Soft Power ภัยคุกคามที่พึงระวัง

Loading

Soft Power ภัยคุกคามที่พึงระวัง หรือการใช้กําลังอํานาจอย่างนุ่มนวล (ขณะนี้ยังไม่มีคําแปลอย่างเป็นทางการ จึงขอใช้คําว่า Soft Power ในลําดับต่อ ๆ ไป)เป็นคําที่ได้รับการเรียกและให้นิยามโดย JosephS. Nye, Jr. ในหนังสือ Soft Power: The Means to Success in World Politics นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๗ โดย Nye ได้กล่าวว่าแนวคิดพื้นฐานของอํานาจในการทําให้ผู้อื่นปฏิบัติตามความต้องการของเรา มีวิธีการที่ทําได้โดยใช้กําลังบังคับ การล่อด้วยผลตอบแทน และการจูงใจให้ร่วมมือ โดย Nye ให้ความเห็นว่า การสร้างแรงจูงใจในวิธีที่สามลงทุนน้อยกว่าสองวิธีแรกมากซึ่งก็คือ การใช้ Soft Power นั่นเอง ทั้งนี้ในปัจจุบันมีการใช้ Soft Power กันอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นชาติตะวันตก ชาติตะวันออก หรือแม้กระทั่งสหรัฐ ฯ ก็มีการใช้ Soft Power อย่างมาก ตลอดจนจีนซึ่งกําลังเติบโตอย่างกล้าแข็งก็ได้มีการใช้ SoftPower…

รถไฟญี่ปุ่นเตือนผ่านกระดาษชำระ “อย่าใช้สมาร์ทโฟนขณะเดิน!”

Loading

        อุบัติเหตุที่เกิดจากพฤติกรรมใช้สมาร์ทโฟนระหว่างเดินเพิ่มขึ้นอย่างมาก จนบริษัทรถไฟญี่ปุ่นต้องจัดทำคำเตือนไว้บน “กระดาษชำระ” ให้ห้องน้ำภายในสถานี         ผู้ใช้ห้องน้ำภายในสถานีรถไฟในเขตกรุงโตเกียวและใกล้เคียงต้องแปลกใจเมื่อพบว่ากระดาษชำระในห้องน้ำ มีรูปภาพรอยเท้าบนสมาร์ทโฟนพร้อมข้อความว่า “โปรดงดใช้สมาร์ทโฟนขณะกำลังเดิน”         โครงการรณรงค์นี้เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทรถไฟอีสต์ เจแปน เรลเวย์ ร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ของญี่ปุ่นคือ NTT Docomo, KDDI, และ SoftBank รวมทั้งสมาพันธ์โทรคมนาคมแห่งญี่ปุ่น ซึ่งพบว่าการใช้ป้ายประกาศธรรมดาหรือเสียงประกาศภายในสถานี ไม่สามารถทำให้บรรดาผู้โดยสารให้ความสนใจได้มากพอ         บริษัทรถไฟญี่ปุ่นพบว่า ผู้โดยสารจำนวนมากเอาแต่ก้มหน้าหมกมุ่นอยู่กับโทรศัพท์ของตัวเอง จนอาจเกิดอุบัติเหตุเป็นอันตรายกับทั้งตัวเองและคนที่อยู่รอบข้าง โดยเฉพาะในช่วงที่ผู้โดยสารหนาแน่นอาจมำให้เกิดการหกล้มเป็นโดมิโน จนอาจกลายเป็นการเหยียบกันตายได้          นอกจากการพิมพ์ข้อความเตือนบนกระดาษชำระแล้ว ในสถานีรถไฟหลายแห่งยังมีโฆษณาเตือนขนาดใหญ่ทั้งตามขั้นบันไดและฝาผนัง ให้ผู้โดยสารงดใช้สมาร์ทโฟนขณะเดินด้วย           นอกจากการรณรงค์ให้งดใช้สมาร์ทโฟนระหว่างเดินแล้ว สถานีรถไฟญี่ปุ่นกว่า 1,200…

ยิงปืนขึ้นฟ้า อายุความกี่ปี ?

Loading

คนส่วนใหญ่ ไม่ทราบว่า อายุความในคดีอาญา มีกี่ปี บางคน จะพูดรวม ๆ ว่า “อายุความอาญา 10 ปี 20 ปี” ซึ่งหากจะดูตามตัวบทกฎหมายแล้ว  การดูอายุความในความผิดอาญา ต้องดูว่า ความผิดอาญานั้นๆ มีโทษจำคุกกี่ปี  ถ้าโทษเยอะ อายุความจะยาว ถ้าโทษน้อย  อายุความสั้น อายุความในคดีอาญา มีบทบัญญัติอยู่ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95 “มาตรา 95  ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้  นับแต่วันกระทำความผิด อันเป็นขาดอายุความ 1.ยี่สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี 2.สิบห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปี แต่ยังไม่ถึงยี่สิบปี 3.สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปี ถึงเจ็ดปี 4. ห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งเดือนถึงหนึ่งปี 5. หนึ่งปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือนลงมา หรือต้องระวางโทษอย่างอื่น ……….” สำหรับการยิงปืนขึ้นฟ้า อาจเข้าข่ายความผิดในสองส่วนคือ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371 (พาอาวุธไปในเมือง…) และมาตรา…

กำแพงตรวจจับบุคคลด้วยสัญญาณวายฟาย

Loading

นักวิจัยที่ห้องทดลองวิทยาการคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์คิดค้นระบบที่สามารถตรวจบุคคลขณะกำลังเดินผ่านเข้ามาใกล้กำแพง โดยใช้เพียงสัญญาณวายฟาย ระบบนี้ทำงานโดยการใช้สัญญาณตรวจจับแสงที่สะท้อนกลับจากตัวคนและวิเคราะห์ข้อมูลทางกายภาพที่ได้จากแสงสะท้อนนั้น โดยระบบนี้สามารถจำแนกคน 15 คนได้ถูกต้องแม่นยำราว 90 % ทั้งนี้ ทีมนักวิจัยมีแผนจะปรับใช้เทคโนโลยีนี้ในการช่วยสอดส่องดูแลผู้สูงอายุภายในบ้าน เพื่อช่วยตรวจจับและป้องกันการหกล้มและการเกิดอุบัติเหตุที่บ้าน ผู้สื่อข่าวบีบีซีมีโอกาสคุยกับศ. ดีน่า คาทาบิถึงรายละเอียดของโครงการนี้ ที่มา เฟสบุคเพจ บีบีซีไทย – BBC Thai

“ไนซ์ ซีเคียวริตี้” ระบบจัดการด้านความปลอดภัย

Loading

สถานการณ์ด้านความปลอดภัยและความมั่นคงที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยเราเมื่อไม่นานมานี้คงให้เห็นชัดเจนว่าการมี “กล้องวงจรปิด” ติดทั่วบ้านทั่วเมืองเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ เหตุการณ์อย่างเช่นเหตุลอบวางระเบิดสนั่นโลกในใจกลางกรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้ บ่งบอกให้เห็นถึงความสำคัญของ “การนำมาใช้” ว่าสำคัญไม่น้อยกว่า “การมี” ภาพจากกล้องวงจรปิด แน่นอนว่า “การมี” ย่อมดีกว่า “ไม่มี” แต่ถ้ามีโดยไม่คำนึงถึงการนำมาใช้งานก็มักจะ “ยุ่ง” ทีหลังเสมอ ตัวอย่างเช่นเหตุระเบิดพระพรหมที่ว่านั้น สมมุติว่ากล้องวงจรปิดในบริเวณดังกล่าวมีอยู่ 500 ตัว เราต้องการตรวจสอบก่อนหน้าและหลังเวลาเกิดเหตุไปราว 30 นาที รวมแล้วเป็น 1 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบต้องนั่งตรวจสอบหาตัวและพฤติกรรม “ผู้ต้องสงสัย” ในเทปบันทึกภาพที่รวมความยาวเข้าด้วยกันถึง 500 ชั่วโมง เพ่งกันตาเเฉะ 10 วัน ยังไม่ครบถ้วน ทารุณกรรมผู้รับผิดชอบกันชัดๆ! ผมถึงรู้สึกโล่งใจแทนเจ้าหน้าที่อยู่ไม่น้อยที่ได้รับทราบจาก คุณสมหมาย ดำเนินเกียรติ กรรมการผู้จัดการบริษัท วิชั่นแอนด์ซีเคียวริตี้ ซิสเต็ม ในเครือสามารถเทเลคอม ว่าทางบริษัทได้นำเอาระบบซอฟต์แวร์อำนวยการด้านความมั่นคงปลอดภัยในระดับโลกเข้ามาให้บริการในไทยแล้ว “ไนซ์ ซีเคียวริตี้” คือระบบดังกล่าว ซึ่งเป็นของบริษัท ไนซ์ ซิสเต็ม แห่งอิสราเอล ประเทศที่การอำนวยการด้านความมั่นคงปลอดภัยถูกให้ความสำคัญประหนึ่งเป็นลมหายใจเข้าออก และถูกนำไปติดตั้งใช้กันอยู่ทั่วโลก…