Silicon Valley สหรัฐฯ เร่งคัดกรองพนักงานชาวจีนเพื่อป้องกันการจารกรรม

Loading

OpenAI หนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ที่ได้เพิ่มการตรวจสอบความปลอดภัยพนักงานและผู้สมัครงาน   เว็บไซต์ VOA News รายงานเมื่อ 4 ก.ค.67 ว่า ซิลิคอนแวลลีย์ (Silicon Valley) ศูนย์รวมบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของสหรัฐฯ อาทิ Google OpenAI NVIDIA และ Sequoia Capital ได้เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคลต่อพนักงานและผู้สมัครงานทุกเชื้อชาติให้เข้มงวดขึ้น โดยเฉพาะชาวจีนหรือผู้ที่มีครอบครัวหรือมีความสัมพันธ์กับจีน ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงต่อแรงกดดันจากรัฐบาลจีนเป็นพิเศษ เพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์จากจีน และตอบสนองต่อคำเตือนของรัฐบาลสหรัฐฯ เกี่ยวกับภัยคุกคามจากการจารกรรมของจีนที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงสองปีที่ผ่านมา   นักศึกษาจีนในสหรัฐฯ แซ่เจิ้ง ซึ่งไม่ต้องการเปิดเผยชื่อจริงเพราะกลัวถูกตอบโต้จากรัฐบาลจีนและกำลังขอสถานะผู้ลี้ภัยทางการเมืองในสหรัฐฯ กล่าวว่า “ฉันหวังว่าจะกลายเป็นกำลังสำคัญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของสหรัฐฯ และมีบทบาทในการต่อสู้กับการโจมตีทางไซเบอร์ของจีน” อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้กังวลว่าการตรวจสอบความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นนั้นจะส่งผลกระทบต่อโอกาสในการทำงาน แต่นักเรียนต่างชาติในสหรัฐฯ หลายคนอาจกังวลว่าพวกเขาจะถูกปิดกั้นจากงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในสหรัฐฯ   นาย Ray Wang ซีอีโอของบริษัท Constellation Research ซึ่งตั้งอยู่ในซิลิคอนแวลลีย์ อ้างว่า การขโมยทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ มีมากขึ้นนับตั้งแต่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 และคนที่มีความเชื่อมโยงกับจีนมักตกเป็นเป้าหมาย โดยผู้คนในสหรัฐฯ ซึ่งมีญาติในจีน รัฐบาลจีนจะขอให้ทำงานบางอย่าง มิฉะนั้น…

สภา ม.รามคำแหง ปลด“สืบพงษ์”พ้นอธิบการบดี-ปมใช้วุฒิปริญญาเอกปลอม

Loading

  สภา ม.รามคำแหง ปลด “สืบพงษ์” พ้นอธิบการบดี-ปมใช้วุฒิปริญญาเอกปลอม พบอีกข้อกล่าวหาคัดลอกผลงาน ส่อขัดจรรยาบรรณทางวิชาการ   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สภามหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้เผยเเพร่เอกสารข่าว เรื่อง การเผยแพร่ผลงานซ้ำซ้อนและการมีชื่อในผลงานที่ตนไม่มีส่วนร่วมของอดีตอธิการบดี ใจความว่า ผู้ช่วยศาสตรจารย์ สืบพงษ์ ปราบใหญ่ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ถูกตั้งข้อกล่าวหาเพิ่ม เกิดจากกรณีถูกกล่าวหาฝ่าฝืนจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2555 และมีพฤติกรรมในทางวิชาการที่ขัดต่อบทบัญญัติในกฎหมายและระเบียบหรือข้อบังคับมหาวิทยาลัยรามคำแหงหลายกรรมหลายบทด้วยการคัดลอกผลงานตนเองและมีชื่อปรากฏในบทความทางวิชาการที่ตนเองไม่มีส่วนร่วม   ภายหลังจากที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ถูกสภามหาวิทยาลัยรามคำแหงถอดถอนจากตำแหน่งอธิการบดีเมื่อวันที่ 8พฤศจิกายน 2565ด้วยข้อหาการใช้วุฒิการศึกษาปริญญาเอกที่ไม่ได้รับการรับรองจากก.พ. ,การปกปิดหรือไม่รายงานต่อสภามหาวิทยาลัยกรณีการรับโอนทรัพย์สินจากนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ที่ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติและต่อมาศาลฎีกาได้พิพากษาให้ทรัพย์ดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน และการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาด้วยข้อความอันเป็นเท็จ   ปรากฏว่าในการประชุมสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง (วันที่ 21พฤศจิกายน 2565) สภามหาวิทยาลัยรามคำแหงได้พิจารณารายงานจากคณะกรรมการตรวจสอบความไม่ชอบด้วยกฏหมายฯ ที่สภามหาวิทยาลัยรามคำแหงได้แต่งตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบข้อร้องเรียนผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ กรณีเข้าข่ายการคัดลอกผลงานตนเองโดยไม่มีการอ้างอิงผลงานเดิมของตน   โดยคณะกรรมการได้สรุปว่า ข้อกล่าวหาดังกล่าวมีมูล โดยพิจารณาจากหลักฐานบทความทางวิชาการสองชิ้นของผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์ และคณะ ผลงานทางวิชาการทั้งสองชิ้นได้ถูกนำไปเผยแพร่ซ้ำซ้อนกันในวารสารทางวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับโดยไม่มีการอ้างอิง และมีเนื้อหาที่เหมือนกันกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ การเผยแพร่บทความในลักษณะดังกล่าวถือว่าเป็นการขัดต่อจรรยาบรรณทางวิชาการ ทำให้ผู้อื่นอาจเข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่และทำให้เกิดปัญหาการอ้างอิงและส่งผลกระทบต่อคุณภาพทางวิชาการ   คณะกรรมการตรวจสอบความไม่ชอบด้วยกฎหมายฯ ยังรายงานด้วยว่าพฤติการณ์ดังกล่าวยังส่งผลต่อความไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ช่วยศาสตราจารย์สืบพงษ์…