ทำไม “สหรัฐ-อียู” ลงนามบังคับใช้มาตรการปกป้องโอนข้อมูล Privacy Shield 2.0

Loading

  ทำเนียบขาวประกาศว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐได้ลงนามในคำสั่งพิเศษของประธานาธิบดี เพื่อบังคับใช้กรอบการทำงานรูปแบบใหม่ “Privacy Shield 2.0” โดยมีเป้าหมายที่จะปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลที่แบ่งปันร่วมกันระหว่างสหรัฐ และสหภาพยุโรป   สำนักข่าวซีเอ็นบีซี รายงานว่า กรอบการทำงานใหม่นี้ช่วยเติมเต็มช่องว่างที่สำคัญด้านการปกป้องข้อมูลทั่วภูมิภาคแอตแลนติก นับตั้งแต่ที่ศาลยุติธรรมยุโรปยกเลิกกรอบการทำงานเดิมในปี 2563 หลังศาลพบว่า สหรัฐมีความสามารถในการสอดส่องข้อมูลของยุโรปที่ถ่ายโอนผ่านระบบก่อนหน้านี้มากเกินไป   นายเจมส์ ซัลลิแวน ซึ่งดำรงตำแหน่งรองผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ ณ เวลานั้น ได้ระบุในจดหมายเปิดผนึกสั้น ๆ ภายหลังการตัดสินใจไว้ว่า คดี “Schrems II” ได้สร้างความไม่มั่นคงใหญ่หลวงต่อความสามารถของบริษัทต่าง ๆ ในการถ่ายโอนข้อมูล ส่วนบุคคลจากสหภาพยุโรป (EU) ไปยังสหรัฐ ซึ่งผลลัพธ์ของคดีดังกล่าวได้ทำให้บริษัทในสหรัฐต้องใช้ “กลไกการถ่ายโอนข้อมูลที่ได้รับการอนุมัติจากสหภาพยุโรป” ที่แตกต่างกันในแต่ละกรณี ทำให้การทำธุรกิจเกิดความซับซ้อนมากขึ้น   กรอบการทำงาน Privacy Shield 2.0 จะให้แนวทางใหม่เพื่อผ่อนคลายความกังวลของยุโรปที่มีต่อความเป็นไปได้ในการสอดส่องข้อมูลจากหน่วยงานข่าวกรองของสหรัฐ กรอบการทำงานใหม่นี้จะช่วยให้บุคคลในสหภาพยุโรปสามารถยื่นขอการชดใช้ผ่านทางศาลตรวจสอบการคุ้มครองข้อมูลอิสระ (DPRC) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกนอกรัฐบาลสหรัฐ และหน่วยงานดังกล่าว “จะมีอำนาจเต็มที่” ในการตัดสินข้อเรียกร้อง และออกมาตรการแก้ไขตามความจำเป็น  …

Right to be forgotten คำขอร้องเพื่อถูกลืม/Cool Tech จิตต์สุภา ฉิน

Loading

Delete Remove Trash Can Application Graphic Right to be forgotten คำขอร้องเพื่อถูกลืม   เมื่อชีวิตของเราผูกพันกับอินเตอร์เน็ตไปในทุกแง่มุม ทั้งเรื่องงานไปจนถึงเรื่องส่วนตัวจึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเลยหากข้อมูลส่วนตัวบางอย่างของเราอาจจะถูกเผยแพร่ออกไปบนโลกอินเตอร์เน็ตโดยที่เราไม่รู้ตัว   ซ้ำร้ายไปกว่านั้นหากข้อมูลส่วนตัวที่ว่าไปปรากฏอยู่ในผลลัพธ์การค้นหาของ Google ด้วย ก็จะยิ่งเป็นการเพิ่มโอกาสที่ข้อมูลของเราจะถูกหยิบฉวยไปใช้ให้กลับมาเป็นโทษต่อตัวเราเองได้   Right to be forgotten หรือสิทธิที่จะถูกลืมเป็นแนวคิดที่มีการพูดถึงและใช้จริงมานานหลายปีแล้ว   สิทธินี้หมายถึงการที่เจ้าของข้อมูลสามารถดำเนินเรื่องร้องขอให้มีการปลดข้อมูลส่วนตัวของตัวเองลงจากผลลัพธ์การค้นหาบนอินเตอร์เน็ตได้   ลองนึกดูว่าหากช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตเราเคยตัดสินใจผิดพลาด อาจจะด้วยความเยาว์ในช่วงเวลานั้นหรือการถูกกลั่นแกล้งใส่ร้ายให้เสียหายและมีหลักฐานปรากฏหราอยู่บนอินเตอร์เน็ต ทุกครั้งที่มีคนเสิร์ชชื่อเราซึ่งอาจจะเป็นนายจ้างขององค์กรที่เราไปยื่นใบสมัครงานไว้ หรือแม้กระทั่งคนที่เรากำลังจะไปออกเดตด้วย ผลลัพธ์การค้นหาที่แสดงให้เห็นถึงเรื่องราวชีวิตที่น่าอายของเราก็จะปรากฏขึ้นมาให้คนเหล่านั้นได้เห็นก่อนที่พวกเขาจะได้สัมผัสถึงตัวตนที่แท้จริงของเราเสียด้วยซ้ำ   สิทธิที่จะถูกลืมคือการหยิบยื่นโอกาสในการลบอดีตอันน่าอายและไม่เป็นธรรมของเราทิ้งไปและทำให้เราใช้ชีวิตต่อไปได้โดยไม่ต้องคอยหวาดระแวงอยู่เสมอ   การปลดข้อมูลที่เราต้องการลืมทิ้งไปไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถยื่นเรื่องเพื่อบังคับให้เว็บไซต์ต้นตอลบข้อมูลของเราทิ้งได้ แต่เป็นการขอให้เสิร์ชเอนจิ้นซึ่งรายใหญ่ที่สุดก็คือ Google ช่วยปลดลิงค์เหล่านั้นออกไม่ให้ปรากฏอยู่ในผลลัพธ์การค้นหาอีกต่อไป   ดังนั้น แม้เว็บไซต์ต้นทางจะยังอยู่ แต่เวลาใครค้นหาชื่อเรา ลิงค์นั้นก็จะไม่ปรากฏขึ้นมาให้คลิกเข้าไปดูได้อีกต่อไป   กรณีที่มีการหยิบยกสิทธิในการถูกลืมมาพูดถึงบ่อยๆ ก็อย่างเช่น สิ่งที่เรียกว่า revenge porn หรือการที่แฟนเก่านำภาพลับในตอนที่ยังคบกันออกมาเผยแพร่สู่สาธารณชนโดยไม่ได้รับการยินยอม สร้างความอับอายและเสื่อมเสียชื่อเสียงให้กับคนๆ นั้น สิทธิที่จะถูกลืมจึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยเหยื่อกลุ่มนี้ได้…