นายกฯ เร่งหาเที่ยวบินอพยพคนไทยในอิสราเอล ตั้งเป้าวันละ 200-400 คน

Loading

วันนี้ (15 ต.ค.2566) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมศูนย์สถานการณ์ฉุกเฉินต่อสถานการณ์ความไม่สงบในอิสราเอล หรือศูนย์ Rapid Response Center : RRC ที่กระทรวงการต่างประเทศในวันนี้ เพื่อติดตามสถานการณ์เหตุการณ์ความรุนแรงในตะวันออกกลาง ประเทศอิสราเอล ที่กำลังเข้าสู่วันที่ 9 ของภาวะสงคราม

สังคมโลก : การทูตเรือดำน้ำ

Loading

แนวคิดที่เรียกว่า “การทูตเครื่องบินทิ้งระเบิด” ซึ่งสหรัฐใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ บี-52 กับ บี-1 ร่วมกับเครื่องบินขับไล่ พร้อมกับส่งข้อความเชิงกลยุทธ์เกี่ยวกับการป้องปราม ไปยังจีนและเกาหลีเหนือ หรือรัสเซีย ยังคงเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับพันธมิตรของสหรัฐ   แม้การป้องปราม หรือการสร้างความมั่นใจ จะทำได้โดยใช้เครื่องบินทิ้งระเบิด แต่ดูเหมือนตอนนี้ เรือดำน้ำนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นเรือดำน้ำติดตั้งขีปนาวุธนำวิถีพลังงานนิวเคลียร์ (เอสเอสบีเอ็น) กำลังเข้าสู่ภารกิจเดียวกัน หรืออาจเรียกได้ว่าเป็น “การทูตเรือดำน้ำ”   เมื่อเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา สหรัฐกับเกาหลีใต้ร่วมลงนามในเอกสารฉบับใหม่ที่เรียกว่า “ปฏิญญาวอชิงตัน” ซึ่งสหรัฐให้คำมั่นที่จะยกระดับการมองเห็นทรัพย์สินทางยุทธศาสตร์ในคาบสมุทรเกาหลีให้มากขึ้น ตลอดจนขยายและกระชับความร่วมมือระหว่างกองทัพของทั้งสองประเทศให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น   นอกเหนือจากการตัดสินใจก่อตั้งหน่วยงานใหม่ระหว่างสองประเทศตามปฏิญญาวอชิงตัน ซึ่งเรียกว่า “กลไกความร่วมมือที่ปรึกษานิวเคลียร์” (เอ็นซีจี) แนวคิดของการส่งเอสเอสบีเอ็นไปเทียบท่าในเกาหลีใต้ ถูกมองว่าเป็นมาตรการสร้างความมั่นใจใหม่ที่รัฐบาลโซลได้รับจากสหรัฐ โดยแลกกับการที่เกาหลีใต้ต้องยึดมั่นและปฏิบัติตามสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (เอ็นพีที)   อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ไม่ใช่แนวคิดใหม่เสียทีเดียว เนื่องจากมันเคยปรากฏในรายงาน การทบทวนสถานการณ์นิวเคลียร์ (เอ็นพีอาร์) เมื่อเดือน ต.ค. 2565 ว่าสหรัฐจะทำงานร่วมกับพันธมิตรและหุ้นส่วน เพื่อหาโอกาสในการเพิ่มการมองเห็นของทรัพย์สินทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและความตั้งใจอันแน่วแน่ของสหรัฐ ไม่ว่าจะเป็น การเทียบท่าของเรือดำน้ำติดตั้งขีปนาวุธนำวิถี…

การทูตของประชาชน

Loading

  ขณะนี้ เรื่องราวที่คนไทยที่ติดตามข่าวสารบ้านเมืองสนใจเป็นพิเศษ คือ การเดินทางไปเยือนสหรัฐของนายกรัฐมนตรีตามคำเชิญเพื่อร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน – สหรัฐ สมัยพิเศษ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคม 2565 ที่กรุงวอชิงตัน โดยมีวัตถุประสงค์ที่เปิดเผยคือ ฉลอง 45 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐ สองฝ่ายจะร่วมกันกำหนด “ ทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างกันท่ามกลางความท้าทายต่าง ๆ “ เพื่อฟื้นฟูการเติบโตอย่างยั่งยืนของภูมิภาคหลังโควิด 19   ก่อนหน้านี้ สหรัฐเคยเชิญผู้นำอาเซียนไปประชุมมาแล้ว แต่ต้องเลื่อนไปเพราะผู้นำกัมพูชาซึ่งเป็นประธานอาเซียนแจ้งไปว่า หลายคนติดธุระ ไม่ว่างที่จะมาพบตามวันเวลาที่กำหนด แต่ผู้นำสหรัฐก็เชิญมาอีกที ทำนองยืนยันว่าต้องมาพบกันให้ได้เป็นการแสดงพลัง ( แม้ว่าการประชุมผ่านวิดีโอสามารถทำได้และสะดวกกว่า )   ผู้นำที่ไปไม่ได้คงมีฟิลิปปินส์เพราะเพิ่งมีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ที่คนใหม่ต้องเข้าพิธีสาบานตนก่อนจึงจะทำงานได้ อีกประเทศหนึ่งที่ไม่ไปก็คือพม่า ส่วนที่เหลือจะไปโดยเต็มใจหรือไม่เต็มใจก็ต้องไป เพื่อรักษาผลประโยชน์ที่มีกับสหรัฐ   เป็นที่รู้กันว่า ผู้นำสหรัฐต้องการใช้ “อาเซียน” เป็นตัวแสดงพลังหนุนท่าทีสหรัฐในประเด็นเฉพาะหน้าคือ สงครามรัสเซีย-ยูเครน ตามที่เขาเคยประกาศว่า ประเทศประชาธิปไตยต้องช่วยกันประณามรัสเซีย ใครไม่ประณามรัสเซียก็เท่ากับไม่ใช่ประเทศประชาธิปไตย ส่วนระยะยาว เป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นการร่วมด้วยช่วยกันในการสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของจีนในภูมิภาคนี้…

การทูตกับความท้าทายในปี 2565

Loading

โดย…ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์ ****************** ไม่ว่าจะมีเหตุการณ์ใด เกิดขึ้นที่ใดในโลก ย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศไทยไม่โดยทางตรงก็ทางอ้อม ไม่มากก็น้อย ดังนั้น รัฐบาลต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา เพราะอาจส่งผลกระทบทางบวกหรือลบต่อผลประโยชน์ของชาติ เวลานี้ จุดร้อนแห่งหนึ่งของโลกอยู่ที่สงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งอยู่ในยุโรปตะวันออก ห่างไกลจากไทยหลายพันไมล์ แต่โลกเวลานี้เป็นโลกาภิวัฒน์ไปแล้ว และไทยก็เข้าสู่กระแสโลกาภิวัฒน์ ดังนั้น จึงต้องเตรียมพร้อมรับมือตลอดเวลา เมื่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประชุมและมีมติประณามรัสเซีย ไทยก็ต้องตัดสินใจว่าจะเห็นด้วยกับมตินั้น หรือคัดค้าน หรืองดออกเสียง โดยคำนึงถึงประโยชน์ระยะสั้นและระยะยาวของประเทศเป็นสำคัญ แน่นอน การตัดสินใจย่อมไม่ถูกใจคนไทยทุกคน เพราะบางคนเชียร์รัสเซีย ไม่ต้องการให้ประณามรัสเซีย บางคนเห็นใจยูเครน ต้องการให้ประณามรัสเซีย บางคนก็บอกว่า เรื่องนี้ไกลเมืองไทย และไม่เกี่ยวกับไทยโดยตรง ดังนั้น ไทยควรงดออกเสียง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งดีที่สุด มีเสียงวิจารณ์ต่อมาว่า ทำไมเราไปประณามรัสเซีย ทำไมไม่งดออกเสียง เพราะรัสเซียเป็นมิตรประเทศของไทย ฯลฯ ซึ่งทางการไทยได้ชี้แจงแล้วว่า ให้ไปดูมติของไทยชนิดคำต่อคำ ไม่มีประโยคใดเลยที่เราประณามรัสเซีย เพียงแต่ไทยได้แสดงจุดยืนในหลักการที่ประเทศหนึ่งไม่ควรรุกรานอีกประเทศหนึ่งเท่านั้น เวลานี้ สหรัฐฯ ได้กลับฟื้นอิทธิพลของตนในเอเชียเพื่อต่อต้านการขยายอิทธิพลของจีนในภูมิภาค หลังจากทิ้งเอเชียไปนานเพราะมัววุ่นอยู่กับการจัดการกลุ่มก่อการร้าย อัล ไกดา และไอสิส ในตะวันออกกลาง พอหันกลับมาอีกที จีนเติบใหญ่อย่างแข็งแรงทั้งด้านเศรษฐกิจและการทหาร ชนิดหายใจรดต้นคออเมริกัน…