วิธีตั้งค่าไม่ให้เว็บไซต์ติดตามตำแหน่งคุณ

Loading

วิธีตั้งค่าไม่ให้เว็บไซต์ติดตามตำแหน่งคุณ เชื่อว่าคุณและผู้คนมากมายประมาณสองในสามคนทั่วโลกใช้อินเทอร์เน็ตทุกวัน กิจกรรมในลักษณะการผิดกฎหมายอาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงการแฮ็กและการก่อการร้าย เป็นต้น แม้แต่เว็บจำนวนมากก็สามารถติดตามตำแหน่งของคุณได้ด้วย ดังนั้น เพื่อให้มั่นใจถึงความเป็นส่วนตัวของคุณ คุณต้องซ่อนตำแหน่งของคุณ นั่นเป็นเหตุผลที่มาบอกวิธีการป้องกันไม่ให้เว็บไซต์ติดตามตำแหน่งของคุณ ด้วยขั้นตอนดังนี้   วิธีตั้งค่าไม่ให้เว็บไซต์ติดตามตำแหน่งคุณ สำหรับ Chrome เวอร์ชั่นคอม     คลิกจุดสามจุด … มุมขวาบนของ Chrome แล้วเลือกที่ การตั้งค่า     เลือกด้านซ้ายที่ ข้อมูลส่วนบุคคลและความปลอดภัย แล้วคลิกที่ การตั้งค่าเว็บไซต์     คลิกที่ ตำแหน่ง >>     แล้วเลือกที่ ไม่อนุญาตให้เว็บไซต์ดูตำแหน่งคุณ แค่นี้ Chrome จะดำเนินการไม่ให้เว็บไซต์อื่นๆมาติดตามตำแหน่งคุณได้   สำหรับผู้ใช้ Edge บน Windows10 หรือ Windows11 ให้เปิดหน้า Settings ของ Windows10 หรือ Windows…

ผู้สมัครสอบครูอินเดียหลายคน “โกงสอบ” ด้วยรองเท้าแตะบลูทูธ ราคาหลักแสน

Loading

  การแข่งขันดุเดือดมาก ว่าที่ครูอินเดียในรัฐราชสถานเข้าสอบวัดคุณสมบัติอย่างน้อย 25 คน ถูกจับได้ว่า “โกงสอบ” ด้วยการใส่รองเท้าแตะซ่อนซิม ติดอุปกรณ์บลูทูธ การทุจริตสอบเป็นปัญหาใหญ่ในอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสนามสอบเปลี่ยนชีวิต เช่นเมื่อ สองสามปีก่อน ภาพเหลือเชื่อที่ผู้คนปีนกำแพงอาคารโรงเรียนแห่งหนึ่ง เพื่อส่งกระดาษคำตอบให้นักเรียนสอบปลายภาคในรัฐพิหาร ก็เคยเป็นข่าวดังทั่วโลกมาแล้ว ล่าสุด ในปีนี้ หลายเมืองในรัฐราชสถานตัดไฟแต่ต้นลม ขนาดตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ต แต่ก็ยังไม่สามารถขัดขวางบรรดาหัวหมอเทคโนโลยีได้ เมื่อวิธีการล่าสุดที่พวกเขาใช้โกงสอบก็คือ รองเท้าแตะซ่อนซิมการ์ดเชื่อมต่อบลูทูธ เมื่อวันที่ 26 ก.ย.ที่ผ่านมา รัฐราชสถานเปิดศูนย์ทดสอบคุณสมบัติครูกว่า 4 พันแห่ง โดยมีผู้สมัครสอบกว่า 1.6 ล้านคน เป็นการจัดสอบครั้งแรกในรอบ 3 ปี แต่มีอัตรารองรับเพียง 3.1 หมื่นเท่านั้น การแข่งขันดุเดือดนำไปสู่การเสี่ยงโกงสอบ ต่อให้ตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตทั่วรัฐ ศูนย์สอบหลายแห่งห้ามสวมรองเท้าคัตชู หรือรองเท้ารัดส้น ตลอดจนตรวจค้นตอนเข้าห้องสอบ แต่คนจะโกงก็หาทางจนได้ มีผู้สมัครสอบจำนวนหนึ่ง ถูกจับได้ว่าสวมรองเท้าแตะซ่อนซิมการ์ดไว้ข้างใน เชื่อมต่อกับหูฟังบลูทูธจิ๋วซ่อนในหูอย่างลึกจนมองไม่เห็น ชนิดที่ว่า มีผูัสมัครสอบอยู่รายหนึ่งฝังหูฟังไว้ลึกมากจนต้องให้หมอช่วยคีบออก   #Rajasthan: Five including a…

กลุ่มต่อต้านปาระเบิดคลัง Denko ที่ย่างกุ้ง อ้างเหตุอยู่เบื้องหลังปั่นราคาน้ำมันในพม่า

Loading

  MGR Online – กลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารในย่างกุ้ง ปาระเบิดใส่หน้าคลังน้ำมัน Denko ในเขตอุตสาหกรรมย่านหล่ายต่าหย่า กรุงย่างกุ้ง อ้างเหตุเป็นธุรกิจที่สนับสนุนกองทัพพม่า และอยู่เบื้องหลังการปั่นราคาขายปลีกน้ำมันในสัปดาห์ที่แล้ว ช่วงค่ำวานนี้ (3 ต.ค.) Free Tiger Ranger กลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารซึ่งมีพื้นที่เคลื่อนไหวอยู่ในย่านหล่ายต่าหย่า กรุงย่างกุ้ง ได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า เมื่อเวลา 18.00 น.ที่ผ่านมา Free Tiger Ranger ได้ปาระเบิดเข้าไปยังบริเวณด้านหน้าคลังน้ำมันของบริษัท Gold Delta ริมถนนกะหน่องมินตา ในเขตอุตสาหกรรมฉ่วยลินปาน ย่านหล่ายต่าหย่า     แถลงการณ์ของ Free Tiger Ranger กล่าวหาว่าบริษัท Gold Delta ซึ่งเป็นเจ้าของสถานีบริการน้ำมันแบรนด์ Denko เป็น 1 ในธุรกิจที่ให้การสนับสนุนกองทัพพม่า และมีส่วนในการปั่นราคาขายปลีกน้ำมันในพม่าให้พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จนทำให้เกิดการตื่นตระหนกของผู้คนจำนวนมาก และสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนทั่วประเทศ Free Tiger Ranger บอกว่า ระเบิดที่ถูกปาใส่ไปยังหน้าคลังน้ำมัน Denko…

อาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ต ก่อต้นทุนทางเศรษฐกิจแค่ไหน

Loading

  เมื่อหลายองค์กรถูกโจมตีทางไซเบอร์ และการที่หน่วยงานรัฐถูกจารกรรมข้อมูลบ่อยครั้ง สะท้อนปัญหาอาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อเราทุกคน ไม่กี่วันที่ผ่านมา มีข่าวหลายองค์กรถูกโจมตีทางไซเบอร์ ทั้งข้อมูลนักท่องเที่ยวต่างชาติหลายล้านคนที่มาไทยรั่วไหล (22 ก.ย. 2564) ฐานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขถูกเจาะ ทำให้ข้อมูลคนไข้นับหมื่นคนถูกขโมยไป (7 ก.ย. 2564) การที่หน่วยงานรัฐถูกจารกรรมข้อมูลบ่อยครั้ง สะท้อนปัญหาอาชญากรรมบนอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น อันตรายต่อเราทุกคน Cybercrime Magazine ประเมินว่า ในปี 2021 ความเสียหายจากอาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ตทั่วโลกสูงถึง 6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถ้าเทียบความเสียหายคิดเป็นขนาดของ GDP พบว่าเป็นรอง GDP ของประเทศสหรัฐอเมริกาและจีนเท่านั้น ขณะที่ PurpleSec LLC ระบุว่าตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 จำนวนอาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า   อาชญากรรมบนอินเทอร์เน็ตมีหลายประเภท ครอบคลุมตั้งแต่เรื่องความมั่นคงของชาติ ความปลอดภัยของหน่วยงานและบุคคล เรื่องการเงิน เรื่องคุ้มครองข้อมูล ภาพโป๊เปลือย ฯลฯ จากข้อมูลของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีระบุว่า อาชญากรรมที่พบบ่อยบนอินเทอร์เน็ตมี 8 ประเภท ได้แก่ 1. ด้านการเงิน เช่น…

กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า แถลงเคสปิดล้อม “ฮูแตยือลอ” อ.บาเจาะ

Loading

  นราธิวาส-กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า แถลงเคสปิดล้อม “ฮูแตยือลอ” อ.บาเจาะ วิสามัญ ผกร.ดับ 4 ราย   เมื่อช่วงเช้าวันนี้ (4 ต.ค. 2564) พันเอกเกียรติศักดิ์ ณีวงษ์ โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า แถลงความคืบหน้าเหตุการณ์เจ้าหน้าที่สนธิกำลังเข้าบังคับใช้กฎหมายต่อกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงที่หลบซ่อนอยู่ในพื้นที่ป่าพรุ บริเวณ ม.6 บ้านฮูแตยือลอ ต.บาเระใต้ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส หลังจากเมื่อวานนี้ (3 ต.ค.2564) คนร้ายได้ยิงต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ เพื่อพยายามเปิดทางหลบหนีออกจากวงล้อม จนเกิดการปะทะกันขึ้น ทำให้ผู้ก่อเหตุรุนแรงเสียชีวิต จำนวน 4 ราย ประกอบด้วย 1.นายบารูวัน กือจิ มีหมายจับ ป.วิอาญา จำนวน 2 หมาย กรณียิงนายมูฮำมัดซับรี สาและ อส.อ.บาเจาะ เสียชีวิต เมื่อ 10 มี.ค.2564 และกรณีใช้อาวุธปืนยิงเข้าใส่จุดตรวจด้านข้าง…

QR Code อาจไม่ปลอดภัย พบถูกใช้เป็นเป้าหมายของแฮกเกอร์

Loading

  ในงานประชุมสัมนาของ TNW Conference 2021 Anna Chung นักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของ Palo Alto Networks ได้เปิดเผยเทรนด์รูปแบบการโจมตีใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงของการระบาดโควิด19 ที่ผ่านมา มีการใช้รหัส QR เป็นเครื่องมือสำคัญในการลดการสัมผัสและใช้เข้าถึงข้อมูลการติดต่อที่สำคัญตลอดการระบาดใหญ่ ทำให้สามารถแบ่งปันข้อมูลได้อย่างสะดวกและไม่ต้องสัมผัส แต่ QR Code ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีที่ปลอดภัย เพราะมันได้เปิดกว้างสำหรับการแสวงหาผลประโยชน์จากผู้โจมตีทางไซเบอร์ Quick response หรือ QR codes สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลายรูปแบบ เช่นการย่อ URL ซึ่งให้เราเข้าถึงข้อมูลเช่นเว็บไซต์และข้อมูลติดต่อได้ทันที และยังสามารถอนุญาตให้ผู้อื่นลงชื่อเข้าใช้เครือข่าย Wi-Fi โดยไม่ต้องใช้รหัสผ่าน แต่หลายคนคิดก่อนจะสแกนหรือไม่ ? เปล่าเลย เพราะทุกคนคิดว่ามันปลอดภัย   ในความเป็นจริงแล้ว เทคโนโลยีรหัส QR นั้นมีความปลอดภัยในตัวเอง แต่เมื่อการพึ่งพาอาศัยกันเพิ่มมากขึ้น และถูกนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ อาชญากรไซเบอร์ก็ให้ความสนใจครับ โดยรหัสเหล่านี้อาจเป็นทางเข้าสู่การโจมตีทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากผู้ใช้จะไม่ได้เห็นหน้าเว็บ หน้าแอปพลิเคชัน ฯลฯ ที่อยู่เบื้องหลังรหัส QR แต่เมื่อเราสแกน มันจะพาไปยังหน้าเว็บ…