ไขข้อสงสัย “สำนักงานความปลอดภัยไซเบอร์ไทย” ทำงานอะไร

Loading

  ตั้งแต่มีการประกาศบังคับใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พ.ศ.2562 จนมีการตั้งสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ขึ้นมาดำเนินการตามกฎหมายนั้น มิติของการทำงานออกสู่สาธารณชนยังมีเพียงแค่การให้ความรู้และพัฒนาบุคลากรด้านไซเบอร์เท่านั้น ขณะที่ภัยไซเบอร์โดยเฉพาะการแฮกข้อมูลมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น สกมช.จะมีบทบาทหน้าที่ในการทำงานด้านนี้อย่างไรบ้าง   น.อ.อมร ชมเชย รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) กล่าวว่า เมื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ถูกบังคับใช้อย่างเป็นทางการในเดือน มิ.ย.2565 จะยิ่งทำให้องค์กรต่างๆ เป็นเป้าหมายของแฮกเกอร์ขโมยข้อมูลเพื่อเรียกค่าไถ่ โดยเฉพาะข้อมูลส่วนบุคคล เพราะตามกฎหมายหน่วยงานต้องมีหน้าที่รักษาข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าและมีความผิดเมื่อข้อมูลรั่วไหล ทำให้แฮกเกอร์ใช้แรนซัมแวร์ในการแฮกระบบ ฝังมัลแวร์เพื่อพยายามเจาะข้อมูลกันมากขึ้น   ดังนั้น หน่วยงานอย่าง สกมช.ซึ่งก่อตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พ.ศ.2562 ต้องทำงานเฝ้าระวัง สร้างมาตรฐานความปลอดภัยไซเบอร์ ให้ความรู้หน่วยงาน CII ตลอดจนการทำงานในการสืบหาสาเหตุและติดตามแฮกเกอร์มากขึ้น เพราะการมีกฎหมายไม่ได้หมายความว่าจำนวนแฮกเกอร์จะลดน้อยลง แต่การมีกฎหมายจะช่วยป้องกันและเอาผิดกับผู้กระทำผิดได้   ทั้งนี้ สกมช.ได้กำหนดให้ CII (Critical Information Infrastructure ) หรือหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ ประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่ ด้านความมั่นคงภาครัฐ ด้านบริการภาครัฐที่สำคัญ…

จับตา 3 เทรนด์ ‘ซิเคียวริตี้’ สะเทือนโลกไซเบอร์ปี 2565

Loading

    เก็งข้อสอบล่วงหน้าให้องค์กรล่วงว่าระบบซิเคียวริตี้อะไรบ้างที่ควรให้ความสำคัญ และควรเตรียมไว้ให้พร้อมก่อนเกิดความเสียหายขึ้น ปี 2564 ที่ผ่านมาเป็นเหมือนบททดสอบสุดหินสำหรับองค์กรทีเดียวครับ ทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ Colonial Pipeline, JBS, Florida’s Water Supply, Microsoft Exchange Server และอีกจำนวนมาก หรือล่าสุดยังมีการค้นพบ Zero-day Vulnerability ตัวใหม่ อย่าง Log4Shell ที่ทำเอาวงการไซเบอร์ทั่วโลกสั่นสะเทือน   บทความแรกในปี 2565 นี้ผมจะมาเก็งข้อสอบให้องค์กรล่วงหน้าว่า ระบบซิเคียวริตี้อะไรบ้างที่ควรให้ความสำคัญ และควรเตรียมไว้ให้พร้อมก่อนเกิดความเสียหายขึ้นครับ มาเริ่มที่โซลูชันแรกคือ “Information Security” หรือ “การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล” ที่จะกลายเป็นเรื่องสำคัญกว่าเดิม เพราะในปีนี้ข้อมูลจะไม่ได้ถูกเข้ารหัสอย่างเดียว แต่จะถูกขโมยไปขายต่ออีกด้วย หากองค์กรไม่ยอมจ่ายค่าไถ่ให้กับแฮกเกอร์ ร้ายไปกว่านั้นหากแฮกเกอร์ไม่ได้ต้องการค่าไถ่ แต่ต้องการที่จะเปิดเผยข้อมูลขององค์กรต่อสาธารณะ องค์กรก็จะไม่มีสิ่งใดมาต่อรองและต้องรับบทเหยื่อเพียงอย่างเดียว ดังนั้นกันไว้ดีกว่าแก้ครับ ปีที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ว่า ในการโจมตีแต่ละครั้งแฮกเกอร์หวังผลให้เกิดความเสียหายแบบทวีคูณเสมอ เช่น เจาะเข้าระบบขององค์กรที่เป็นเหยื่อเพื่อทำลายชื่อเสียง และยังขโมยกำลังประมวลผลมาใช้เป็นเครื่องขุดสกุลเงินดิจิทัล บางบริษัทผู้บริหารยังถูกข่มขู่ด้วยการกลั่นแกล้งและคุกคามความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ (Doxing) อีกด้วย   ยิ่งปีนี้ พ.ร.บ.…

กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐ เปิดโครงการ Hack DHS ชวนแฮ็กเกอร์หาช่องโหว่ รับเงินรางวัล

Loading

  กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐ (Department of Homeland Security หรือ DHS) เปิดโครงการ bug bounty เชิญชวนแฮ็กเกอร์สายขาวมาแฮ็กระบบของ DHS พร้อมรับเงินรางวัลตอบแทน โครงการนี้มีชื่อว่า “Hack DHS” มีกิจกรรมทั้งการค้นหาช่องโหว่แบบออนไลน์ และกิจกรรมออฟไลน์ให้แข่งขันกัน หลังจากนั้น DHS จะมาสรุปบทเรียนและพัฒนาเป็นโครงการในระยะถัดไป Alejandro N. Mayorkas รัฐมนตรี DHS ให้สัมภาษณ์ว่ารัฐบาลสหรัฐต้องการยกระดับความปลอดภัยของระบบไอที ดังนั้น DHS จึงต้องทำตัวเป็นตัวอย่างก่อนใครเพื่อน โครงการ Hack DHS เกิดขึ้นมาเพื่อค้นหาจุดโหว่ของระบบของ DHS เอง และต้องการเป็นต้นแบบให้องค์กรภาครัฐอื่นๆ ทำตาม   ที่มา – Department of Homeland Security   —————————————————————————————————————————————————————————- ที่มา : Blognone by mk     …

PwC เตือน “แรนซัมแวร์” โจมตีพุ่ง!! แนะธุรกิจไทยคุมเสี่ยงจาก “บุคคลภายนอก”

Loading

  PwC ประเทศไทย เผยภัยการโจมตีทางไซเบอร์ด้วยซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่ หรือ “แรนซัมแวร์” มีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดของไทย แนะองค์กรต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นจากบุคคลภายนอก PwC ประเทศไทย เผยภัยการโจมตีทางไซเบอร์ ด้วย ซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่ หรือ “แรนซัมแวร์” มีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุดของไทย แนะองค์กรต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นจากบุคคลภายนอก อีกทั้งให้ความสำคัญกับสุขลักษณะที่ดีต่อความปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในการรับมือภัยคุกคามและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้า พนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานธุรกิจที่ปรึกษา และหัวหน้าสายงานกลุ่มธุรกิจบริการทางการเงิน บริษัท PwC ประเทศไทย เปิดเผยว่า การโจมตีทางไซเบอร์ ด้วยโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาให้เรียกค่าไถ่ข้อมูล โดยขโมยข้อมูลด้วยการเข้ารหัส หรือล็อกไม่ให้ผู้ใช้เข้าถึงหรือเปิดไฟล์ได้และเรียกร้องให้มีการจ่ายค่าไถ่ (Ransomware) จะเป็นภัยไซเบอร์ที่พบมากที่สุดในปี 2565   “การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์จะกลายมาเป็นภัยไซเบอร์ที่มีแนวโน้มการเกิดมากที่สุดในระยะข้างหน้า โดยเราจะเห็นว่า แรนซัมแวร์เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วงนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มสถาบันการเงินและโรงพยาบาล หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ภัยไซเบอร์ที่พบมากจะเป็นมัลแวร์ประเภทไวรัส โทรจัน และโปรแกรมอื่น ๆ ที่ใช้ในการโจมตีและเข้าถึงข่อมูลที่มีความอ่อนไหว” วิไลพร กล่าว   ทั้งนี้ ความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นจากบุคคลที่สาม (Third-party…

การตรวจจับและตอบสนองต่อ “มัลแวร์เรียกค่าไถ่”

Loading

  ข้อมูลนับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการดำเนินการทางธุรกิจ เป็นแหล่งขุมทรัพย์ในการวางแผนและวิเคราะห์เพื่อตอบสนองต่อธุรกิจและผู้บริโภค จึงต้องมีการควบคุมการเข้าถึงและใช้งานให้มีความมั่นคงปลอดภัย ความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลมีทั้ง 1.ความลับ (Confidentiality) 2. ความถูกต้องครบถ้วน (Integrity) และ 3. ความพร้อมใช้งาน (Availability) ของข้อมูล และยังต้องเป็นไปตามหลักการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วย   ความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล (Data Integrity) ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญต่อการทำธุรกิจ ซึ่งข้อมูลนั้นมีอยู่ 3 สถานะ คือ 1. ข้อมูลที่จัดเก็บไว้ (Data at Rest) เช่น ในดิสก์, USB, ไฟล์ฐานข้อมูล 2. ข้อมูลที่กำลังใช้งาน (Data in Use) เช่น ข้อมูลที่กำลังเปิดอ่าน กำลังแก้ไข และ 3. ข้อมูลที่กำลังรับส่ง (Data in Transit) เช่น การดาวน์โหลดข้อมูล, การใช้งานอินเทอร์เน็ต การส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย เป็นต้น องค์กรต้องปกป้องข้อมูลเหล่านี้จากการแก้ไข หรือลบข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต…

สหราชอาณาจักรเตรียมใช้แฮกเกอร์โจมตีเชิงรุกกลุ่ม Ransomware

Loading

  Jeremy Fleming ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวกรองสหราชอาณาจักร (GCHQ) ระบุว่าทางศูนย์จะออก “ไล่ล่า” กลุ่มมัลแวร์เรียกค่าไถ่หลังองค์กรในสหราชอาณาจักรตกเป็นเหยื่อในปีนี้สูงกว่าเดิมเท่าตัว Fleming ระบุว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจและอัยการตามกระบวนการยุติธรรมยังไม่สามารถตามล่ากลุ่มมัลแวร์เหล่านี้ได้ แนวทางหนึ่งที่เป็นไปได้คือการใช้กองกำลังไซเบอร์ที่สหราชอาณาจักรเพิ่งก่อตั้งเมื่อปีที่แล้วมาตามล่ากลุ่มเหล่านี้ในเชิงรุก Fleming ยังระบุว่าต้องตามล่าความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มเหล่านี้กับรัฐ (ซึ่งมักหมายถึงรัสเซียที่กลุ่มมัลแวร์ใช้เป็นฐานโจมตี) ปีนี้สหรัฐฯ ประกาศแนวทางการตอบโต้กลุ่มมัลแวร์เรียกค่าไถ่ให้เทียบเท่าการก่อการร้าย หากรัฐบาลสหราชอาณาจักรยกระดับไปใช้กองกำลังทหารก็นับเป็นการยกระดับการตอบโต้ขึ้นไปใกล้เคียงกัน ที่มา – Financial Times   ———————————————————————————————————————————— ที่มา : Blognone by lew       / วันที่เผยแพร่ 26 ต.ค.2564 Link : https://www.blognone.com/node/125463