คาดสายชาร์จไฟไหม้ ต้นตอเครื่องบิน “เวอร์จิ้น แอตแลนติก” ลงจอดฉุกเฉิน

Loading

เที่ยวบินสายการบินเวอร์จิ้น แอตแลนติก เส้นทางจากมหานครนิวยอร์ก ต้องลงจอดฉุกเฉินที่สนามบินนานาชาติโลแกน ในนครบอสตัน หลังเกิดเหตุไฟไหม้ห้องโดยสาร ซึ่งทีมสืบสวนคาดว่าน่าจะมีต้นตอมาจากสายชาร์จโทรศัพท์เกิดลุกไหม้บนเครื่อง ผู้โดยสาร 217 ชีวิตและลูกเรืออพยพจากเที่ยวบิน สายการบินเวอร์จิ้น แอตแลนติก ที่สนามบินในนครบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ได้อย่างปลอดภัย โดยมีรายงานผู้บาดเจ็บที่ปฏิเสธการปฐมพยาบาลเนื่องจากภาวะสำลักควัน หนังสือพิมพ์ Washington Post อ้างข้อมูลจากตำรวจรัฐแมสซาชูเซตส์ รายงานว่า การสืบสวนเบื้องต้นพบว่าสาเหตุของเพลิงไหม้น่าจะมาจากสายชาร์จโทรศัพท์มือถือ ที่พบอยู่ระหว่างที่นั่งโดยสารในเกิดประกายไฟลุกไหม้ ก่อนที่เจ้าหน้าที่บนเครื่องบินจะเข้าควบคุมเพลิงไว้ได้ ทั้งนี้ ตามข้อมูลจากสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติ หรือ FAA ห้ามไม่ให้นำแบตเตอรี่ลิเธียมพกพาโหลดลงในกระเป๋าสัมภาระใต้เครื่อง รวมทั้งมีรายงานว่าสายการบินหลายแห่ง สั่งห้ามนำกระเป๋า Smart Bag ที่บรรจุแบตเตอรี่ลิเธียมสำหรับชาร์จสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์โหลดลงในกระเป๋าสัมภาระใต้เครื่อง เพราะมีความเสี่ยงที่อุปกรณ์ดังกล่าวอาจเกิดประกายไฟหรือระเบิดได้ แต่ข้อกำหนดดังกล่าวไม่ได้มีผลบังคับใช้กับการนำแบตเตอรี่พกพาเหล่านี้ขึ้นไปบนห้องโดยสารบนเครื่องบิน หรือใส่ไว้ในกระเป๋าเดินทางติดตัวขึ้นเครื่อง หรือ carry-on ปัจจุบัน สายการบินหลายแห่ง เริ่มปรับเปลี่ยนนโยบายการบิน หลังเหตุไฟไหม้บนเครื่องบินที่มาต้นตอมาจากแบตเตอรี่พกพา ซึ่งรวมถึงเหตุการณ์เมื่อปี ค.ศ. 2016 กับสายการบินเซาท์เวสต์แอร์ไลน์สด้วย และผู้โดยสารจะต้องแจ้งกับพนักงานบนเครื่องทันทีหากพบว่าแบตเตอรี่พกพาที่ตนนำมาเกิดความร้อนผิดปกติ ตกหล่นลงไปด้านใต้เบาะที่นั่งโดยสาร หรือเริ่มมีควันออกมาจากอุปกรณ์ดังกล่าว ————————————————————— ที่มา : VOA Thai /…

มารู้จัก…อุปกรณ์ฉุกเฉินในรถไฟฟ้า

Loading

ข่าวการใช้อุปกรณ์ฉุกเฉินภายในรถไฟฟ้าผิดวิธีจนเกิดผลกระทบต่อการเดินรถทั้งระบบ มีให้ได้ยินกันเป็นระยะ ดังนั้น เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง เรามารู้จักอุปกรณ์เหล่านี้กันสักนิด อุปกรณ์ฉุกเฉินภายในรถไฟฟ้าทุกขบวน จะมีอยู่ 2 ชนิด ติดตั้งที่บริเวณประตูรถไฟฟ้า ชนิดแรก คือ คันโยกเปิดประตูกรณีฉุกเฉิน หรือ Passenger Emergency Release เรียกย่อ ๆ ว่า PER เป็นคันโยกสีแดง ติดตั้งอยู่ด้านซ้ายของประตูทุกบาน ทั้งรถไฟฟ้า BTS และ MRT ส่วนของรถไฟฟ้า Airport Rail Link จะเป็นคันโยกสีเขียว มีฝาพลาสติกครอบไว้ คันโยก PER นี้ จะใช้เมื่อต้องการหยุดรถ เช่น มีคนตกชานชาลา หรือต้องการเปิดประตูรถไฟฟ้า เพื่อให้ผู้โดยสารออกจากตัวรถอย่างปลอดภัย แต่ต้องมีเจ้าหน้าที่ควบคุมรถไฟฟ้าให้คำแนะนำเท่านั้น หากผู้โดยสารดึง PER โดยไม่มีเหตุอันควร จะส่งผลต่อการเดินรถได้ ชนิดที่สอง คือ ปุ่มติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ควบคุมรถไฟฟ้า หรือ Passenger Communication Unit เรียกแบบย่อว่า PCU…

อินเทอร์เน็ตไวไฟ (Wi-Fi) ในที่ทำงานสะดวก… แต่มาพร้อมความเสี่ยง!! จริงหรือ?

Loading

วันนี้โลกของการทำงานที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จากทุกที่ ทำให้มีความนิยมใช้ Wi-Fi มากขึ้น แต่ในความสะดวกนั้นกับมาพร้อมเสี่ยงด้วยเช่นกัน… highlight เหล่าแฮกเกอร์จะสามารถใช้ช่องทางการเชื่อมต่อแบบไร้สายที่ขาดการป้องกันที่ดีมากเพียงพอทำอะไรได้บ้าง? คงต้องบอกว่าทำได้หลายรูปแบบ จนนับแทบไม่ไหว แต่พฤติกรรมที่เห็นบ่อย ๆ ที่ได้มีการเปิดเผยจาก จากผู้ให้บริการทางด้านโซลูชั่นปกป้องคุ้มครองโครงข่าย ระบุ ได้ 3 แบบด้วยกัน ได้แก่ ใช้ขุดรหัสผ่าน, ใช้ช่องโหว่ของเฟิร์มแวร์ และช่องทางแฝงจากเครือข่ายของบุคคลทั่วไป Wi-Fi ในที่ทำงาน สะดวกแต่มีความเสี่ยง ทุกวันนี้ที่ทำงานแทบจะทุกที่มีการบริการอินเตอร์เน็ตไร้สาย หรือ ไว-ไฟ ทั่วทั้งออฟฟิศ และในบางออฟฟิศก็มากกว่า 1 จุด ซึ่งการเติบโตขึ้นของความนิยมใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายนี้เกิดขึ้นจากความต้องการความสะดวกสบาย ไม่ต่อสายสายแลน (Local Area Network หรือ LAN) เข้าโน้ตบุ้ค หรือคอมพิวเตอร์พีซี ให้น่ารำคาญ อีกทั้งจากการเติบโตของการใช้อุปกรณ์อื่น ๆ อาทิ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ในการทำงานก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้แนวโน้มในการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสายลดน้อย ซึงแม้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านสายจะสามารถความเสถียรของสัญญาณได้มากกว่าก็ตาม แต่หลายองค์กรก็เลือกที่จะใช้งานแบบไร้สายมากกว่า และแม้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย จะสะดวกสบายแค่ไหน แต่ก็มาพร้อมด้วยความเสี่ยงด้วยเช่นกัน และสามารถสร้างความเสียหายได้อย่างมหาศาลเกินกว่าจะคาดคิด เพราะที่มีการปล่อยสัญญาณอยู่ตลอดเวลา จากจุดนี้เหล่าแฮกเกอร์สามารถใช้เป็นช่องทางในการโจมตีได้อย่างไม่อยากเย็น…

ชุมนุมยุค 2019 ชาวฮ่องกงป้องกันการสอดแนมออนไลน์ และไม่ทิ้งรอยเท้าดิจิทัลอย่างไร

Loading

แม้จะใช้เครื่องมือดิจิทัลต่างๆ มากมายในการชุมนุมเพื่อต่อต้านร่างกฎหมายส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ของชาวฮ่องกงครั้งนี้ แต่ประสบการณ์จาก Occupy Central เมื่อปี 2014 ก็ทำให้ผู้ชุมนุมปรับเปลี่ยนกลวิธีเพื่อปกป้องตัวเองเพิ่มขึ้น ให้ความสำคัญกับการรักษาข้อมูลส่วนตัวในการใช้เครื่องมือดิจิทัลมากขึ้น เพราะเกรงว่าอาจถูกนำมาใช้ดำเนินคดีทางกฎหมายได้ในภายหลัง เมื่อปี 2014 แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียกำลังได้รับความนิยม มีการใช้เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์อย่างกว้างขวาง ครั้งนั้นตำรวจจับกุมชายคนหนึ่ง โดยอ้างว่าเขาโพสต์ข้อความชวนคนมาชุมนุมผ่านเว็บบอร์ด  และมีการส่งข้อความที่เป็นมัลแวร์แพร่กระจายไปทั่ววอทซแอป (WhatsApp) ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นการติดตั้งซอฟต์แวร์แอบดักฟังโดยเจ้าของเครื่องไม่รู้ตัว นักวิจัยกล่าวว่าส่วนใหญ่มาจากรัฐบาลจีน ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เติบโตมาในโลกดิจิทัล และตระหนักดีถึงอันตรายจากการสอดแนมและการทิ้งรอยเท้าดิจิทัล ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจดจำใบหน้าจากจีนแผ่นดินใหญ่และการเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ทำให้ผู้ชุมนุมเตรียมหาทางหลบหลีกเทคโนโลยีการสอดส่องประชาชนหลายรูปแบบ ครั้งนี้ ในวันแรกๆ ของการชุมนุมมีการเผยแพร่คู่มือ คีย์บอร์ด ฟรอนท์ไลน์ องค์กรรณรงค์เสรีภาพเน็ต เผยแพร่แผ่นพับว่าด้วยการปกป้องตัวตนสำหรับผู้ชุมนุม ตั้งแต่แนะนำไม่ให้ใช้ไวไฟสาธารณะ ทิ้งโทรศัพท์ไว้ที่บ้าน หรือแม้แต่ห่อบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง บัตรของธนาคารด้วยแผ่นอะลูมิเนียม เพื่อไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวรั่วไหลได้ จากการใช้สแกนเนอร์จากคลื่นความถี่ RFID ปกติแล้ว คนฮ่องกงใช้วอทซแอปเป็นช่องทางในการสื่อสารหลัก แต่สำหรับการชุมนุม พวกเขาเปลี่ยนมาใช้แอปที่เข้ารหัสอย่าง เทเลแกรม (Telegram) แทน เพราะเชื่อว่าคุ้มครองความเป็นส่วนตัวและปลอดภัยกว่า และเพราะว่าสามารถสร้างกลุ่มสนทนาได้ใหญ่กว่าด้วย เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน เทเลแกรมประกาศว่า แอปเทเลแกรมเป็นเป้าหมายของการจู่โจมทางไซเบอร์ด้วยวิธี DDoS ต้นทางมาจากจีนแผ่นดินใหญ่…