สกมช.เร่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาตรการดูแลผู้ได้รับผลกระทบถูกคุกคามจากภัยไซเบอร์

Loading

เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2566 ระบุว่า สกมช. เร่งตรวจสอบกรณี ของ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด และ บริษัท ไอซอฟเทล (ประเทศไทย) จำกัด ถูกคุกคามทางไซเบอร์ พบโดนละเมิดการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ จี้เพิ่มมาตรการป้องกัน และรับมือ พร้อมย้ำให้เร่งออกมาตรการดูแลบริษัทนิติบุคคลและลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ

รัฐบาลอินเดียแจ้งเตือนความเสี่ยงด้านความปลอดภัยระดับ “สูง” ของ Android

Loading

ทีมตอบสนองเหตุฉุกเฉินทางคอมพิวเตอร์ของอินเดีย (CERT-In หรือ ICERT) ภายใต้กระทรวงอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศของรัฐบาลอินเดีย ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการจัดการภัยคุกคามและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ได้ออกคำเตือนบนเว็บไซต์ของ CERT-In เกี่ยวกับช่องโหว่หลายประการและความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในระดับ “สูง” ของระบบปฏิบัติการ Android

Verizon ยอมจ่ายเงินยุติข้อกล่าวหาของรัฐบาลว่าบริษัทไม่ยอมทำตามมาตรฐานด้านไซเบอร์

Loading

แผนกบริการเครือข่ายธุรกิจของ Verizon ผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกายอมจ่ายเงินจำนวน 4.1 ล้านเหรียญ (ราว 145 ล้านบาท) เพื่อยุติข้อกล่าวหาของรัฐบาลว่าบริษัทไม่ทำตามมาตรฐานด้านไซเบอร์

ยุค ‘SaaS Sprawl’ ถึงเวลาคิดทบทวน Cybersecurity ครั้งใหญ่

Loading

  การนำ Software-as-a-Service (SaaS) มาใช้งานในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบในการดำเนินธุรกิจ ความสามารถในการขยายเครือข่าย และโซลูชันที่เอื้อต่อการปรับใช้ให้เหมาะกับความต้องการ ได้เข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลง   โดยทั้งหมดนี้ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “SaaS Sprawl” คือการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของแอปพลิเคชัน (App) บนคลาวด์ภายในองค์กร   นอกจากนี้ยังได้สร้างความท้าทายด้านความปลอดภัยที่สำคัญหลายอย่าง รวมถึงการแชร์ข้อมูลที่มากเกินไป การรั่วไหลของข้อมูล การขาดมาตรฐาน การกำกับดูแลแบบรวมศูนย์ และความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นในการจัดการเพื่อเข้าถึงและการอนุญาตของผู้ใช้งาน   ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจำนวนแอปพลิเคชัน SaaS ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องบวกกับความก้าวหน้าของ AI อย่าง ChatGPT ทำให้องค์กรต่าง ๆ หันมาใช้งานแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ อย่าง Microsoft 365, Google Workspace และ Salesforce กันมากขึ้น   ตั้งแต่ปี 2558 อุตสาหกรรม SaaS เติบโตจาก 31.4 พันล้านดอลลาร์เป็นประมาณ 167.1 พันล้านดอลลาร์ในปี 2565 ซึ่งเท่ากับการเติบโตมากกว่า 5 เท่าในเวลาเพียง…

แผนรับมือภัยไซเบอร์ชาติ ถึงเวลาจัดสรรงบประมาณตามจริงหรือยัง

Loading

  รัฐบาลใหม่ที่มีนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี และโผ รมว.ดีอีเอส คือ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง จะเข้ามารับไม้ต่ออย่างไรตามแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี การรับมือภัยไซเบอร์แห่งชาติ ที่รัฐบาลเดิมวางไว้   เพราะภัยไซเบอร์ ไม่สามารถป้องกันได้ 100 % ดังนั้นการทำงานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศจึงต้องเป็นทั้งกันการป้องกันและรับมือ ในขณะที่การให้ความรู้เรื่องภัยไซเบอร์ก็สำคัญไม่แพ้กัน และควรมีอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา เพื่อไม่ให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพที่เปลี่ยนวิธีการหลอกลวงอยู่ตลอดเวลา   ล่าสุด นโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ยังถูกมิจฉาชีพนำไปเป็นเครื่องมือในการหลอกลวงประชาชน !!!   สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ถูกตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2562 เพื่อทำหน้าที่ ลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ เกิดขึ้นภายใต้รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยมีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธานคณะกรรมการ (กมช.) ในฐานะรองนายกและได้รับการมอบหมายจากพล.อ.ประยุทธ์   และมีนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นประธานกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์…

ผู้พิทักษ์ข้อมูลไซเบอร์ เผย สามารถแฮ็ก Skype ล้วงข้อมูลที่อยู่ไอพีได้

Loading

  ผู้พิทักษ์ข้อมูลไซเบอร์เผย สามารถแฮ็ก Skype ล้วงข้อมูลที่อยู่ไอพีของผู้ใช้งานได้ ด้าน Microsoft ยังนิ่ง   ผู้พิทักษ์ข้อมูลไซเบอร์อิสระผู้ใช้นามแฝงว่า Yossi ออกมาเผยกับทางสื่อไอทีต่างประเทศว่า สไกป์ (Skype) แอปพลิเคชันติดต่อสื่อสารชื่อดัง มีความบกพร่องด้านการป้องกันความปลอดภัยของผู้ใช้งาน เนื่องจากอาชญากรไซเบอร์ สามารถแฮ็กข้อมูลเพื่อโจรกรรมเลขที่อยู่ไอพี (IP Address) ที่จะระบุข้อมูลแม่ข่ายและตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้งาน โดยอาชญากรสามารถแฮ็กข้อมูลได้ เพียงแค่ส่งข้อความที่แนบลิงก์ไปยังเหยื่อ เมื่อเหยื่อกดเข้าไปดูข้อความ ก็จะถูกอาชญากรดึงเลขที่อยู่ไอพีไปได้โดยไม่จำเป็นต้องกดเข้าไปดูลิงก์ที่ส่งมา     ด้านสื่อไอทีอย่าง 404 Media จึงติดต่อไปยัง Yossi เพื่อขอทดสอบการแฮ็กที่อยู่ไอพีบนสไกป์ โดยเริ่มจากการให้ Yossi ส่งลิงก์มายังบัญชีทางการของ 404 Media จากนั้นแอดมินของทาง 404 Media จึงเปิดแชตดังกล่าว พบว่าลิงก์ที่ส่งมาเป็นลิงก์การเข้าไปยังกูเกิล (แต่ทางแอดมินไม่ได้คลิกเข้าชมลิงก์แต่อย่างใด) ไม่นาน Yossi ก็ส่งหมายเลขไอพีของ 404 Media มายังห้องแชต และเมื่อตรวจสอบก็พบว่า หมายเลขไอพีที่ Yossi ส่งมา ตรงกับหมายเลขไอพีของบัญชีทางการ…