วิธีการและมาตรฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565

Loading

  ในอดีตที่ผ่านมา กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีของประเทศไทยซึ่งมีอยู่มากมายหลายฉบับ ได้มีการกำหนดให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบหรือคณะกรรมการตามกฎหมายดังกล่าว กำหนดมาตรฐานทางเทคนิคในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้หน่วยงานอื่นของรัฐนำไปปฏิบัติอย่างมีมาตรฐานและมีความมั่นคงปลอดภัย อย่างไรก็ดี มาตรฐานเหล่านั้นโดยส่วนใหญ่ค่อนข้างมีความซับซ้อนในทางเทคนิคสูง ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ปฏิบัติรวมถึงประชาชนทั่วไปประสบความยากลำบากในการทำความเข้าใจและไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างสอดคล้องครบถ้วน   ด้วยเหตุผลดังกล่าว พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ซึ่งตราขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบริการประชาชนด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม นั้น นอกจากวัตถุประสงค์หลักในการรับรองผลทางกฎหมายของการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้งการรับรองผลทางกฎหมายของเอกสารหรือหลักฐานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้ถือว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและใช้เป็นหลักฐานได้ตามกฎหมาย แล้ว กฎหมายดังกล่าวยังได้วางรากฐานและกรอบแนวทางเกี่ยวกับวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์และมาตรฐานทางเทคนิคของการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ไว้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ความประหยัดคุ้มค่า และเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐ   โดยมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ ได้บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีกำหนดวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งรวมถึงมาตรฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่หน่วยงานของรัฐจะต้องใช้และปฏิบัติให้สอดคล้องกัน เชื่อมโยงถึงกันได้ มีความมั่นคงปลอดภัย และประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก และมาตรา 19 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของสี่หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ในการจัดทำและเสนอวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามีมติให้หน่วยงานของรัฐใช้และถือปฏิบัติ โดยจะจัดแบ่งวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นระยะเริ่มต้นและระยะต่อ ๆ ไปก็ได้ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวต้องคำนึงถึงการเชื่อมโยงถึงกันโดยสามารถใช้อุปกรณ์และข้อมูลที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย   ปัจจุบัน คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม…

ชี้หน่วยงานรัฐเสี่ยงโดนโจมตีไซเบอร์เพิ่มขึ้นหลังก.ม.บังคับให้บริการปชช.ผ่านออนไลน์

Loading

  สกมช. เผยแนวโน้มภัยคุกคามทางไซเบอร์ในประเทศไทย มีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังไทยจะบังคับใช้ปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ในเดือน ม.ค. 66   พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (สกมช.) เปิดเผยว่า แนวโน้มภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค และในประเทศไทย มีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการที่ประเทศไทยมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานเพิ่มสูงขึ้น ทั้งในหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานเอกชน และหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ   ล่าสุดได้มีกฎหมายสำคัญ คือ พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565  ที่จะบังคับใช้ในเดือน ม.ค. 66 ซึ่งมุ่งผลักดันให้หน่วยงานของรัฐจะต้องให้บริการประชาชนด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เพิ่มสูงขึ้น จนอาจส่งผลกระทบต่อการให้บริการต่อประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะหลายหน่วยงานรัฐยังขาดแคลนบุคลากรที่ทำงานดูแลด้านไอทีจำนวนมาก   พลอากาศตรี อมร กล่าวต่อว่า สกมช. มุ่งมั่นที่จะลดความเสี่ยงดังกล่าว เพื่อยกระดับประเทศเพื่อให้มีความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยได้มีการประกาศนโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2565-2570 ซึ่งจะเป็นกรอบแนวทางการดำเนินการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ ที่มุ่งเน้นทั้งการเสริมสร้างศักยภาพ การป้องกัน การรับมือ ลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ และการตอบสนองต่อเหตุภัยคุกคาม พร้อมฟื้นฟูระบบให้กลับคืนสู่สภาวะปกติอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้น ทำให้หน่วยงานต่าง ๆ เกิดความตระหนักรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ความเสี่ยงด้านไซเบอร์ของประเทศ และเกิดความปลอดภัยต่อประชาชนมากยิ่งขึ้น.     ——————————————————————————————————————————————————————————- ที่มา :                                เดลินิวส์ออนไลน์         …

ถาม-ตอบ : พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์

Loading

  ผู้เขียนจะเล่าถึงพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๖๕ ที่เพิ่งประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อกลางเดือนตุลาคม 2565 โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้การทำงานและการให้บริการของภาครัฐ สามารถใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก     ปัญหาและที่มา ปัญหาก่อนหน้านี้ คือ กฎหมายที่มีอยู่หลายฉบับกำหนดให้การปฏิบัติราชการหรือการติดต่อกับประชาชนต้องใช้สำเนาหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือจำกัดวิธีหรือรูปแบบในการติดต่อราชการเฉพาะการติดต่อด้วยตัวบุคคล ณ สถานที่ทำการ หรือนำส่งเอกสารต่าง ๆ ทางไปรษณีย์   อันเป็นผลให้หน่วยงานของรัฐไม่สามารถนำวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างเต็มรูปแบบ (ซึ่งที่ผ่านมาบางหน่วยงานที่ไม่มีข้อติดขัดทางกฎหมาย และข้อจำกัดทางงบประมาณได้มีการนำวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการแล้วบ้าง)   ดังนั้น ที่มาของ พ.ร.บ. ปฏิบัติราชการอิเล็กทรอนิกส์ คือ การตรากฎหมายกลางเพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดทางกฎหมายที่เป็นอุปสรรคของแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้การดำเนินการทางอิเล็กทรอนิกส์มีผลสมบูรณ์ในทางกฎหมาย   ใช้กับทุกหน่วยราชการหรือไม่? คำตอบ คือ “ไม่” โดย พ.ร.บ. ปฏิบัติราชการอิเล็กทรอนิกส์จะใช้กับหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงาน ยกเว้น   (๑) รัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด (๒) หน่วยงานของรัฐในฝ่ายนิติบัญญัติ (๓) หน่วยงานของรัฐในฝ่ายตุลาการ (๔) องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ (๕) องค์กรอัยการ และ (๖) หน่วยงานอื่นของรัฐที่กำหนดในกฎกระทรวง  …

รู้จัก “พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์” เพื่อก้าวสู่ “รัฐบาลดิจิทัล”

Loading

  “พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์” แท้จริงแล้วคืออะไร และจะสามารถช่วยนำพาราชการไทยสู่ “รัฐบาลดิจิทัล” ได้จริงหรือไม่ ติดตามอ่านได้จากบทความนี้ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ ร่างกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ในการพัฒนาประเทศด้วยการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินและการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดินและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ที่ได้ผ่านการเห็นชอบจากทางรัฐสภา คาดว่าจะเริ่มใช้ปี 2566 พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ มีแล้วดีอย่างไร? ข้อดีของการมี “พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์” มีดังนี้  – ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน  – ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน  – อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน  – ช่วยลดต้นทุนกระดาษและวัสดุสิ้นเปลือง  – ประหยัดพื้นที่จัดเก็บเอกสาร และยังเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการข้อมูลอีกด้วย ไม่ใช่เพียงภาครัฐหรือหน่วยงานราชการเท่านั้นที่สามารถใช้ได้ ทุกองค์กรก็สามารถใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพได้เช่นกัน ตัวช่วยเปลี่ยนองค์กรให้เป็น “Intelligent Office” ระบบสำนักงานอัจฉริยะ คือซอฟต์แวร์อัจฉริยะที่จะเข้ามาช่วยบริหารระบบงานภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับ “พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์” และ “ข้อกำหนด PDPA” ซึ่งภายในซอฟต์แวร์ตัวนี้จะช่วยจัดการงานเอกสาร และงานประชุมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้  – ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document System)…