ครม.ไฟเขียว ร่าง กม.ความปลอดภัยไซเบอร์ – กม.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
Cisco Talos ได้ค้นพบและเตือนถึงช่องโหว่บนเราเตอร์รุ่น TL-R600VPN ของ TP-Link ที่ส่งผลให้ผู้โจมตีสามารถทำการ Remote Code Execution ได้โดยช่องโหว่มีด้วยกัน 4 รายการ อย่างไรก็ตามทางผู้ผลิตได้ออกแพตช์แล้วซึ่งแนะนำให้ผู้ใช้รีบอัปเดตโดยด่วน ช่องโหว่ 3 รายการส่งผลกระทบกับ TL-R600VPN HWv3 FRNv1.3.0 และ TL-R600VPN HWv3 FRNv1.2.3 มีรายละเอียดดังนี้ 1.CVE-2018-3948 เป็นช่องโหว่ที่ทำให้เกิด DoS ซึ่งพบในฟังก์ชัน URI-pasing ใน HTTP Server ของเราเตอร์ โดย รายงานของ Cisco กล่าวว่า “ถ้าทำการ Directory Traversal ไปยังหน้าเพจที่มีช่องโหว่ เช่น Help, images, frames, dynaform, localization ประกอบกับเพจที่ถูกร้องขอเป็น Directory ตัวเว็บเซิร์ฟเวอร์จะเข้าลูปอนันต์ (infinite loop ทำงานไม่จบสิ้น) ทำให้หน้าบริหารจัดการใช้งานไม่ได้ อีกทั้งการร้องขอที่เกิดขึ้นไม่จำเป็นต้องมีการพิสูจน์ตัวตนก่อน” 2.CVE-2018-3949 เป็นช่องโหว่ที่ทำให้เกิดการเปิดเผยข้อมูลผ่านทาง…
โดย อธิชญา สุขธรรมรัตน์ ดิจิทัล เวนเจอร์ส ร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) และมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ เปิดตัว B.VER (Blockchain Solution for Academic Document Verification) แพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับตรวจสอบเอกสารทางการศึกษาด้วยเทคโนโลยีบล็อคเชน (Blockchain) ที่ให้สถาบันการศึกษา หรือองค์กรต่างๆ สามารถตรวจสอบวุฒิการศึกษา หรือ Transcript ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้แบบเรียลไทม์ ช่วยป้องกันปัญหาการปลอมแปลงวุฒิการศึกษา อรพงศ์ เทียนเงิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด กล่าวว่าปัญหาเรื่องการปลอมแปลงวุฒิการศึกษามีมาอย่างยาวนาน และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงอยากจะนำเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างบล็อคเชนมาแก้ปัญหาดังกล่าว จึงพัฒนาเป็นแพลตฟอร์ม B.VER เพื่อให้มหาวิทยาลัยและองค์กรต่างๆ ใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบวุฒิการศึกษา ด้านจีรพล มัทวพันธุ์ Head of Project Delivery ของบริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด อธิบายการทำงานของ B.VER ว่าการถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ส่วนแรกคือการอัพโหลดไฟล์ต้นฉบับขึ้นสู่แพลตฟอร์มโดยมหาวิทยาลัย จากนั้นระบบจะดำเนินการเข้ารหัสและเก็บเอกสารไว้ในบล็อคเชน…
สำนักข่าว AFP รายงานว่าปัจจุบันประชาชนชาวสวีดิชเริ่มทำการฝังไมโครชิปลงบนผิวหนังของตนเอง ซึ่งสามารถใช้งานในชีวิตประจำวันให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น อาทิ ไม่ต้องพกบัตรประชาชน, ใช้สแกนแทนคีย์การ์ดในการเข้าทำงานในออฟฟิศ, ซื้ออาหารจากตู้อัตโนมัติ, เข้ายิม, หรือแม้แต่ใช้แทนตั๋วรถไฟ โดยรายงานระบุว่าในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา มีชาวสวีดิชกว่า 3,000 รายที่ติดไมโครชิปแล้ว สำหรับการฝังชิปนั้นถูกระบุว่ามีอาการเจ็บเพียงเล็กน้อยระดับมดกัดไม่ต่างจากการเจาะหู ซึ่งการฝังชิปแม้จะฝังไว้ที่ผิวหนังแต่ก็อยู่ในระดับชั้นที่ไม่ลึก ทำให้การอ่านค่าชิปรวมทั้งบันทึกข้อมูลจัดเก็บสามารถทำได้ง่ายและแม่นยำ ซึ่งส่วนสำคัญที่ทำให้คนสวีเดนหันมาใช้ไมโครชิปมากกว่าชาติอื่น ๆ ก็เนื่องจากระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของข้อมูลในประเทศนั้นมีประสิทธิภาพระดับสูงสุดที่ผู้ใช้สามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลส่วนตัวจะเป็นความลับไม่รั่วไหลแน่นอน ทั้งนี้ ปัจจุบันมีประชากรในสวีเดนเพียง 2% ที่ยังพกเงินสดติดตัว ขณะที่อีก 98% นั้นจ่ายผ่านบัตรเครดิตและสมาร์ทโฟนหมดแล้ว ซึ่งเทรนด์ของการใช้ร่างกายมนุษย์มาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเทคโนโลยี (Biohackng) โดยน่าสนใจไม่น้อยกว่าในอนาคตอุปกรณ์ไอทีพื้นฐานมากมายที่อาจถูกออกแบบมาเมื่อฝังลงในร่างกายของมนุษย์ By Nattaphan Songviroon ——————————————————————- ที่มา : เว็บแบไต๋ / 5 มิถุนายน 2561 Link : https://www.beartai.com/news/itnews/247810?utm_source=LINEToday&utm_medium=Referral&utm_campaign=DirectLink
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว