อึ้ง! นักข่าวจีนงง ปินส์ใช้ปืนใหญ่สมัยสงครามโลก รักษาความปลอดภัยในการประชุมเอเปค

Loading

  ภาพจากเฟซบุ๊ก China Xinhua News ภาคภาษาไทย เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2558 เฟซบุ๊ก China Xinhua News ภาคภาษาไทยเผยแพร่ภาพ และข้อความตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับสภาพการรักษาความปลอดภัยในการประชุมสุดยอด ผู้นำกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก หรือ เอเปค (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) จัดขึ้นในวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2558 ซึ่งมีประเทศฟิลิปปินส์เป็นเจ้าภาพ โดยมีผู้นำสูงสุดของชาติชั้นนำในโลกเข้าร่วมมากมาย โดยมีรายละเอียดดังนี้ “ฟิลิปปินส์ใช้อาวุธโบราณรักษาความปลอดภัยในการประชุมเอเปค เนื่องจากวันที่ 18-19 พฤศจิกายนนี้ จะมีการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 23 ขึ้นที่กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เพื่อเป็นการดูแลรักษาความปลอดภัยในระหว่างการประชุม หน่วยงานรัฐบาลของฟิลิปปินส์จึงได้ระดมกำลังพลประมาณ 3.2 หมื่นคนเข้าร่วมในการรักษาความปลอดภัยและการรับมือกับภาวะฉุกเฉิน แต่ทว่า เมื่อมองดูแล้วในบรรดาอาวุธที่เตรียมใช้รักษาความปลอดภัยในระหว่างการประชุม เอเปคนั้นมีอยู่ไม่น้อยทีเดียวที่เป็นอาวุธ “โบราณ” ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ที่เห็นในรูปคือปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานBofors หนึ่งในอาวุธรบภาคพื้นดินสำหรับป้องกันภัยทางอากาศขนาดกลางที่ใช้กันมาก ตั้งแต่หลังสมัยสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ฟิลิปปินส์ได้ส่งเจ้าหน้าที่ทหารจำนวนมากมาควบคุมดูแลความสงบและความปลอดภัย…

ประเภทของสารเคมีอันตราย

Loading

อันตรายทางด้านเคมี ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องการสารเคมีจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่าสารเคมีที่เกี่ยวข้องนั้นอาจมีอันตรายอย่างเฉียบพลัน อันเกิดจากสารระเบิด ไฟไหม้ การระคายเคืองต่าง ๆ จากพิษของสารเคมี รวมทั้งผลที่จะเกิดขึ้นต่อสุขภาพในระยะยาว ดังนั้นผู้ทำงานจะต้องเข้าในถึงพิษภัยของสารที่ตัวเองเกี่ยวข้อง อันตรายในด้านเคมีนี้จะกล่าวถึง ประเภทของสารเคมี อันตรายจากสารเคมีในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งผลที่มีต่อสุขภาพ ข้อมูลและสัญลักษณ์ที่พึงทราบและการกู้ภัยเมื่อเกิด เหตุการณ์ฉุกเฉิน การจำแนกประเภทของสารเคมี และวัตถุอันตราย ตลอดเวลาที่ผ่านมาได้มีความพยายามที่จะวางมาตรฐานต่าง ๆ ขึ้น เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ และสิ่งแวดล้อมมาตามลำดับ จนปี พ.ศ. 2499 คณะผู้เชี่ยวชาญด้านขนส่งสินค้าอันตราย ซึ่งตั้งขึ้นโดย Economic and Social Council. ของ United Nations. ได้กำหนดมาตรฐานเบื้องต้นในการขนส่งวัตถุอันตรายขึ้นโดยแบ่งวัตถุอันตรายออกเป็น 9 ประเภท เพื่อประโยชน์ในการขนส่ง การใช้และการเก็บวัตถุอันตราย ให้มีความปลอดภัย ดังนี้   ประเภท 1 วัตถุระเบิด (Explosives) เป็นวัตถุที่ระเบิดลุกติดไฟได้ เมื่อ ได้รับความร้อน ประกายไฟ เปลวไฟ หรือเมื่อได้รับการกระทบกระเทือน การเสียดสี หรือถูกกระทำด้วยการจุดระเบิด…

กฏหมายเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

Loading

กฏหมายเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล หมายเหตุ: ข้อกฏหมายอ้างอิงที่มาจาก http://report.thaihotline.org/ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ “โฆษณา”หมายความรวมถึงกระทำการไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการค้า แต่ไม่หมายความรวมถึงเอกสารทางวิชาการหรือตำราที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ส่วนที่ 3 สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล มาตรา 35 สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมได้รับความคุ้มครองการกล่าวหรือไขข่าวแพร่ หลายซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชน อันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวจะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากการแสวงประโยชน์โดยมิชอบจากข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย การตรวจ การกัก หรือการเปิดเผยสิ่งสื่อสารที่บุคคลมีติดต่อถึงกัน รวมทั้ง การกระทำด้วย ประการอื่นใดเพื่อให้ล่วงรู้ถึงข้อความในสิ่งสื่อสารทั้งหลายที่บุคคลมี ติดต่อถึงกัน จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287 ผู้ใด (1) เพื่อความประสงค์แห่งการค้า หรือโดยการค้า เพื่อการจ่ายแจก หรือเพื่อการแสดงอวดแก่ประชาชน ทำ…

การก่อวินาศกรรมโดยไม่ใช้วัตถุระเบิด

Loading

การก่อวินาศกรรมวิธีนี้อาศัยคุณสมบัติของสิ่งที่จะนำมาใช้วินาศกรรมโดยไม่ต้องอาศัยวัตถุระเบิด เพียงแต่ตัววินาศกรอาจต้องพลีชีพไปพร้อมด้วยเท่านั้น  อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้จำเป็นจะต้องมีการวางแผนและเตรียมการในกลุ่มผู้ปฏิบัติเป็นอย่างดี ทั้งจะต้องมีงบประมาณสนับสนุนเพียงพอ นอกจากนี้วินาศกรต้องมีความรู้และศึกษาลู่ทางก่อนที่จะพิจารณาเลือกใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือยานพาหนะที่มีคุณสมบัติและประสิทธิภาพเพียงพอที่จะทำลายเป้าหมาย สำหรับการก่อวินาศกรรมในรูปแบบนี้นอกจากจะให้ผลทำลายล้างแล้ว ยังก่อให้เกิดภาวะหวาดระแวงในสังคมและลดศรัทธาที่มีต่อฝ่ายปกครองด้วย ซึ่งจะเห็นได้จากกรณีวินาศกรของกลุ่ม อัล เควดาใช้เครื่องบินพาณิชย์พุ่งชนอาคารเวิร์ดเทรด เซ็นเตอร์ในสหรัฐฯ  นับเป็นการก่อวินาศกรรมที่สามารถกระทำได้อย่างเกินความคาดหมาย และยากต่อการป้องกัน  อีกทั้งแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางความคิดของวินาศกร ที่เลือกใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องบินมาทำลายอาคาร ซึ่งให้ผลลัพธ์ได้เท่าเทียมกับวัตถุระเบิด กรณีวินาศกรรมดังกล่าวนับเป็นตัวอย่างของการนำเอาสิ่งประกอบในชีวิตประจำวันมาใช้ในก่อวินาศกรรมอย่างบรรลุผล  ฉะนั้นวิธีการนี้ยอมส่งผลให้เกิดการปรับใช้กับสิ่งอื่นได้อีก เช่น รถยนต์ รถไฟ หรือเรือบรรทุกน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ  และรอโอกาสที่เหมาะสมในการดำเนินการ เท่านั้น

การก่อวินาศกรรมด้วยอาวุธชีวภาพ (Biology Warefare)

Loading

อาวุธชีวภาพในที่นี้หมายถึง การเพาะไวรัส แบคทีเรีย เห็ดรา และพืชบางชนิด เพื่อเตรียมไว้สำหรับการบ่อนทำลาย วินาศกรรม หรือเพื่อทำสงคราม โดยมุ่งกระทำต่อสิ่งมีชีวิตทั้งสัตว์และพืช อันจะส่งผลกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศ ทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจ  ตัวอย่างเช่น เชื้อโรคที่เชื่อว่ามีการเพาะเลี้ยงไว้อย่างปกปิดในหลายประเทศ ได้แก่ เชื้อแอนแทรกซ์(Anthrax)ที่สร้างแผลพุพองในสัตว์เลี้ยง เมื่อมนุษย์ได้เชื้อประเภทนี้ก็อาจเสียชีวิตได้เช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีเชื้อกาฬโรค อหิวาตกโรค เชื้อโรคที่ทำให้อาหารเป็นพิษ(Botulism) เชื้อเห็ดราหรือแบคทีเรียที่สามารถทำลายพืชผลผลิตการเกษตรและปศุสัตว์ เป็นต้น  เชื้อชีวภาพเหล่านี้ เมื่อนำไปปล่อยในแหล่งสาธารณูปโภค แหล่งที่อยู่อาศัย หรือพื้นที่กสิกรรม จะสร้างความเสียหายและก่อกวนความสงบในสังคมทั้งภาครัฐและประชาชนอย่างยิ่ง  ปัจจุบัน มีการกล่าวโทษหลายประเทศว่า ทำการเพาะเลี้ยงเชื้อชีวภาพไว้ใช้ในการสู้รบ อย่างเช่น สหรัฐฯ กล่าวโทษว่า อิรักมีเชื้อแอนแทรกซ์ประมาณ 12,000 ลิตร และ Botulism ประมาณ 500,000 ลิตร เพื่อบรรจุที่หัวขีปนาวุธสำหรับยิงไปตามประเทศศัตรู เป็นต้น การก่อวินาศกรรมด้วยอาวุธชีวภาพสามารถดำเนินการได้ โดยนำเชื้อโรคที่เพาะเลี้ยงไปปล่อยลงตามแหล่งเป้าหมายที่ง่ายต่อการดำเนินการและให้ผลรวดเร็ว เช่น สถานีผลิตน้ำประปา อ่างเก็บน้ำ หลังจากนั้น เชื้อชีวภาพจะแพร่กระจายตัวเอง โดยทำลายสิ่งมีชีวิตด้วยพิษภัยที่สร้างไว้  เชื้อชีวภาพที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงนี้เชื่อว่า สามารถแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่า พิษร้ายแรงกว่า และทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าเชื้อชีวภาพตามธรรมชาติ…