ยกระดับจิตสำนึกพนักงาน สร้างวัฒนธรรมองค์กรตระหนักภัยไซเบอร์

Loading

  ในโลกดิจิทัลที่ภัยคุกคามทางไซเบอร์ทวีความรุนแรงและซับซ้อนยิ่งขึ้น ข้อมูลจาก การ์ทเนอร์ ชี้ให้เห็นถึงความท้าทายสำคัญที่องค์กรกำลังเผชิญ เมื่อพนักงานถึง 93% รับทราบถึงพฤติกรรมของตนเองที่อาจนำมาซึ่งความเสี่ยง และน่าตกใจยิ่งกว่านั้นคือ 74% ยอมที่จะละเมิดนโยบายความปลอดภัยเพื่อบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าแนวทางการสร้างความตระหนักรู้แบบเดิมๆ อาจไม่เพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านั้นอย่างยั่งยืน   Leigh McMullen รองประธาน นักวิเคราะห์ และ Gartner Fellow ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งได้นำเสนอแนวคิดอันน่าสนใจภายใต้หัวข้อ “ปลุกสำนึกพนักงานให้เห็นความสำคัญของความเสี่ยงไซเบอร์มากขึ้น” เพื่อเป็นแนวทางให้องค์กรต่างๆ ปรับกลยุทธ์ในการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยที่เข้มแข็งและยั่งยืน   แม้ว่าองค์กรส่วนใหญ่จะทุ่มเททรัพยากรไปกับการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์และการลดความเสี่ยง แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับไม่เป็นที่น่าพอใจนัก สาเหตุสำคัญไม่ได้อยู่ที่การขาดความเข้าใจในหลักการพื้นฐาน แต่เป็นเพราะพนักงานส่วนใหญ่มองข้ามผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองและองค์กร พวกเขาคุ้นชินกับการหาทางลัดในการทำงาน ซึ่งรวมถึงการละเลยมาตรการความปลอดภัยโดยไม่ได้ตระหนักถึงผลลัพธ์ที่ตามมาอย่างแท้จริง   เพื่อแก้ไขปัญหานี้ องค์กรจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนมุมมองและสร้างการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมอย่างจริงจัง ผู้บริหารด้านความปลอดภัยต้องก้าวข้ามกรอบของการสื่อสารเชิงเทคนิค ไปสู่การสร้างความรู้สึกร่วมและความเข้าใจในระดับบุคคล เพื่อให้พนักงานตระหนักถึงความเสี่ยงทางไซเบอร์ในฐานะที่เป็นเรื่องใกล้ตัวและมีผลกระทบที่จับต้องได้   นอกเหนือจาก การบังคับใช้บทลงโทษ องค์กรควรให้ความสำคัญกับการสร้างกลไกเชิงวัฒนธรรม ที่อาศัยแรงกดดันจากกลุ่มเพื่อนร่วมงานและการปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้อง ตัวอย่างที่น่าสนใจในอดีตคือแคมเปญ “ปากพล่อย พลอยล่มจม” ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองของสหรัฐอเมริกา ซึ่งสามารถสร้างความตระหนักถึงผลกระทบของการเปิดเผยข้อมูลแม้เพียงเล็กน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเชื่อมโยงการกระทำของแต่ละบุคคลเข้ากับผลลัพธ์ที่ร้ายแรงต่อส่วนรวม ในบริบทขององค์กรปัจจุบัน คำถามที่น่าพิจารณาคือ เราจะออกแบบโปรแกรมด้านพฤติกรรมและวัฒนธรรมความปลอดภัยอย่างไรให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่า   หัวใจสำคัญคือการทำให้พนักงานตระหนักว่าการละเมิดนโยบายความปลอดภัยไม่ใช่เพียงแค่การฝ่าฝืนกฎระเบียบ แต่เป็นการกระทำที่ “ไม่ภักดีต่อองค์กร”…

ในปี 2024 มัลแวร์ประเภท Infostealers ทำการขโมยข้อมูลกว่า 2.1 พันล้านรายการ

Loading

รายงานล่าสุดจาก Flashpoint ระบุว่า มัลแวร์ขโมยข้อมูล (Infostealers) กลายเป็นเครื่องมือหลักของอาชญากรไซเบอร์ในปี 2024 โดยมีการโจมตีอุปกรณ์กว่า 23 ล้านเครื่อง และขโมยข้อมูลบัญชีผู้ใช้กว่า 2.1 พันล้านรายการ ซึ่งคิดเป็นสองในสามของข้อมูลที่ถูกขโมยทั้งหมดในปีที่ผ่านมา มัลแวร์ประเภทนี้ถูกนำไปใช้ในแคมเปญโจมตีที่ซับซ้อน รวมถึงการแฮกระบบองค์กร การปล่อยแรนซัมแวร์ และการโจมตีโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของภาครัฐและเอกชน