ผวา อินโดฯ จับสมาชิกกลุ่มหัวรุนแรงกว่า 100 ญี่ปุ่นเตือนก่อการร้ายในอาเซียน

Loading

  อินโดนีเซียจับผู้ต้องสงสัยสมาชิกกลุ่มก่อการร้ายเครือข่ายเจไอ และเจเอดี ในประเทศได้กว่า 100 คน ขณะญี่ปุ่นแจ้งเตือนพลเมืองระวังก่อการร้ายในอาเซียน เมื่อ 16 ก.ย. 64 เว็บไซต์เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์ รายงานว่า กองกำลังพิเศษป้องกันก่อการร้ายชั้นยอด เดนซัส 88 สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติอินโดนีเซียสามารถจับกุมบุคคลที่ต้องสงสัยเป็นสมาชิกกลุ่มก่อการร้าย ‘เจมาห์ อิสลามิยาห์’ (เจไอ) ได้นับ 123 คน ตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และยังจับกุมสมาชิกกลุ่มก่อการร้าย ‘เจมาอาห์ อันชารุต เดาเลาะห์’ (เจเอดี) ซึ่งมีกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอซิส) เป็นต้นแบบแรงบันดาลใจอีกหลายสิบคน ใน 10 จังหวัดของอินโดนีเซีย ท่ามกลางคำเตือนของกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่นที่สั่งไปยังสถานทูตญี่ปุ่นประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้แจ้งเตือนพลเมืองชาวญี่ปุ่นที่พำนักอาศัยใน 6 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน ระวังความเป็นไปได้ที่อาจเกิดหตุก่อการร้าย เมื่อวันจันทร์ที่ 13 ก.ย. 64 สำนักงานตำรวจแห่งชาติอินโดนีเซีย ประกาศจับกุมสมาชิกกลุ่มเจมาห์ อิสลามิยาห์ ได้อีกกว่า 4 คน ในจำนวนนี้รวมทั้ง นายอาบู รุสดาน วัย 61 ปี…

อดีตเจ้าหน้าที่ข่าวกรองอเมริกันยอมรับเป็นสายลับไซเบอร์ให้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

Loading

  มาร์ค ไบเออร์ (Marc Baier) ไรอัน อดัมส์ (Ryan Adam) และแดเนียล แกริค (Daniel Gericke) อดีตเจ้าหน้าที่ด้านข่าวกรองชาวอเมริกันที่เคยทำงานเป็นสายลับไซเบอร์ให้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) รับสารภาพต่อศาลสูงในกรุงวอชิงตัน ดีซี ว่าได้ละเมิดกฎหมายของสหรัฐอเมริกาว่าด้วยการห้ามขายเทคโนโลยีทางการทหารที่มีความละเอียดอ่อน ทั้งยังระบุว่าได้เคยแฮกระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสหรัฐฯ และส่งออกเครื่องมือที่ใช้ในการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีความซับซ้อนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลสหรัฐฯ ให้แก่ยูเออี หนึ่งในนั้นคืออาวุธไซเบอร์ที่มีความซับซ้อนที่มีชื่อว่า Karma ที่สามารถแฮกไอโฟนได้โดยง่าย ทั้งสามคนได้ทำข้อตกลงกับรัฐบาลสหรัฐฯ โดยตกลงจ่ายเงินชดใช้รวมกัน 1.69 ล้านเหรียญ (ประมาณ 55.5 ล้านบาท) และจะไม่ทำงานที่สามารถเข้าถึงข้อมูลความลับในด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ อีกต่อไป เพื่อแลกกับการไม่ถูกดำเนินคดี อดีตเจ้าหน้าที่ทั้งสามคนเป็นสมาชิกของกลุ่มปฏิบัติการลับที่มีชื่อว่า Project Raven ซึ่งทำงานให้กับราชวงศ์ของยูเออีในการสืบข่าวศัตรูทางการเมือง สำนักข่าวรอยเตอร์สืบพบ Project Raven ในปี 2562 โดยกลุ่มฯ ดังกล่าวมีประวัติในการสอดแนมนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนและนักสื่อสารมวลชน อย่างนักเรียกร้องสิทธิมนุษยชนชาวเยเมนที่ได้รับรางวัลโนเบล และนักข่าว BBC ในจำนวนนี้ หลายคนถูกซ้อมทรมานโดยรัฐบาลยูเออีในภายหลัง   ————————————————————————————————————————————————– ที่มา : Beartai …

เจ้าสาวไอเอสเผย เตรียมกลับอังกฤษ สู้ข้อหาก่อการร้าย หลังถูกถอดถอนสัญชาติ

Loading

  เจ้าสาวไอเอสเผย – วันที่ 15 ก.ย. เอเอฟพี รายงานความคืบหน้ากรณีที่น.ส.ชามีมา เบกุม วัย 22 ปี พลเมืองสัญชาติอังกฤษ เชื้อชาติบังกลาเทศ ผู้ถูกถอดถอนสัญชาติผู้ดี หลังเดินทางออกจากกรุงลอนดอน พร้อมเพื่อนโรงเรียน 2 คน เมื่อปี 2558 ด้วยเพียงอายุ 15 ปี ในเวลานั้น เพื่อเข้าร่วมกลุ่มรัฐอิสลามในซีเรีย จากนั้น แต่งงานกับนักรบไอเอสจึงได้รับการขนานนามเป็น “เจ้าสาวไอเอส”   ล่าสุด น.ส.เบกุมกล่าวว่าจะเตรียมเดินทางกลับไปอังกฤษ ต่อสู้ข้อหาการก่อการร้ายเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเอง แม้ว่าศาลสูงสุดของอังกฤษจะมีคำตัดสินเมื่อปลายเดือนก.พ.ปีนี้ ไม่อนุญาตให้น.ส.เบกุมเดินทางกลับอังกฤษเพื่อคัดค้านคำตัดสินของรัฐบาล แต่น.ส.เบกุมปฏิเสธการมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในการเตรียมการก่อการร้าย “ฉันจะไปศาลและเผชิญหน้าผู้กล่าวหา และปฏิเสธข้อกล่าวหาเหล่านี้ เนื่องจากฉันรู้ว่า ฉันไม่ได้ทำอะไรในไอเอส แต่ทำหน้าที่แม่และภรรยาคนหนึ่ง ข้อกล่าวหาเหล่านี้ทำให้ฉันดูแย่ลงเพราะรัฐบาลไม่มีข้อมูลใดเกี่ยวกับฉัน ไม่มีหลักฐานเพราะไม่มีอะไรเกิดขึ้น” น.ส.เบกุมให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ ไอทีวี ของอังกฤษ     น.ส.เบกุม กล่าวว่า ความผิดเดียวที่เธอก่อคือ “โง่พอที่จะเข้าร่วมไอเอส” และขอความเมตตาจากทุกคนที่สูญเสียคนรักจากนักรบไอเอส “ฉันเสียใจมากหากเคยทำให้ใครขุ่นเคืองกับการมาที่นี่ หากทำให้ใครขุ่นเคืองกับสิ่งที่ฉันพูด”…

ออสเตรเลียเผยการโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นช่วงโควิด

Loading

  ออสเตรเลียเผยเหตุโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นช่วงโควิด-19 ชี้บริการทางการแพทย์ตกเป็นเป้าหมายหวังขโมยเงินและล้วงข้อมูลสำคัญ รัฐบาลออสเตรเลีย เปิดเผยว่า การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้อาชญากรรมทางไซเบอร์เพิ่มขึ้น 13% โดยผู้ประสงค์ร้ายพุ่งเป้าโจมตีผู้ที่ทำงานจากที่บ้าน รวมถึงสอดแนมบุคคลที่สุ่มเสี่ยงและผู้ให้บริการทางการแพทย์ เพื่อหวังขโมยเงินและล้วงข้อมูลสำคัญ รายงานประจำปีของศูนย์ดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ของออสเตรเลียระบุว่า ทางศูนย์ฯ ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับอาชญากรรมทางไซเบอร์กว่า 67,500 ครั้งในรอบ 12 เดือน เมื่อนับจนถึงวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา หรือเฉลี่ยทุก 8 นาทีต่อครั้ง โดยมีการรายงานที่เกี่ยวข้องกับแรนซัมแวร์เพิ่มขึ้นเกือบ 15% ในช่วงดังกล่าว ด้านนายแอนดรูว์ แฮสตี รัฐมนตรีช่วยกระทรวงกลาโหมกล่าวว่า 1 ใน 4 ของเหตุโจมตีทางไซเบอร์ที่รายงานนั้นส่งผลกระทบต่อหน่วยงานผู้ให้บริการระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ซึ่งได้แก่ บริการที่จำเป็นในด้านการศึกษา, การติดต่อสื่อสาร, ไฟฟ้า, ประปา และการขนส่ง “ในช่วงเวลาที่ชาวออสเตรเลียต้องพึ่งพาบุคลากรทางการแพทย์มากที่สุดเพื่อช่วยเหลือและรักษาชีวิตในภาวะโรคระบาดเช่นนี้ ภาคบริการทางด้านสาธารณสุขมีรายงานเหตุโจมตีจากแรนซัมแวร์มากที่สุดเป็นอันดับสอง” นายแฮสตีระบุในแถลงการณ์ นายแฮสตียังระบุว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น มีรายงานอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของโควิด-19 กว่า 1,500 ครั้งในแต่ละเดือน และได้มีการลบเว็บไซต์ที่มีเนื้อหามุ่งเน้นการระบาดแต่แอบแฝงจุดประสงค์ร้ายไปกว่า 110 เว็บไซต์   —————————————————————————————————————————————————————- ที่มา…

“ทางด่วน” ขอร้อง โปรดอย่าทำลายทรัพย์สินของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย

Loading

  “การทางพิเศษ”แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ทำลายทรัพย์สินของทางราชการ วอนกลุ่มป่วนเมืองโปรดอย่าทำลายสร้างความเสียหาย ด้านอดีตผู้สมัครพรรคอนาคตใหม่ตั้งโต๊ะรับร้องเรียนผลกระทบแฟลตดินแดง เหตุการณ์ชุมนุมของกลุ่มมวลชนต่างๆ บริเวณแยกดินแดง ไม่ว่าจะมาจากการตั้งชื่อ “ม็อบทะลุแก๊ส” “ม็อบ 12 กันยายน” หรือ “ม็อบรายวัน” ที่มาพร้อมอาวุธหลากหลายชนิด หวังก่อเหตุสร้างความรุนแรง โดยเฉพาะพื้นที่ของทางพิเศษเฉลิมมหานคร ด่านฯดินแดง ที่มีผู้ชุมนุมเข้าไปก่อเหตุบุกเข้าไปกีดขวางเส้นทางจราจร รวมถึงการเผาทำลายทรัพย์สินให้เกิดความเสียหาย ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 ก.ย. 64 เพจ”การทางพิเศษแห่งประเทศไทย” หรือ กทพ. ได้เผยแพร่ภาพและข้อความเรียกร้องให้ผู้ก่อเหตุ ได้”โปรดอย่าทำลาย”ทรัพย์สินของ”การทางพิเศษแห่งประเทศไทย” ทั้งนี้ กองประชาสัมพันธ์ สำนักผู้ว่าการทางพิเศษประเทศไทย (กทพ.) ระบุว่า เมื่อวานนี้ (13 กันยายน 2564) เวลา 10.45 น. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้มอบหมายให้ผู้แทนเข้าแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจนครบาลดินแดง จากกรณีเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2564 มีกลุ่มผู้ชุมนุมบุกรุกเข้ามาในพื้นที่ของทางพิเศษเฉลิมมหานคร ด่านฯดินแดง และทำการเผาทำลายซุ้มตกแต่ง ซึ่งเป็นทรัพย์สินของ กทพ. ที่อยู่บริเวณทางขึ้นทางด่วนดินแดงมุ่งหน้าบางนา…

เดินหน้าโครงการ “สมาร์ท เซฟตี้ โซน 4.0” ประชาชนอุ่นใจ ปลอดภัยในชุมชน

Loading

  ตร.เดินหน้าต่อเนื่องโครงการ SMART SAFETY ZONE 4.0 ที่ สภ.เมืองพิษณุโลก ติดตั้งกล้องวงจรปิดทั่วเมืองป้องกันอาชญากรรมเชิงรุก ใช้ “นวัตกรรมใหม่” และ “ยึดประชาชน” เป็นศูนย์กลาง เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2564 พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร. ได้มาตรวจเยี่ยม พื้นที่รับผิดชอบสถานีตำรวจภูธรเมืองพิษณุโลก ซึ่งเป็น 1 ใน 15 สถานีตำรวจนำร่องภายใต้ชื่อโครงการ “ชุมชนตลาดบ้านคลอง Smart Safety Zone 4.0” ณ บริเวณชุมชนย่านตลาดบ้านคลองซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่ของจังหวัดพิษณุโลก ตั้งแต่การค้าขายระดับพื้นฐานจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ มีความหนาแน่นของประชากรในทุกระดับ ประกอบด้วย 5 ชุมชน ในพื้นที่ดำเนินการ ได้แก่ ชุมชนสิงหวัฒน์ซอย 3, ชุมชนสิงหวัฒน์ซอย 5 , ชุมชนพระลือ, ชุมชนบ้านคลองสามัคคี และชุมชนบ้านคลองพัฒนา มีประชากรในพื้นที่ ประมาณ 4,589 คน…