FraudGPT เครื่องมือใหม่ Dark Web Markets

Loading

  ทุกวันนี้ภัยไซเบอร์มีหลากหลายรูปแบบจนในบางครั้งเราก็อาจตามไม่ทันและสุดท้ายต้องตกเป็นเหยื่อของการคุกคามในที่สุด เหล่าบรรดาแฮกเกอร์มุ่งพัฒนาเครื่องมือต่าง ๆ ขึ้นเพื่อใช้เปิดโจมตี ซึ่งในวันนี้ผมจะขอนำเสนอ AI ตัวใหม่ที่มีชื่อว่า “FraudGPT” ซึ่งมีการเผยแพร่อย่างแพร่หลายในตลาด Dark Web และช่องทาง Telegram ในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา   ผู้เชี่ยวชาญต่างพากันลงความเห็นว่า FraudGPT เป็นเครื่องมือที่ควรจะต้องเฝ้าระวังอีกตัวหนึ่งเลยทีเดียว จากข้อมูลพบว่ามีการออกโปรโมตเกี่ยวกับ FraudGPT ว่าเป็นโซลูชันที่ครบวงจร สามารถตอบโจทย์ความต้องการของอาชญากรทางไซเบอร์ได้เป็นอย่างดี   เพราะเครื่องมือจะประกอบไปด้วยฟีเจอร์พิเศษต่าง ๆ ที่สามารถสร้างอีเมล spear-phishing การรวมมัลแวร์ที่หลีกเลี่ยงการตรวจจับ การสร้างหน้าฟิชชิง การแจ้งเตือนเว็บไซต์ที่มีช่องโหว่ และการสอนเทคนิคแฮ็กต่าง ๆ   โดย Generative AI Tool นี้เองที่ช่วยให้แฮ็กเกอร์มีฟังก์ชันการทำงานได้เหมือนกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีซึ่งนั่นก็คือ ความสามารถในการทำงานด้วยความเร็วและขนาดที่เพิ่มมากขึ้น   แน่นอนว่า เหล่าแฮ็กเกอร์สามารถสร้างแคมเปญฟิชชิงได้อย่างรวดเร็วและเปิดตัวใช้งานได้พร้อมกันมากขึ้น และจุดนี้เองที่ทำให้ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านภัยคุกคามตัดสินใจเฝ้าติดตามกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของ FraudGPT รวมถึงแฮ็กเกอร์ที่อยู่เบื้องหลังอย่างใกล้ชิด เพราะก่อนหน้านี้แฮ็กเกอร์เคยเป็นผู้ค้าในตลาด Dark Web หลายแห่งเลยก็ว่าได้   นอกจากนี้ แฮ็กเกอร์ยังปรับใช้วิธีการเคลื่อนไหวเชิงกลยุทธ์เพื่อหลบหลีกกลโกงต่าง…

จับตา Generative AI สู่ช่องทาง ‘อาชญากรไซเบอร์’ โจมตี!!

Loading

  ทุกเทคโนโลยีมีศักยภาพในการใช้งานทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเทคโนโลยี “generative AI” อย่างเช่น ChatGPT ซึ่งนับเป็นแพลตฟอร์มที่ถูกกล่าวถึงอย่างมากในแวดวงไอที   แซม ออลท์แมน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ OpenAI ผู้สร้าง ChatGPT เองก็ได้แสดงความกังวลในแถลงการณ์ฉบับล่าสุด โดยได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของเอไอ และให้นำไปใช้งานอย่างเหมาะสม โปร่งใส ให้ความสำคัญกับประเด็นความท้าทายระดับโลก ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงกับมนุษยชาติ     ChatGPT ช่องทางภัยร้าย เอกภาวิน สุขอนันต์ ผู้จัดการประจำวีเอ็มแวร์ประเทศไทย เล่าถึงประเด็นนี้ว่า ความกังวลและข้อเสนอแนะข้างต้นเป็นการกระตุ้นและเน้นยำให้บริษัทต่างๆ พิจารณาเชิงรุกถึงผลกระทบด้านความปลอดภัยของ generative AI   เป็นโอกาสสำหรับองค์กรที่จะต้องเริ่มตื่นตัวในเรื่องการปกป้องระบบและข้อมูลของตนเมื่อเผชิญกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าเหล่านี้   นอกจากนี้ ยังได้พบว่า ผู้ประสงค์ร้ายอาศัยช่องทางเหล่านี้สร้างประโยชน์แก่ตนเอง ตัวอย่าง ไม่กี่สัปดาห์ หลังจากการเปิดตัว ChatGPT เมื่อเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา อาชญากรไซเบอร์ได้นำเครื่องมือไปแชร์และใช้บนฟอรัมดาร์กเว็บ   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องมือที่สามารถใช้โดยผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการเขียนโค้ด เพื่อสร้างมัลแวร์ที่ซับซ้อนขึ้นมาใหม่ สำหรับคนหลายล้านคน   ChatGPT นั้นเป็นเสมือนวิศวกรคนหนึ่งที่บริษัทจ้างทำงาน หรือเปรียบเสมือนพนักงานที่มีศักยภาพคนหนึ่งที่เต็มไปด้วยความรู้และสามารถเข้าถึงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต สั่งงานได้ตลอด…

‘บิ๊กป้อม’ หนุน พัฒนาแพลตฟอร์มแชร์ข้อมูล ภัยคุกคามไซเบอร์ หวังป้อง-ลดเสี่ยงความมั่นคง

Loading

    ‘บิ๊กป้อม’ หนุน พัฒนาแพลตฟอร์มแชร์ข้อมูล ภัยคุกคามไซเบอร์ ปท. หวังป้อง-ลดเสี่ยงความมั่นคง   เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ที่ห้องประชุม มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) ครั้งที่ 3/2566 โดยประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์   ​พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ในฐานะกรรมการและเลขานุการการประชุม กล่าวว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบ (ร่าง) ข้อตกลงในการเชื่อมต่อระบบแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนข้อมูลภัยคุกคาม (Threat Information Sharing Platform) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานควบคุมหรือกำกับดูแล และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเห็นชอบในบันทึกความร่วมมือระหว่าง สกมช. กับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และสถาบันคุณวุฒวิชาชีพ โดยมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนความรู้ และยกระดับทักษะความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พร้อมทั้งรับทราบรายงานผลการปฏิบัติของศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติและรายงานเหตุการณ์ภัยคุกคามและผลการดำเนินการเหตุการณ์ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในห้วง 6 เดือนที่ผ่านมา รวมทั้งทราบผลการปฏิบัติ…

สรุป 3 เทรนด์ด้าน Identity and Access Management ปี 2023

Loading

    Identity and Access Management (IAM) คือ หนึ่งในรากฐานสำคัญของการทำ Digital Transformation อย่างมั่นคงปลอดภัย ด้วยความสามารถในการบริหารจัดการ Identity ของผู้ใช้และการควบคุมการเข้าถึงระบบต่างๆ ขององค์กร ทำให้องค์กรสามารถสร้าง Transparency, Trust และ Control บน Digital Journey ของตนเองได้ อย่างไรก็ตาม การมาถึงของระบบ Cloud, Distributed Apps และ Hybrid Workforces ทำให้โซลูชัน IAM จำเป็นต้องปรับตัว เพื่อให้ยังคงจัดการกับ Identity และควบคุมการเข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพ   บทความนี้ i-Sprint Innovations ผู้ให้บริการนวัตกรรม Identity, Credential & Access Management ชั้นนำระดับโลก ได้ออกมาเปิดเผยถึง 3 เทรนด์ที่โซลูชัน IAM กำลังจะเดินทางไปในอนาคตอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้…

การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลและการแจ้งเหตุการละเมิด

Loading

    พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 เป็นกฎหมายที่กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบขององค์กร ในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องปฏิบัติ เมื่อดำเนินการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล   หน้าที่ที่สำคัญประการหนึ่งขององค์กร คือ การจัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม (Security of Processing/Data Security)   และในกรณีที่ “มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย” ดังกล่าวที่องค์กรดำเนินการไม่เป็นไปตามมาตรฐานหรือเกิดข้อผิดพลาด อันอาจนำไปสู่เหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (Data Breach)   องค์กรก็จะมีหน้าที่แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด (Data Breach Notification)   หน้าที่ในส่วนของ “การมีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย” และ “การแจ้งเหตุการละเมิด” จึงเป็นสองหน้าที่ที่มาควบคู่กันเสมอ   ในระบบกฎหมายด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ถือว่าเมื่อองค์กรนำเข้าและใช้ประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคล องค์กรก็มีหน้าที่ต้องดูแลรักษา และเมื่อไม่สามารถดูแลได้จนนำมาซึ่งการเกิดเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล   องค์กรก็ต้องรีบดำเนินการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลตามเงื่อนไขของกฎหมาย   เพื่อให้มีการประเมินและพิจารณาความเสี่ยงต่อสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยเร็ว   พร้อมทั้งดำเนินการเยียวยาแก้ไขความเสียหายและผลกระทบใด ๆ ที่อาจมีต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล อันเป็นการปกป้องส่วนได้เสียต่าง ๆ ของผู้ใช้บริการ/ประชาชน   ตามประกาศฯ มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ข้อ…

‘แรนซัมแวร์’ ป่วนข้อมูลธุรกิจ พร้อม ‘จ่าย’ หรือ พร้อม ‘รับมือ’

Loading

    การโจรกรรมข้อมูลโดยกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่กระทำการอย่างซับซ้อนกำลังเพิ่มมากขึ้น ทั้งในแง่จำนวนครั้งและขอบเขตการโจมตี   เพียร์ แซมซัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดูแลรายได้ บริษัท Hackuity เล่าว่า เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ช่วงปลายปี 2565 มีรายงานว่าเกิดการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ออสเตรเลียซึ่งกระทบต่อลูกค้าของ Optus บริษัทด้านโทรคมนาคมรวมแล้วกว่า 10 ล้านคน   สำหรับประเทศไทยเองก็พบปัญหาการละเมิดข้อมูลของโรงพยาบาลหลายแห่งรวมถึงกระทรวงสาธารณสุขในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทำให้ข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยรั่วไหลและถูกเรียกค่าไถ่เพื่อนำฐานข้อมูลกลับมาเหมือนเดิม   วันนี้อาชญากรไซเบอร์ เช่น Desorden Group คัดเลือกเหยื่ออย่างพิถีพิถัน โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ในเอเชียที่มีช่องโหว่ชัดเจนซึ่งสามารถเจาะระบบได้ง่าย โดยจะลอบดึงข้อมูลจากบริษัทหรือองค์กรให้ตกเป็นเหยื่อ และข่มขู่ว่าจะเผยแพร่ข้อมูลเหล่านั้นหากไม่ยอมจ่ายค่าไถ่   หากไม่ได้รับการตอบกลับ อาชญากรกลุ่มนี้ก็จะทำให้เหยื่อได้รับความอับอายไปทั่ว ปล่อยข้อมูลให้รั่วไหล และยกระดับการกดดันให้เข้มข้นยิ่งขึ้น   “วายร้ายทุกวันนี้ไม่ได้อยากเก็บตัวแบบในอดีต หากแต่พร้อมที่จะป่าวประกาศและเปิดเผยรายละเอียดกับสื่อมวลชนว่าตนเองเจาะเข้าระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ของเหยื่ออย่างไร”   เตรียมพร้อม สกัดภัยไซเบอร์   ปัจจุบัน มีเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้นที่ผู้ตกเป็นเป้าหมายสามารถควบคุมได้โดยสมบูรณ์ นั่นก็คือ ความพร้อม (หรือการขาดความพร้อม) ของตนเอง   ช่วงที่โควิดระบาด บริษัทหลายแห่งได้ควบรวมและจัดแจงรายจ่ายทางเทคโนโลยีใหม่ ทั้งได้มีการลงทุนเพื่อปรับธุรกิจให้เป็นระบบดิจิทัล ด้านฝ่ายไอทีก็เน้นไปที่การเปิดใช้ระบบการทำงานจากทางไกล เพื่อให้พนักงานและระบบภายในองค์กรมีความปลอดภัย…