แนวโน้มสงครามยูเครนในปี 2023 | สุรชาติ บำรุงสุข

Loading

  สงครามยูเครนเดินทางมาถึง 1 ปีอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะหากดูอำนาจกำลังรบแล้ว กองทัพยูเครนไม่อยู่ในสถานะที่จะรับมือกับการโจมตีขนาดใหญ่ของกองทัพรัสเซียได้เลย   ดังจะเห็นได้จากตัวเลขก่อนสงครามว่า กองทัพบกยูเครนมีกำลังเพียง 145,000 นาย ในขณะที่กองทัพบกรัสเซียมีกำลังมากถึง 280,000 นาย หรือยูเครนมีรถถังหลักเพียง 854 คัน ส่วนรัสเซียมีมากถึง 2,750 คัน กองทัพบกรัสเซียใหญ่เป็น 2 เท่า และมีรถถังมากกว่าประมาณ 3 เท่าของกองทัพบกยูเครน   ปีแรกของสงคราม   หากคิดในมุมของการเปรียบกำลังรบแล้ว จึงแทบมองไม่เห็นหนทางที่ยูเครนจะอยู่รอดได้ถึง 1 ปีเลย เว้นแต่กองทัพรัสเซียมีปัญหาในตัวเอง และไม่มีความพร้อมรบในการทำสงครามขนาดใหญ่ ซึ่งภาวะเช่นนี้ ส่งผลให้กองทัพรัสเซียต้องใช้อำนาจทางทหารกระทำต่อเป้าหมายพลเรือนมากขึ้น เพื่อให้สังคมยูเครนอ่อนล้าจนรบต่อไปไม่ได้ แต่สภาพดังกล่าวก็ไม่ได้เกิดขึ้นจริง รัฐบาลและกองทัพยูเครนยังคงดำรงความสามารถทางทหารที่ยังทำการรบต่อไปได้ แม้สังคมยูเครนในปีแรกจะบอบช้ำอย่างหนักจากสงครามของรัสเซีย   อย่างไรก็ตาม ถ้าแผนการสงครามเดินไปตามความคาดหวังของประธานาธิบดีปูตินแล้ว การบุกคีฟเพื่อยึดเมืองหลวงของยูเครนน่าจะสำเร็จได้ในระยะเวลาไม่กี่วันหลังจากการเปิดสงคราม แต่เมื่อ “ปฏิบัติการพิเศษทางทหาร” (special military operations) ไม่ประสบความสำเร็จได้จริงแล้ว สงครามจึงพลิกไปในอีกแบบหนึ่ง     หากย้อนกลับไปเมื่อสงครามเริ่มต้นในวันที่…

‘อีลอน มัสก์’ จำกัดการใช้เน็ต Starlink โดยกองทัพยูเครน หวั่นกลายเป็นเครื่องมือก่อ ‘สงครามโลกครั้งที่ 3’

Loading

    อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีคนดังเจ้าของเทสลา (Tesla) สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ยืนยันผ่านทวิตเตอร์ว่าเขาได้จำกัดการใช้โครงข่ายอินเทอร์เน็ตดาวเทียม “สตาร์ลิงค์” โดยกองทัพยูเครน เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบสื่อสารนี้ถูกใช้กระพือความขัดแย้งจนอาจนำไปสู่ “สงครามโลกครั้งที่ 3”   คำพูดซึ่งสื่อถึงความกังวลของ มัสก์ มีขึ้น หลังจาก สก็อตต์ เคลลี (Scott Kelly) อดีตนักบินอวกาศขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NASA) ได้เข้าไปทวีตโต้เถียงกับเขาในประเด็นที่สเปซเอ็กซ์เกรงว่าสตาร์ลิงค์จะถูกกองทัพยูเครนใช้เป็น “อาวุธ”   “การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากคุณคือสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับยูเครน” เคลลี ทวีตถึง มัสก์   “โปรดทำให้โครงข่ายดาวเทียมสตาร์ลิงค์ใช้งานได้อย่างเต็มรูปแบบ การป้องกันตนเองจากการรุกรานเพื่อฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocidal invasion) ไม่ถือเป็นศักยภาพในการโจมตี แต่เป็นการทำเพื่อความอยู่รอด ชีวิตคนบริสุทธิ์มากมายกำลังสูญเสียไป คุณสามารถช่วยได้” เคลลี กล่าว พร้อมลงท้ายด้วยคำว่า “ขอบคุณ”   อย่างไรก็ดี ซีอีโอสเปซเอ็กซ์ได้ตอบกลับไปว่า เคลลี “คงฉลาดพอที่จะไม่หลงเชื่อทุกอย่างที่ปรากฏในข่าวและสื่อโฆษณาชวนเชื่อทั้งหลาย”   มัสก์ ย้ำว่า ทุกวันนี้บริการของสตาร์ลิงค์ยังคงเป็น “ช่องทางหลัก”…

วิเคราะห์: อาวุธใหม่ ‘จรวดติดจีพีเอส’ จะเปลี่ยนทิศทางสงครามยูเครนอย่างไร?

Loading

    สหรัฐฯ เตรียมจัดส่งความช่วยเหลือทางทหารรอบใหม่ให้แก่ยูเครน ด้วยจรวดที่สามารถโจมตีในระยะไกลลึกเข้าไปในเขตแนวหน้าของรัสเซีย ซึ่งทำให้รัสเซียอาจต้องเร่งปรับยุทธศาสตร์ใหม่เพื่อรับมืออาวุธชนิดใหม่นี้   อาวุธดังกล่าวเรียกว่าระเบิดนำวิถีขนาดเล็กที่ยิงจากภาคพื้นดิน (Ground Launched Small Diameter Bomb) หรือ GLSDB ซึ่งมีระยะยิงได้ไกล 150 กิโลเมตร ไกลกว่าระบบยิงจรวด High Mobility Artillery Rocket System (HIMARS) ของสหรัฐฯ ที่ยูเครนใช้อยู่ในขณะนี้ราวสองเท่า ซึ่งหมายความว่าจะสามารถโจมตีได้ถึงเส้นทางขนส่งเสบียงของกองทัพรัสเซียในภาคตะวันออกของยูเครน รวมทั้งบางส่วนของแคว้นไครเมีย     ยูเครนเชื่อว่า อาวุธใหม่นี้จะกดดันให้รัสเซียต้องถอยเส้นทางขนส่งเสบียงไปไกลจากแนวหน้ามากกว่าเดิม ซึ่งจะทำให้กองทัพรัสเซียอ่อนแอลงและยังเพิ่มความยากลำบากให้แก่รัสเซียในการโจมตีรอบใหม่ด้วย   แอนเดรีย ซาโกรอดเนียค อดีตรัฐมนตรีกลาโหมยูเครน เชื่อว่า “ระบบยิงจรวดแบบใหม่อาจทำให้การรุกคืบของรัสเซียช้าลงมาก และจะส่งผลกระทบต่อทิศทางของสงครามครั้งนี้ยิ่งกว่าที่ระบบ HIMARS เคยส่งผลมาแล้ว”   GLSDB คือระเบิดนำวิถีแบบร่อนที่ใช้จีพีเอสนำทาง สามารถสั่งการโจมตีเป้าหมายที่ยากต่อการเข้าถึง เช่น ศูนย์บัญชาการรบ ผลิตโดยบริษัทซาบ เอบี (SAAB AB) และ โบอิ้ง…