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ 4 (Fourth Amendment) ที่ว่าด้วยสิทธิของพลเมืองในการรู้สึกปลอดภัยในเคหะสถานของตนเอง มาปรับใช้ในยุคปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม  …

‘กล้องวงจรปิด’ ยิ่งเยอะ ยิ่งดีต่อประชาชน ยิ่งเพิ่มความปลอดภัยให้ประเทศ

Loading

  ชวนดูการติดตั้ง ‘กล้องวงจรปิด’ (Surveillance) ในจีน ประเทศที่มีกล้องมากที่สุดในโลก และการใช้ประโยชน์ระบบกล้องวงจรปิดในด้านต่าง ๆ   ไม่นานมานี้ สวี่กานลู่ รองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงสาธารณะของจีน ให้ข้อมูลผ่านการแถลงข่าวว่า จีนได้รับการยอมรับในวงกว้าง ว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความปลอดภัยมากที่สุดในโลก เนื่องจากมีอัตราการฆาตกรรมและจำนวนคดีความเกี่ยวกับปืนและวัตถุระเบิดต่ำที่สุด ทั้งยังมีจำนวนคดีอาญาและอุบัติเหตุด้านความปลอดภัยลดลงอย่างมีนัยสำคัญตลอด 10 ปีที่ผ่านมา     เพราะสังคมไม่ปลอดภัย กล้องวงจรปิด จึงเป็นของที่ต้องมี? ศูนย์สื่อมวลชนสำหรับการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 20 จัดการแถลงข่าวในกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของจีน วันที่ 19 ต.ค. 2022 | ที่มา : Xinhua   หากดูเฉพาะประเทศจีน หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้จีนได้ชื่อว่า ปลอดภัยที่สุดในโลก เป็นผลมาจากรัฐบาลสั่งติดตั้ง กล้องวงจรปิด ทั่วประเทศ ร่วมกับการใช้มาตรการปราบปรามอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในหัวเมืองใหญ่   หลังผ่านการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 20 สวี่เผยตัวเลขแก่สื่อมวลชนว่า จำนวนการกระทำผิดทางอาญาขั้นร้ายแรง อาทิ คดีฆาตกรรมและการข่มขืน ในปี…

เมียนมา ติดกล้องวงจรปิดตรวจจับใบหน้า สอดส่อง ปชช.ทั่วประเทศ

Loading

  สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม อ้างแหล่งข่าวใกล้ชิด 3 ราย ระบุว่า รัฐบาลเมียนมา กำลังเดินหน้าโครงการติดตั้งกล้องวงจรปิดที่สามารถตรวจจับใบหน้าคนได้ในหลายเมืองทั่วประเทศ   แหล่งข่าวใกล้ชิดการยื่นประมูลเพื่อจัดซื้อและติดตั้งกล้องวงจรปิดรักษาความปลอดภัยที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าของรัฐบาลเมียนมาระบุว่า โครงการดังกล่าวอยู่ภายใต้โครงการเมืองปลอดภัยที่มีเป้าหมายเพื่อรักษาความปลอดภัย และในบางกรณีก็ใช้ในการคงไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง   รายงานระบุว่า โครงการดังกล่าวเป็นการติดตั้งกล้องเพิ่มเติมจากโครงการของรัฐบาลชุดเดิมที่มีการติดตั้งและวางแผนติดตั้งใน 5 เมืองไปแล้วก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ยังเปิดเผยด้วยว่ารัฐบาลทหารเมียนมาวางแผนที่จะติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดดังกล่าวใน 7 รัฐ และ 7 เขตปกครองทั่วประเทศ   รายงานระบุว่า บริษัทผู้ชนะการประมูลมีอยู่หลายบริษัทที่เป็นบริษัทท้องถิ่น ในจำนวนนั้นเป็นบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีจาก “เจ้อเจียง ต้าหัว เทคโนโลยี” และ “หัวเว่ย เทคโนโลยี่” บริษัทด้านรักษาความปลอดภัยยักษ์ใหญ่ของจีน   ทั้งนี้ เทคโนโลยีกล้องวงจรปิดที่มีระบบตรวจจับใบหน้านั้น แม้จะเริ่มมีใช้ในหลายประเทศ แต่โครงการในเมียนมานั้นก็ส่งผลให้เกิดความกังวลเช่นกันว่าเทคโนโลยีจะถูกนำไปใช้ในการกวาดล้างนักเคลื่อนไหวและกลุ่มต่อต้านที่ฝั่งรัฐบาลทหารกล่าวหาว่าเป็นกลุ่มก่อการร้าย หลังเกิดการประท้วงต่อต้านรัฐประหารเป็นต้นมา       ————————————————————————————————————————- ที่มา :     มติชนออนไลน์           …

“ไอเออีเอ” ตำหนิอิหร่าน ถอดกล้องวงจรปิดออกจากโรงงานนิวเคลียร์

Loading

  ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศเตือนอิหร่าน ว่าการถอดกล้องวงจรปิด “มากกว่าครึ่ง” ออกจากโรงงานนิวเคลียร์ อาจส่งผลกระทบต่อการเจรจาฟื้นฟูข้อตกลง   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. ว่านายราฟาเอล กรอสซี ผู้อำนวยการทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) แถลงเมื่อวันพฤหัสบดี ว่าได้รับแจ้งเมื่อไม่นานมานี้ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของอิหร่าน เกี่ยวกับการถอดกล้องวิดีโอวงจรปิดรวม 27 ตัว ออกจากโรงงานนิวเคลียร์หลายแห่งในประเทศ   IAEA Chief @RafaelMGrossi to brief journalists about developments related to the IAEA’s monitoring and verification work in #Iran.?Media arrangements: https://t.co/bQsRP4z0gH? Today, 13:15pm Vienna timehttps://t.co/NqbTBE1CPo — IAEA – International Atomic Energy Agency…

“PDPA” 1 มิ.ย.65 กรณีติด “กล้องวงจรปิด” “กล้องหน้ารถ” ใช้แบบไหนผิดกฎหมาย?

Loading

  เริ่มแล้ว! “PDPA” หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 บังคับใช้วันนี้วันแรก (1 มิ.ย.65) แต่ยังมีหลายกรณีที่ประชาชนสับสน หนึ่งในนั้นคือกรณี “กล้องวงจรปิด” และ “กล้องหน้ารถ” หากถ่ายติดภาพผู้อื่นโดยไม่ยินยอม จะผิด “กฎหมาย PDPA” หรือไม่? แม้ว่าก่อนหน้านี้ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม จะออกมาชี้แจงแล้วว่า เจตนาของการบังคับใช้ “กฎหมาย PDPA” มุ่งคุ้มครองข้อมูล-สิทธิ์ ประชาชน ไม่ใช่การนำมาจับผิด หากมีการถ่ายรูป-โพสต์รูป แล้วติดใบหน้าผู้อื่นมา หากไม่เกิดความเสียหายต่อเจ้าตัว ก็สามารถทำได้ แต่ทั้งนี้ยังมีอีกหนึ่งประเด็นที่ประชาชนยังมีข้อสงสัย นั่นคือ กรณีติด “กล้องวงจรปิด” และ “กล้องหน้ารถ” หากมีการถ่ายติดผู้อื่นมาโดยเจ้าตัวไม่ยินยอม จะผิดกฎหมาย PDPA หรือไม่? กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนไปหาคำตอบเรื่องนี้พร้อมกัน PDPA คืออะไร เป็นข้อมูลแบบไหน? PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act ซึ่งหมายถึง พ.ร.บ.…