สกัดไม่อยู่! โจรไซเบอร์ ป่วนระบบ ‘OT’ ในไทย

Loading

องค์กรในไทยกำลังรับศึกหนัก ถูกโจมตีด้านไซเบอร์ในระบบ OT เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลให้สูญเสียรายได้และเกิดค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาจำนวนมาก

Enzo Biochem ถูกปรับฐานละเลยความปลอดภัยไซเบอร์จนข้อมูลหลุด พบแชร์รหัสผ่านกัน 5 คน ไม่เคยเปลี่ยนรหัส 10 ปี

Loading

อัยการนิวยอร์กตกลงยอมความกับบริษัท Enzo Biochem ห้องปฎิบัติการที่ให้บริการตรวจแล็ปทางการแพทย์ที่ถูกโจมตีไซเบอร์เมื่อเดือนเมษายน 2023 จนข้อมูลคนไข้รั่วไหล 2.4 ล้านราย

รัฐบาลดิจิทัล (10): ‘คน’ …เรียนไม่รู้จบ

Loading

  “คน” เป็นหัวใจสำคัญที่สุดจาก 3 ปัจจัยหลักในการปรับเปลี่ยนองค์กรไปสู่ดิจิทัล ซึ่งได้แก่ คน กระบวนการและเทคโนโลยี   สำหรับเป้าหมายของปัจจัยเรื่อง “คน” คือ การสร้างทัศนคติของคนในองค์กรให้พร้อมปรับเปลี่ยน (Growth Mindset) การสร้างความเป็นผู้นำในการปรับเปลี่ยน และการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล ทั้งหมดนี้ก็เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์คือ บุคลากรภาครัฐที่มีประสิทธิผลในการทำงานสูงนั่นเอง   เราอาจแบ่งบุคลากรในองค์กรภาครัฐเป็นกลุ่มกว้างๆ ได้ 4 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริหารระดับสูง ซึ่งรวมผู้นำสูงสุดขององค์กรและผู้บริหารระดับรองถัดมา กลุ่มผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งคุมระดับกองหรือฝ่ายต่างๆ เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานโดยตรง กลุ่มเจ้าหน้าที่สายเทคโนโลยีดิจิทัลหรือเทคโนโลยีสารสนเทศ และกลุ่มเจ้าหน้าที่ที่เหลือทั้งหมด   เนื่องจากแต่ละกลุ่มมี “บทบาทหน้าที่” ในการปรับเปลี่ยนองค์กรแตกต่างกัน จึงมีเป้าหมายในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นแตกต่างกัน   บทบาทสำคัญของผู้นำองค์กร คือ การกำหนดวิสัยทัศน์ในการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลขององค์กร ผู้นำสูงสุดไม่จำเป็นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัล เพียงแต่ต้องรู้ว่า เป้าหมายของหน่วยงานต้องการอะไร แล้วตอบคำถามให้ได้ว่า “ภาพสุดท้าย” ของการดำเนินภารกิจขององค์กรจะเปลี่ยนไปอย่างไรถ้านำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้   การพัฒนาของผู้บริหารระดับสูงจึงเป็นเรื่องการสร้างความเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง สามารถกำหนดเป้าหมาย แต่งตั้งผู้บริหารระดับรองที่มาจากสายงานหลักให้มาขับเคลื่อนต่อจากเบอร์หนึ่ง แล้วทำหน้าที่คอยให้การสนับสนุนผ่านการกำหนดนโยบาย จัดสรรงบประมาณและทีมงาน และที่สำคัญ ผู้นำต้องเป็น…

สรุปผลดำเนินงาน รักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ปี 66 คาดปีนี้ Hacked Website ภัยคุกคามที่พบมาก

Loading

สรุปผลดำเนินงาน รักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ 1 ต.ค.65-30 ก.ย.66 แนวโน้มนปี 2567 Hacked Website ยังเป็นภัยคุกคามที่มีโอกาสพบเป็นจำนวนมาก

กลาโหมญี่ปุ่นออกนโยบายสนับสนุนกองทัพใช้ AI เป็นครั้งแรก

Loading

กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นเปิดตัวนโยบายพื้นฐานครั้งแรกเพื่อสนับสนุนการใช้งานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) นโยบายส่งเสริมการใช้ AI ของกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นมุ่งเน้นไปที่จุดสำคัญทั้ง 7 ด้าน

สกมช.ร่ายแผนงานป้องภัยไซเบอร์ ระบุปี’68 ถูกท้าทายจากภัยด้าน AI

Loading

  สกมช.เตรียม พร้อมยกระดับขีดความสามารถบุคลากร ผลักดันการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของไทย คาดปีหน้า AI จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น   พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) กล่าวว่า ในปี 2568 สกมช. มีแผนการดำเนินงานที่ท้าทายเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ ในการขยายความร่วมมือระดับนานาชาติเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีแนวโน้มซับซ้อนและทวีความรุนแรงมากขึ้น   รวมถึงการระมัดระวังการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อใช้ในการตรวจจับและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว รวมทั้งยังมีภัยที่แฝงเข้ามาในลักษณะ AI ด้วย นอกจากนี้ สกมช.จะเร่งแผนงานด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในอนาคต พร้อมส่งเสริมการเรียนรู้และความตระหนักรู้ในด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้กับประชาชนทุกช่วงวัยให้สามารถใช้ชีวิตบนโลกดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย   ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา สกมช. ได้ทำงานอย่างมุ่งมั่นและตั้งใจในการสร้างความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่เข้มแข็งและปลอดภัย ภายใต้การขับเคลื่อนนโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (พ.ศ. 2565 – 2570) เพื่อสร้างขีดความสามารถในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ (บุคลากร องค์ความรู้ และเทคโนโลยี) การบูรณาการความร่วมมือเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือทางไซเบอร์ รวมถึงสร้างบริการภาครัฐ และโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศให้มีความมั่นคงปลอดภัย   เขา กล่าวว่า สกมช.ยังได้จัดทำกฎหมายลำดับรองภายใต้ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์…