6 หน่วยงานรัฐรับไม้ต่อใช้ Digital ID ให้บริการประชาชน

Loading

    กรมการปกครอง, กรมสรรพากร, ก.ล.ต., สพร., สำนักงาน กสทช. และ NDID ร่วมกันเดินหน้าผลักดัน ดิจิทัลไอดี (Digital ID) หรือ การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลให้ใช้งานได้จริง ผ่านเครื่องมือที่บอกและยืนยันว่า “เราเป็นใคร” ในโลกออนไลน์โดยไม่ถูกปลอมแปลง   โดยการร่วมกันของทั้ง 6 หน่วยงานนั้น จะใช้งานผ่านบริการที่คุ้นเคย อย่าง D.DOPA, Mobile ID และ ทางรัฐ เป็นต้น ขณะที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างก็เริ่มทยอยนำกระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยดิจิทัล หรือ Digital ID (ดิจิทัล ไอดี) เข้ามาประยุกต์ใช้งานรวมถึงการให้บริการ เพื่อให้การทำธุรกรรมหรือกิจกรรมผ่านทางออนไลน์มีความปลอดภัย น่าเชื่อถือมากขึ้น ลดการลงทะเบียนยืนยันตัวตนซ้ำซ้อน   สำหรับความร่วมมือครั้งนี้ เป็นหนึ่งในนโยบายเกี่ยวกับ “กรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย ระยะที่ 1 พ.ศ. 2565 – พ.ศ. 2567” หรือ “Digital ID…

8 หน่วยงานเร่งหนุนคนไทยใช้ “ดิจิทัล ไอดี”

Loading

  กระทรวงดีอีเอส โดย เอ็ตด้า จับมือ 7 หน่วยงาน บูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานรัฐและเอกชน เร่งเครื่องคนไทยพัฒนาและใช้ Digital ID อย่างเต็มขั้น   นายชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า เปิดเผยว่า เอ็ตด้า เตรียมสร้างการรับรู้ถึงความคืบหน้าของการดำเนินงานในการผลักดันเรื่อง การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล  ดิจิทัล ไอดี (Digital ID) ของประเทศ   หลังจากเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. ที่ผ่านมา ได้มีการรายงานความคืบหน้าเรื่อง ดิจิทัล ไอดี ของประเทศต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแล้ว  เพื่อเป็นการช่วยให้ ทุกการทำธุรกรรมออนไลน์มีความมั่นคงปลอดภัย น่าเชื่อถือ หลังจากที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการเร่งเครื่องส่งเสริมให้คนไทยเกิดการพัฒนาและเกิดการใช้งาน ดิจิทัล ไอดี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ทัดเทียมสากล   “พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการเกี่ยวกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่ต้องได้รับใบอนุญาต พ.ศ. …. ที่กำลังจะประกาศใช้ในเร็ว ๆ นี้ รวมไปถึง การร่างกฎหมายลูกฉบับอื่น ๆ…

ใคร ๆ ก็ใช้ Digital ID

Loading

  เรากำลังก้าวข้ามไปสู่ยุคดิจิทัล ที่อะไร ๆ ก็ทำผ่านออนไลน์ได้ วันนี้การให้บริการประชาชนของประเทศไทยที่ทำผ่านออนไลน์ได้แล้วก็มีอยู่ไม่น้อย เช่น การเช็กสิทธิ การจองคิวเพื่อเข้าไปรับบริการ หรือที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี คือ ยื่นภาษีออนไลน์ที่มีมานับ 10 ปีแล้ว แต่ก็ยังมีบริการอีกมากมายที่หน่วยงานรัฐกำลังเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดให้บริการแแก่ประชาชน   ด้วยงานให้บริการประชาชนที่มีหลายรูปแบบ บางอย่างเป็นเรื่องทั่วไปไม่ต้องแสดงตนก็ได้ แต่บางอย่างจำเป็นต้องแสดงตนเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นคน ๆ นั้นจริง จึงต้องมีการพบเห็นต่อหน้า มีการตรวจสอบตัวบุคคล และตรวจสอบหลักฐานแสดงตนควบคู่กันไป ตัวอย่างเช่น โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และโครงการคนละครึ่ง เป็นต้น   ถ้าจำกันได้ตอนสมัครขอรับสิทธิสวัสดิการของรัฐโครงการคนละครึ่ง ต้องดาวน์โหลดแอป “เป๋าตัง” มาไว้ในมือถือด้วย เอาไว้สแกนจับจ่ายซื้อของ ซึ่งตอนลงทะเบียนแอปเป๋าตังก็ต้องยืนยันตัวตนเพื่อใช้งาน G-Wallet ที่จะต้องเติมเงินของเราเข้าไปไว้ใช้ร่วมกับเงินอีกครึ่งที่รัฐบาลออกให้นั้น จะต้องมีการสแกนใบหน้าซึ่งก็จัดว่าเป็นการยืนยืนตัวตนที่ต้องแสดงตน แต่แสดงผ่านออนไลน์     3 ขั้นตอน เตรียมก้าวสู่โลกดิจิทัล   ถ้าถามว่าหน่วยงานรัฐต้องทำอะไรบ้าง มีหลักการสั้น ๆ ง่าย ๆ คือ   –  สำรวจบริการ ไปดูว่างานให้บริการประชาชนมีอะไรบ้าง…

Digital ID คืออะไร? ใช้อย่างไร?

Loading

  ทุกวันนี้เราใช้ Social Media ใช้ Mobile Banking และแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน จนอาจจะลืมไปแล้วว่าก่อนที่จะใช้งานได้เช่นทุกวันนี้ เราต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง นั่นก็คือ ต้อง “สมัคร” หรือลงทะเบียนผู้ใช้งาน จากนั้นก็จะสามารถ “เข้าใช้งาน” ได้ ซึ่งการสมัครและการเข้าใช้บริการก็คือ การสร้าง Digital ID   เช่นเดียวกันกับการเข้าใช้บริการของหน่วยงานภาครัฐผ่านช่องทางดิจิทัล ก็ต้องมีการลงทะเบียน มีการพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วย โดยการสร้าง Digital ID เพื่อใช้บริการของภาครัฐจะมีความเข้มงวดและรัดกุมกว่าการใช้บริการแพลตฟอร์มทั่ว ๆ ไป     สมัคร+ใช้บริการ = สร้าง Digital ID   “การสมัคร” หรือการลงทะเบียน ทำแค่ครั้งแรกครั้งเดียว โดยผู้ที่จะเข้าใช้บริการจะต้องสมัคร ซึ่งต้องกรอกข้อมูลให้แก่ผู้ให้บริการ ส่วนผู้ให้บริการก็ต้องเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้ เพื่อใช้ในการตรวจสอบว่าเป็นบุคคลคนนั้นจริงหรือไม่   “การใช้บริการ” หลังจากสมัครแล้ว เมื่อจะเข้าใช้บริการ ก็ต้องพิสูจน์ตัวตน และยืนยันตัวตน ซึ่งจะมี…

ครม. ยัน ไทยพัฒนาระบบพิสูจน์-ยืนยันตัวตน ทางดิจิทัล ครอบคลุมบริการรัฐ-เอกชน

Loading

  คณะรัฐมนตรี ยัน ไทยพัฒนาระบบรองรับ พิสูจน์-ยืนยันตัวตน ทางดิจิทัล ครอบคลุมบริการหน่วยงานรัฐ เอกชน เชื่อสะดวกกับประชาชนยิ่งขึ้น   6 ธ.ค. 65 – ที่ทำเนียบรัฐบาลล น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า   ครม.รับทราบรายงานตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เสนอรายงานความคืบหน้าการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) แบ่งออกเป็น 2 ด้านคือ   ความคืบหน้าด้านกฎหมาย อาทิเช่น การยืนยันตัวตนจะกำหนดให้ดำเนินการด้วยวิธีอื่นนอกจากการแสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทางก็ได้ ถ้าวิธีอื่นดังกล่าวนั้น จะเป็นการสะดวกแก่ประชาชนยิ่งขึ้น   ซึ่งบัญญัติใน มาตรา 8 วรรค 2 แห่ง พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2565 และยังมีการกำหนดหลักเกณฑ์การดูแลผู้ให้บริการการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ที่จะบัญญัติไว้ใน ร่าง พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการเกี่ยวกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่ต้องได้รับใบอนุญาต พ.ศ. …. ที่ ครม. มีมติอนุมัติหลักการไปเมื่อวันที่ 22…