เกาหลีใต้รวบ 45 ผู้ประท้วง บุกพังศาลกรุงโซล ประท้วงการจับกุม ปธน.ยุนซอกยอล

Loading

ศาลแขวงโซลตะวันตกได้อนุมัติการขยายระยะเวลาการควบคุมตัวประธานาธิบดียุน โดยอ้างถึงความเสี่ยงของการทำลายหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาการก่อกบฏและการใช้อำนาจในทางมิชอบ เมื่อเขาประกาศกฎอัยการศึกเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม กลุ่มผู้สนับสนุนนายยุนส่วนหนึ่ง จากกลุ่มผู้สนับสนุนนายยุนประมาณ 44,000 คน ได้บุกไปที่อาคารที่ทำการของศาล แต่ตำรวจปราบจลาจลไม่สามารถต้านทานเอาไว้ได้เนื่องจากมีจำนวนน้อยกว่า

“สี จิ้นผิง” ถึงสหรัฐแล้ว ม็อบต้าน-ม็อบหนุน คับคั่งรับการเยือนรอบ 6 ปี

Loading

ผู้นำจีนเดินทางถึงซานฟรานซิสโกแล้ว ในการเยือนสหรัฐรอบ 6 ปีเพื่อร่วมประชุมเอเปค พร้อมเจรจาสุดยอดทวิภาคีกับประธานาธิบดีโจ ไบเดน วันนี้ ท่ามกลางการชุมนุมของผู้สนับสนุน – ผู้คัดค้าน อย่างเนืองแน่น เป็นที่คาดว่า ผู้นำสหรัฐและจีนจะหารือกันในหลากหลายประเด็น

หนุ่มฮ่องกงโดนคุก ฐานใส่เพลงประท้วงแทนเพลงชาติจีน ในคลิปนักกีฬาโอลิมปิก

Loading

  สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า นายเฉิง หวิงชุน ช่างภาพชาวฮ่องกง วัย 27 ปี ถูกศาลตัดสินจำคุก 3 เดือน ในวันนี้ (20 ก.ค.) โทษฐานดูหมิ่นเพลงชาติจีน ด้วยการใส่เพลงประท้วงลงในคลิปวิดีโอนักกีฬาฮ่องกงที่กำลังได้รับเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาโตเกียวโอลิมปิก นางมินนี หวัต ผู้พิพากษาศาลกล่าวว่า การลงโทษเพื่อให้เป็นเยี่ยงอย่างเป็นเรื่องจำเป็น เนื่องจากเพลงชาติเป็นสัญลักษณ์แห่งศักดิ์ศรีและบูรณภาพแห่งดินแดนของชาติ เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ศาลแขวงตะวันออกฮ่องกงตัดสินว่า นายเฉิงมีความผิดจริงโทษฐานดูหมิ่นเพลงชาติ ซึ่งนายเฉิงให้การปฏิเสธว่าไม่มีความผิดตามข้อกล่าวหา ศาลพบว่านายเฉิงใส่เพลง กลอรี่ ทู ฮ่องกง (Glory to Hong Kong) ซึ่งเป็นเพลงประท้วงยอดนิยม แทนที่เพลงชาติจีน ในคลิปวิดีโอพิธีมอบเหรียญทองให้กับนายเอ็ดการ์ เฉียง นักกีฬาฟันดาบชาวฮ่องกง และได้อัปโหลดคลิปวิดีโอดังกล่าวลงบนยูทูบ ซึ่งคลิปได้ถูกแชร์ไปอย่างกว้างขวาง และมียอดวิว 90,000 ครั้ง ทั้งนี้ นายเฉิงนับเป็นบุคคลแรกที่ถูกดำเนินคดีภายใต้กฎหมายเพลงชาติที่บังคับใช้เมื่อปี 2563 ซึ่งกฎหมายระบุว่า การไม่เคารพเพลงชาติจีนถือว่าเป็นความผิดทางอาญา และมีโทษจำคุกสูงสุด 3 ปี หรือปรับสูงสุด 50,000 ดอลลาร์ฮ่องกง (6,400…

ประท้วงในแคนาดาจากเหตุผู้นำชาวซิกข์ถูกสังหาร

Loading

    โทรอนโต 9 ก.ค.- สมาชิกชุมชนชาวซิกข์ในแคนาดาชุมนุมหน้าสถานกงสุลอินเดียในนครโทรอนโต เมื่อวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ่น ประท้วงเหตุสังหารผู้นำชาวซิกข์เมื่อเดือนก่อนที่คดีไม่คืบหน้า   ชุมชนชาวซิกข์กล่าวหารัฐบาลอินเดียว่าอยู่เบื้องหลังเหตุยิงสังหารนายฮาร์ดีป ซิงห์ นิจจาร์ ประธานวัดซิกข์แห่งหนึ่งในแคนาดาที่รณรงค์เรียกร้องให้ตั้งรัฐอิสระของชาวซิกข์ขึ้นทางตอนเหนือของอินเดีย เขาถูกทางการอินเดียประกาศให้เป็นผู้ก่อการร้ายที่เป็นที่ต้องการตัว และถูกกล่าวหาว่าก่อการร้ายหลายครั้งในอินเดีย นายนิจจาร์ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ในย่านชานเมืองแวนคูเวอร์ ที่เป็น 1 ในชุมชนชาวซิกข์ใหญ่ที่สุดในแคนาดา     โฆษกของกลุ่มชาวซิกข์เพื่อความยุติธรรม ซึ่งเป็นองค์กรในสหรัฐที่จัดการชุมนุมหน้าสถานกงสุลอินเดีย กล่าวว่า เมื่อหน่วยงานและระบบของอินเดียก่ออาชญกรรม ก็จะต้องถูกลงโทษ ด้านทนายความชาวซิกข์ที่เข้าร่วมการชุมนุมกล่าวว่า ตำรวจแคนาดาควรสอบสวนการฆาตกรรมนี้ในฐานะเหตุลอบสังหารทางการเมือง เพราะเป็นการลอบสังหารพลเมืองแคนาดาบนดินแดนของแคนาดา ถือเป็นการแทรกแซงจากต่างชาติ ผู้ชุมนุมประมาณร้อยคนเศษเป็นผู้ชายเกือบทั้งหมด โบกธงสีเหลืองที่มีโลโก้สีฟ้าของขบวนการเรียกร้องแยกตัวเป็นรัฐอิสระชาวซิกข์ที่ใช้ชื่อว่า รัฐคาลิสถาน (Khalistan) ขณะเดียวกัน มีกลุ่มคนประมาณ 50 คน มาชุมนุมหน้าสถานกงสุลเช่นกัน เพื่อแสดงความสนับสนุนรัฐบาลอินเดีย ตำรวจแคนาดา 20 นาย ต้องตั้งแถวเพื่อแยกทั้ง 2 กลุ่มออกจากกัน   เหตุสังหารนายนิจจาร์ ทำให้ความสัมพันธ์อินเดีย-แคนาดาตึงเครียดขึ้น อินเดียกล่าวหาแคนาดาว่า หละหลวมในการจัดการกับผู้ประท้วงชาวซิกข์ โฆษกกระทรวงต่างประเทศอินเดียเรียกร้องเมื่อวันพฤหัสบดีว่า…

เซเนกัลตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ต หลังเกิดจลาจลเดือด อ้างผู้ประท้วง ‘ปลุกปั่น-โค่นล้มรัฐบาล’

Loading

    สำนักข่าวรอยเตอร์รายงาน อ้างอิงแถลงการณ์ของเซเนกัลเมื่อวันที่ 4 มิถุนายนว่า รัฐบาลเซเนกัลได้ตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตในบางพื้นที่ของประเทศ เนื่องจากเกิดเหตุการณ์จลาจลที่ร้ายแรงซึ่งผู้ประท้วงได้โพสต์ข้อความเกลียดชังและปลุกปั่นให้โค่นล้มรัฐบาลทางสื่อออนไลน์   ก่อนหน้านี้ ประเทศในทวีปแอฟริการายนี้เผชิญหน้ากับการประท้วงที่รุนแรงระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุนฝ่ายค้านและเจ้าหน้าที่ตำรวจมาเป็นเวลา 3 วัน ที่ทำให้เกิดผู้เสียชีวิตแล้ว 16 ราย นับเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ความไม่สงบที่ร้ายแรงที่สุดของเซเนกัลในรอบหลายทศวรรษ   โดยแถลงการณ์ของเซเนกัลระบุว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลเซเนกัลได้จำกัดการเข้าถึงแพลตฟอร์มการส่งข้อความออนไลน์บางราย แต่ผู้คนจำนวนมากก็สามารถใช้บริการที่ถูกปิดกั้นเหล่านั้นได้ผ่าน VPN หรือเครือข่ายส่วนตัวเสมือนที่ช่วยเปลี่ยนหรือปกปิดตำแหน่งของผู้ใช้ ขณะที่รัฐบาลได้ต่ออายุการจำกัดการเข้าถึงดังกล่าวเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน เพื่อรวบรวมศูนย์ข้อมูลทั้งหมดจากอุปกรณ์สมาร์ทโฟนในบางพื้นที่และช่วงเวลา   อย่างไรก็ดี ไม่ได้มีการให้รายละเอียดว่าพื้นที่ใดหรือเวลาไหนที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกั้นของรัฐบาล ขณะที่ผู้อยู่อาศัยทั่วกรุงดาการ์ เมืองหลวงของเซเนกัลกล่าวว่า พวกเขาไม่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้หากไม่มีการเชื่อมต่อ Wi-Fi เมื่อบ่ายวันอาทิตย์ (4 มิ.ย.) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การประท้วงมักก่อตัวขึ้น     “เนื่องจากการแพร่กระจายของข้อความที่สร้างความเกลียดชังและปลุกปั่นการโค่นล้มรัฐบาล จึงได้มีการระงับอินเทอร์เน็ตบนมือถือชั่วคราวในบางช่วงเวลา” แถลงการณ์ระบุ   ด้านกลุ่มสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า การเคลื่อนไหวนี้ละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน นอกจากนี้ยังอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่เปราะบางของประเทศ   ทั้งนี้ ปัจจัยเร่งที่ก่อให้เกิดความไม่สงบคือคำตัดสินจำคุกนายอุสมาน ซอนโก ผู้นำฝ่ายค้านที่มีชื่อเสียงของเซเนกัลเป็นเวลา 2 ปี…

ปากีสถาน : ปิดกั้นอินเทอร์เน็ตได้ แต่หยุดการประท้วงไม่ได้

Loading

  ทางการปากีสถานจำกัดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ท่ามกลางความรุนแรงของการประท้วงที่ลุกลามไปทั่วประเทศ หลังมีการจับกุมตัวนายอิมราน ข่าน อดีตนายกฯ ของปากีสถาน   การต่อสู้ระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุนนายอิมราน ข่าน และกองทัพอันทรงอำนาจของปากีสถาน ยังคงครองพื้นที่สมรภูมิรบ 2 ช่องทาง ได้แก่บนถนน และในโลกโซเชียลมีเดีย แต่การปิดกั้นอินเทอร์เน็ตดูจะไม่เป็นผล เพราะยิ่งสร้างกระแสไม่พอใจของผู้ที่ประสบความเดือดร้อนเป็นวงกว้างขึ้นทุกที   สถานการณ์ความตึงเครียดทางการเมืองของปากีสถานปะทุขึ้นอย่างรุนแรง หลังจากที่นายอิมราน ข่าน อดีตนายกรัฐมนตรีถูกจับกุมเมื่อวันอังคารที่ 9 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยในเมืองละฮอร์กลุ่มผู้สนับสนุนนายข่านต่างเคลื่อนไหว และยิ่งทำให้การประท้วงไปในทิศทางที่รุนแรงขึ้น   ภาพของผู้ประท้วงที่ขว้างปาก้อนหิน เพื่อต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ที่ใช้แก๊สน้ำตา มีการเผยแพร่ไปในโลกโซเชียลมีเดีย ขณะที่คลิปขณะที่นายอิมราน ข่านถูกควบคุมตัวโดยทหารก็กลายเป็นคลิปไวรัล   เพื่อหวังควบคุมสถานการณ์ดังกล่าว รัฐบาลจึงตัดสินใจปิดกั้นอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าเฟซบุ๊ก ยูทูบ หรือทวิตเตอร์ แม้แต่คลื่นโทรศัพท์ก็ถูกบล็อกในบางพื้นที่อย่างไม่มีกำหนด เพื่อหวังลดกระแสความร้อนแรงลง แต่ผลกลับออกมาในทิศทางตรงข้าม เมื่อเกิดการประท้วงเป็นวงกว้างทั่วประเทศ ประชาชนบางส่วนเข้าระบบ VPNs โดยมีการใช้งานพุ่งสูงขึ้นถึง 1,300 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใครที่ยังสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ก็ใช้การสื่อสารผ่าน วอตส์แอป     “ข่าวจริง”…