ข้อสังเกตด้าน รปภ.ต่อพื้นที่ที่เกิดเหตุร้ายในกรุงปารีส ปี 2558

Loading

พื้นที่กรุงปารีสและบริเวณชานกรุงแบ่งออกเป็น 20 เขต ถึงแม้แต่ละเขตมีสภาพทั่วไปที่ต่างกัน แต่ต่างเป็นแหล่งประวัติศาสตร์และสถานที่ท่องเที่ยวระดับโลก

ฝรั่งเศสคุมเข้มแน่นปึ้ก! ผู้นำเกือบ 150 ชาติร่วมประชุมโลกร้อนที่ปารีส

Loading

ฝรั่งเศสคุมเข้มรักษาความปลอดภัย ขณะผู้นำประเทศและผู้นำรัฐบาลเกือบ 150 ประเทศเข้าร่วมการประชุมยูเอ็นว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ที่ปารีส เมื่อวันที่ 29 พ.ย.58 สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน ผู้นำประเทศและผู้นำรัฐบาลถึง 147 ประเทศ รวมทั้งบรรดาผู้แทนจากหลายหน่วยงาน รวมแล้วราว 40,000 คน เข้าร่วมการประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือรู้จักในชื่อสั้นๆ ว่า การประชุม ซีโอพี 21 (COP21) ที่กรุงปารีส ซึ่งเริ่มขึ้นแล้วในวันอาทิตย์ที่ 29 พ.ย. และจะมีการประชุมในหลายภาคส่วนไปจนถึงวันที่ 11 ธ.ค. 58 บีบีซี แจ้งว่า การที่จะมีผู้นำประเทศและรัฐบาลมาร่วมการประชุม ซีโอพี 21 ถึง 147 ประเทศ ถือเป็นจำนวนที่มากกว่าการประชุม ซีโอพี 21 ที่กรุงโคเปนเฮเกน เมืองหลวงเดนมาร์ก ในปี 2552 ซึ่งครั้งนั้น ได้มีผู้นำประเทศและรัฐบาลมาร่วมประชุม 115 ประเทศ และยังเป็นครั้งสุดท้ายที่ที่ประชุมเกือบจะบรรลุข้อตกลงในการหาทางหยุดยั้ง การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศบนโลก อันเนื่องจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดสภาวะเรือนกระจก และทำให้โลกร้อนขึ้น…

ไฟส่องสว่าง

Loading

การให้แสงสว่างเพื่อเสริมมาตรการการรักษาความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้ได้มองเห็นถึงการลุกล้ำหรือการบุกรุก หรือการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในพื้นที่

ความเป็นมาของการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่

Loading

     การรักษาความปลอดภัยสถานที่ คือ มาตรการป้องกันหรือป้องปรามที่กำหนดไว้ โดยมุ่งให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่จะดำเนินการได้และมีความพร้อมต่อการเผชิญกับเหตุร้าย      ความจริงการรักษาความปลอดภัยสถานที่มาจากสามัญสำนึกและสัญชาติญาณของมนุษย์ในการระวังภัยอันตราย นับแต่ยุคหินที่อาศัยอยู่ตามถ้ำ มนุษย์ยุคหินที่อยู่เป็นกลุ่มรวมกันภายในถ้ำเดียวกันจะร่วมมือกันปกป้องแหล่งที่อยู่อาศัย ไม่ให้มนุษย์ต่างกลุ่มหรือสัตว์ป่าเข้ามาหรือเข้าใกล้พื้นที่อาศัยของกลุ่มตน วิธีป้องกัน เช่น ก่อกองไฟไว้ที่ปากถ้ำ มียามเฝ้าทางเข้า และเมื่อรู้จักเลี้ยงสุนัข ก็ใช้สุนัขช่วยเฝ้าระวัง เป็นต้น ต่อมาเมื่อเจริญขึ้น จึงรู้จักประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรงสำหรับปกป้องพื้นที่อาศัย เช่น ทำรั้วแบ่งอาณาเขตไปพร้อมกับการป้องกันภัยจากการรุกล้ำ จากกองไฟบนพื้นดินกลายเป็นคบไฟ และเป็นแสงไฟจากโคมส่องสว่างหรือไฟฉาย การประดิษฐ์เครื่องมือประเภทต่าง ๆ มาช่วยหรือเสริมการเฝ้าระวัง สังเกตการณ์ และการป้องกันจึงมีพัฒนาการเรื่อยมาพร้อมกับมีประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้น      ถึงแม้จะเกิดการพัฒนาวิธีการและเครื่องมืออุปกรณ์ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างมากมาย แต่จุดมุ่งหมายในการใช้งานยังคงเดิม คือ การเฝ้าระวังและตรวจตรามิให้เกิดการบุกรุก กับแจ้งเตือน ป้องกัน และขัดขวางการลุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ในครอบครอง อย่างไรก็ดี อาคาร สิ่งก่อสร้าง หรือสถานที่ตั้งในปัจจุบันมีทั้งขนาดที่ใหญ่และมีความสลับ ซับซ้อนของอาคารมากขึ้น จากสภาพนี้จึงต้องมีการวางแนวทางป้องกันมากยิ่งกว่าถ้ำในยุคหิน ดังนั้น ระบบการป้องกันจึงมีความซับซ้อนตามไปด้วย มาตรการการรักษาความปลอดภัยจึงมีการกำหนดขอบเขตมากขึ้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่รองรับกับความซับซ้อนเหล่านั้น ได้แก่ ต้องมีการกำหนดพื้นที่ที่จะดำเนินการรักษาความปลอดภัย ต้องมีการกำหนดมาตรการการรักษาความปลอดภัยเช่น จัดทำรั้ว/กำแพงแบ่งพื้นที่ จัดทำแสงส่องสว่าง จัดทำเครื่องกีดขวาง…

เหตุผลที่ต้องทำการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล

Loading

เนื่องจากบุคคลคือสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการรั่วไหลของสิ่งที่เป็นความลับหรือสิ่งที่มีความสำคัญของทางราชการ จึงเป็นผลให้ต้องกำหนดการการรักษาความปลอดภัยบุคคลขึ้นมาเพื่อป้องกันภัยอันตราย จุดอ่อนที่เป็นภัยของบุคคลมาจาก    – ความภาคภูมิใจและความถือดี ความภาคภูมิใจนี้ทำให้เกิดความต้องการโอ้อวด แสดงออกเพื่อให้เห็นถึงความรอบรู้ ให้เป็นที่ยอมรับจากผู้อื่น ส่วนการถือดีทำให้เกิดความดื้อดึง อวดดีที่จะได้ฝ่าฝืนกฎระเบียบอย่างปราศจากจิตสำนึก นับเป็นจุดอ่อนอย่างยิ่งที่จะถูกยั่วยุให้เปิดเผยสิ่งที่บุคคลนั้นได้รับรู้    – ความเชื่อหรือไว้วางใจ คือ การบอกเล่าถึงสิ่งที่เป็นความลับหรือข้อมูลข่าวสารสำคัญของทางราชการให้แก่บิดามารดา สามีภรรยา พี่น้อง ญาติ หรือเพื่อนสนิทให้ได้รับทราบ ทั้งที่บุคคลเหล่านั้นไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้อง    – ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เนื่องจากไม่มีจิตสำนึกถึงความสำคัญของสิ่งที่อยู่ในครอบครองของตน หรือไม่ตระหนักต่อภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของตน    – การขาดสติ การขาดความยั้งคิด เนื่องจากการเสพสุรา ของมึนเมา หรือยาเสพติด ทำให้เปิดเผยสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการโดยไม่รู้สึกตัว    – ความประมาท เลินเล่อ ความเกียจคร้าน ทำให้เกิดการละเลยการปฏิบัติตามกฎระเบียบเพื่อป้องกันภัยอันตราย    – ความกระตือรือร้นจนเกินควร มีความตั้งใจมุ่งมั่นอย่างมากต่อการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เป็นความลับ อาจทำให้เผลอเปิดเผยสิ่งที่เป็นความลับแก่บุคคลอื่น โดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะตนเองมุ่งประสงค์ที่จะปฏิบัติงานจนปราศจากการไตร่ตรองถึงผลกระทบในแง่อื่นๆ ที่จะเกิดขึ้น

การคุกคามด้วยวัตถุระเบิด

Loading

เหตุผลในการคุกคามด้วยวัตถุระเบิด การคุกคามด้วยวัตถุระเบิดพิจารณาได้ 2 สาเหตุ ผู้ทำกระทำเพราะ ต้องการสร้างความเสียหายให้แก่เป้าหมายตามที่ตนกำหนดหรือคาดการณ์ไว้ ผู้ทำกระทำเพื่อ ให้เกิดความตื่นตระหนก หวาดกลัว จนฝ่ายปกครองไม่สามารถควบคุมความตื่นตระหนก หวาดกลัวที่เกิดขึ้นได้ การเตรียมการเพื่อเผชิญกับการลอบวางระเบิด ต้องมีการประเมินพื้นที่ที่เอื้อหรืออาจเอื้อต่อการลอบวางระเบิดไว้ก่อน เช่น ที่จัดเก็บน้ำมัน/แก๊ซ พื้นที่จัดเก็บสารเคมี เป็นต้น การเข้าถึงพื้นที่ดังกล่าวและผลความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ต้องจัดทำแผนผังบริเวณโดยรอบและอาคารที่ตั้งที่มีรายละเอียดชัดเจน และตรงกับสภาพการใช้งานในปัจจุบัน เช่น พิมพ์เขียวของอาคาร ตำแหน่งในอาคารที่มีการปรับปรุง/แก้ไขไปจากแบบแปลนเดิม เป็นต้น เมื่อใดที่ต้องเผชิญเหตุ แผนผังเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องนำมาใช้ในการตรวจสอบเพื่อค้นหาจุดที่เอื้อต่อการก่อเหตุร้าย โดยเฉพาะที่ซุกซ่อนระเบิด และกำหนดเส้นทางอพยพออกจากพื้นที่เพื่อให้เกิดความเสียหายที่น้อยที่สุด การจัดทำแผนผังมีข้อพิจารณาคือ 2.1 บริเวณที่ตั้งและอาคารสถานที่เป็นแบบธรรมดา การจัดทำแผนผังสามารถแบ่งออกเป็นส่วนพื้นที่ที่ใช้ในการสนับสนุน เช่น สวนพักผ่อน ห้องน้ำ ทางเดิน ระเบียง เป็นต้น กับส่วนพื้นที่ที่ใช้ทำงาน พื้นที่นี้มีการติดตั้งหรือจัดเก็บทรัพย์สิน 2.2 บริเวณที่ตั้งและอาคารสถานที่เป็นแบบซับซ้อน การจัดทำแผนผังดำเนินการเช่นเดียวกับแบบธรรมดา แต่จำเป็นต้องเชิญผู้แทนที่รับผิดชอบพื้นที่จากทุกส่วนของอาคารมาร่วมจัดทำแผนผัง เพื่อ ให้ทราบรายละเอียดภายในตรงตามความเป็นจริงให้มากที่สุด เช่น อาคารหลายชั้น หรือมีเส้นทางเชื่อมโยงกับอาคารอื่น การปรับ-กั้นพื้นที่บางส่วนของอาคารเป็นการภายใน การจัดทำแผงควบคุมวงจรไฟฟ้าเพิ่ม เป็นต้น กำหนดสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจนและต้องเป็นที่รับทราบ-ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด สำหรับควบคุมการเผชิญเหตุในชั้นต้น ก่อนถ่ายโอนให้แก่หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง