กสทช.-ตร.บุกจับแหล่งส่ง Wi-Fi ชายแดนแม่สายเอื้อแก๊งคอลเซ็นเตอร์

Loading

    เชียงราย – ตรวจเมื่อไหร่เจอเมื่อนั้น?!..กสทช.พร้อมตำรวจลุยตรวจพื้นที่ต้องสงสัยปล่อยเน็ตจากชายแดนแม่สายเอื้อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ฝั่งเพื่อนบ้าน เจอติดตั้งอุปกรณ์ Wi-Fi ส่งสัญญาณไกลถึง 20 กิโลฯ     วันนี้ (8 มี.ค. 66) เจ้าหน้าที่ กสทช.สำนักงานภาค 3 และสำนักงานเขต 34 ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบัญชาการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และ สภ.แม่สาย จ.เชียงราย ได้เข้าตรวจค้นพื้นที่เป้าหมายชายแดนไทย-เมียนมา ด้าน อ.แม่สาย ติดกับ จ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา   โดยเจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจค้นสถานที่ต้องสงสัยจำนวน 5 จุด ซึ่งอยู่ติดกับลำน้ำสายภายในตลาดชายแดนทั้งฝั่ง ต.เวียงพางคำ และ ต.แม่สาย อ.แม่สาย เนื่องจากสงสัยว่าจะมีผู้ลักลอบส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไปยังฝั่งประเทศเพื่อนบ้านและเกี่ยวข้องกับขบวนการอาชญากรรม   ผลการตรวจค้นที่ร้านค้าภายในชุมชนสายลมจอยและชุมชนไม้ลุงขน พบร้านที่ลักลอบติดตั้งอุปกรณ์ส่งอินเทอร์เน็ตไร้สายหรือ Wi-Fi จำนวน 3 แห่ง และตรวจสอบความแรงการส่งสัญญาณแต่ละรายสามารถส่งออกไปได้ไกลถึงประมาณ 20 กิโลเมตร ซึ่งเกินกว่าที่ทาง กสทช.กำหนดเอาไว้    …

สกมช.ผนึกหัวเว่ยระดมสมองร่วมหาแนวทางการป้องกันภัยไซเบอร์

Loading

    เวิร์กช้อป “ผู้นำองค์กร-สมาคมระดับประเทศ” ร่วมหาแนวทางการป้องกันหลังแฮ็กเกอร์ระบาดหนัก ด้าน กสทช.เล็งวางแนวปฏิบัติโอเปอร์เรเตอร์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ขณะที่ “หัวเว่ย” เดินหน้าพัฒนา 5G สร้างระบบล็อครหัสเข้าแบบ 2 ชั้น ป้องกันการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล   สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช. จัดเสวนากลุ่มย่อย ภายใต้หัวข้อ “การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ด้านการเงินธนาคาร ให้โครงข่ายสัญญาณโทรคมนาคมทั่วไทย กับความสำคัญต่อภาคประชาชนและธุรกิจ” ในงานนิทรรศการสัปดาห์วิชาการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ปี 2566 (Thailand National Cyber Week 2023) โดยมี พล.อ.ต. อมร ชมเชย เลขาธิการ สกมช. น.ส.กนกอร ฉวาง ผู้อำนวยการส่วนการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นายสุรชัย ฉัตรเฉลิมพันธุ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด และนายกิตติพงษ์ ธีระเรืองไชยศรี Cyber Expert/Information Security…

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดเสวนา “เราจะ Stop Fake, Spread Facts เพื่อเราและสังคม?”

Loading

  สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดการเสวนา “เราจะ Stop Fake, และ Spread Facts เพื่อเราและสังคม?” เพื่อสร้างพลังแห่งการตื่นรู้ด้านดิจิทัล เอาชนะข้อมูลบิดเบือน ระบุเนื้อหาประเภทสุขภาพและการเมือง ถูกบิดเบือนมากที่สุด   เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2566 ที่โรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน กรุงเทพฯ สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ร่วมกับ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ได้จัดโครงการ หยุดข้อมูลลวง…Stop Fake, Spread Facts “ร่วมปลุกสังคม รู้เท่าทันข้อมูลลวง” โดยภายในงานได้จัดเสวนาหัวข้อ “เราจะ Stop Fake, และ Spread Facts เพื่อเราและสังคม?”   โดยมี พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.),คุณมงคล…

คลื่นดาวเทียมย่านความถี่ x-band ถูก กสทช. นำไปประมูลและกระทบความมั่นคงของชาติ ?

Loading

    กสทช. ได้นำสิทธิวงโคจรดาวเทียมและคลื่นความถี่ดาวเทียมนำมาประมูลอีกรอบ หลังจากที่ต้องล้มเลิกการประมูลไปคราวก่อน และที่น่าเสียใจคือดาวเทียมที่ทำรายได้เป็นแสนล้านบาทกลับนำรายได้เข้ารัฐเพียงหลักไม่กี่ร้อยล้านบาท โดยที่การเปิดให้มีการแข่งขันไม่ได้ทำให้เปิดกว้างเต็มที่ โดยกำหนดให้ว่าต้องมีประสบการณ์ในการประกอบกิจการดาวเทียม ซึ่งผู้ประกอบการรายใหญ่แม้จะไม่ใหม่ก็ไม่มีเพราะดาวเทียมเป็นธุรกิจผูกขาดของประเทศแต่เพียงรายเดียว จึงไม่เกิดการแข่งขันอย่างที่ควรจะเป็น   สิ่งที่คนทั่วไปอาจจะไม่ทราบคือ มีย่านความถี่ของดาวเทียมที่ปกติเป็นย่านความถี่ทางการทหารและความมั่นคงถูกนำออกมาให้เอกชนประมูลไปด้วย   ทั้งนี้คลื่นความถี่ย่าน X band (8.0 – 12.0 GHz) เป็นย่านความถี่สูงที่ถูกรบกวนด้วยความแปรปรวนในบรรยากาศโลกได้น้อย จึงเหมาะสำหรับการสำรวจระยะไกลหรือการรับส่งข้อมูลจากดาวเทียมสู่ดาวเทียมหรือดาวเทียมสู่ภาคพื้นดิน อีกทั้งสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ International Telecommunication Union: ITU อันเป็นองค์การนานาชาติด้านดาวเทียมและการโทรคมนาคมไม่ได้จำกัดการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน X band ในงานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ หากแต่แนะนำว่าเป็นย่านความถี่ที่เหมาะต่อการปฏิบัติการทางทหาร ดังนั้นภาครัฐของประเทศต่างๆ ในสากลโลก จึงนิยมให้กระทรวงกลาโหมเป็นผู้กำหนดแนวทางการใช้งานคลื่นความถี่ในย่านนี้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะใช้งานเพื่อกิจการด้านความมั่นคงและงานสาธารณะประโยชน์ของประเทศ   เนื่องจากชุดข่ายงานดาวเทียมที่ 3 ที่กสทช. นำออกมาประมูลในครั้งนี้ ประกอบด้วยข่ายงานดาวเทียม 4 ชุด ได้แก่ THAICOM-IP1, THAICOM-P3, THAISAT-119.5E และ THAISAT-120E มีคลื่นความถี่ในย่าน X band ด้วยแบนด์วิดท์…

บล็อก SMS หลอกลวง แบนคอลเซ็นเตอร์ อีกบทบาทภารกิจร่วมสำนักงาน กสทช.

Loading

  SMS หลอกให้กู้เงิน หลอกให้โอนเงินในบัญชี หลอกว่าได้รับรางวัลและกรอกข้อมูลส่วนบุคคล หรือแม้แต่ปัญหาจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่มีการโทรมาหลอกลวงว่าเป็นหน่วยงานรัฐ เช่น ตำรวจ ศาล และข่มขู่ว่ากระทำความผิด หลอกให้ลงทุนหรือโอนเงิน หรือปลอมเป็นหน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทส่งของ เพื่อหลอกว่ามีพัสดุมาส่งต้องชำระเงิน หลอกว่าเป็นธนาคาร เพื่อหลอกว่ามียอดค้างชำระบัตรเครดิตต้องโอนมาชำระด่วน   นี่คือส่วนหนึ่งของมิจฉาชีพที่อาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และความสะดวกสบายในการสื่อสารหรือเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ผ่านสมาร์ทโฟน นอกจากหน่วยงานที่มีหน้าที่ปราบปรามจับกุมอย่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ที่ดำเนินการด้านกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมของผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ให้บริการก็เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นกัน     คุณจิตสถา ศรีประเสริฐสุข ผู้ช่วยเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า ปัญหาเรื่อง SMS หลอกลวง หรือ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ เป็นรูปแบบปัญหาที่หลายหน่วยงานจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อหามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาภายใต้บทบาทและกฎหมายของแต่ละหน่วยงาน ไม่ใช่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งจะแก้ไขปัญหาได้เองเพียงลำพัง ซึ่งบทบาทหลักของสำนักงาน กสทช. คือการสนับสนุนการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่และผู้ให้บริการ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้โครงข่ายโทรคมนาคมของมิจฉาชีพเพื่อการจับกุม การปิดกั้นการใช้บริการโทรคมนาคมของมิจฉาชีพ เช่น…

“กสทช.”เตือนอย่าหลงเชื่อกรอกข้อมูลแอบอ้างช่วยขยายเวลาทดลองออกอากาศวิทยุ

Loading

    สำนักงาน กสทช. เผยไม่เคยให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการลงทะเบียนขยายเวลาทดลองออกอากาศวิทยุชุมชน และไม่เคยขอให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ลงทะเบียน ตามที่มีการแชร์ข้อมูลในกลุ่มไลน์ต่าง ๆ   พลอากาศโท ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ  กรรมการ กสทช. เปิดเผยว่า ตามที่ปรากฏข้อมูลหรือข่าวสารเกี่ยวกับการลงทะเบียน ขอขยายเวลาการทดลองออกอากาศวิทยุกระจายเสียง ในระบบเอฟเอ็ม โดยมีการอ้างอิงประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ ว่าด้วยการทดลองออกอากาศวิทยุกระจายเสียง ในระบบเอฟเอ็ม และกำหนดให้มีการกรอกข้อมูลส่วนบุคคล ของผู้ลงทะเบียน รวมทั้งมีการนำเสนอข้อมูลที่มีการพาดพิงถึงสำนักงาน กสทช. ในกลุ่มไลน์  นั้น  ขอชี้แจ้งว่า การดำเนินการดังกล่าวไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ กสทช. และสำนักงาน กสทช. แต่อย่างใด   ทั้งนี้การทดลองออกอากาศวิทยุกระจายเสียง ระบบเอฟเอ็มนั้น กสทช. ยังคงมีนโยบายที่จะเร่งรัดปรับปรุงหลักเกณฑ์ ที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อรองรับให้มีการออกใบอนุญาตประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงแก่ผู้ที่ประสงค์ จะดำเนินกิจการวิทยุกระจายเสียงต่อไป ให้มีความต่อเนื่องกับการยุติการทดลองออกอากาศวิทยุกระจายเสียง ระบบเอฟเอ็ม ในวันที่ 31 ธ.ค. 67   “กสทช. ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาการทดลองออกอากาศวิทยุกระจายเสียง ระบบเอฟเอ็ม เพื่อให้ผู้ทดลอง…