ศาลพม่าปฏิเสธล่ามให้ที่ปรึกษาชาวออสเตรเลียของซูจีระหว่างไต่สวนคดีความลับราชการ อ้างเหตุผลความปลอดภัย

Loading

  เอพี – ศาลพม่ามีคำตัดสินไม่อนุญาตให้ล่ามแปลภาษาพม่า-อังกฤษเข้าร่วมในการพิจารณาคดีที่กำลังจะมีขึ้นกับ ฌอน เทอร์เนลล์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวออสเตรเลีย ที่ถูกตั้งข้อหาภายใต้กฎหมายความลับราชการ เทอร์เนลล์กำลังถูกไต่สวนร่วมกับอองซานซูจี ผู้นำที่ถูกปลดจากตำแหน่ง และอดีตสมาชิกคณะรัฐมนตรีอีก 3 คน ที่ถูกตั้งข้อหาคดีเดียวกัน เทอร์เนลล์ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของซูจีและถูกจับกุมพร้อมกับจำเลยร่วมของเขาหลังรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของซูจีถูกกองทัพขับไล่ในเดือน ก.พ. การละเมิดกฎหมายความลับราชการมีโทษจำคุกสูงสุด 14 ปี กฎหมายยุคอาณานิคมที่ทำให้การครอบครอง รวบรวม บันทึก เผยแพร่ หรือแบ่งปันข้อมูลของรัฐที่เป็นประโยชน์ต่อศัตรูทางตรงหรือทางอ้อมเป็นความผิดอาญา การประกาศคำตัดสินที่ห้ามล่ามแปลภาษาเข้าร่วมการพิจารณาคดีมีขึ้นก่อนการไต่สวนคดีที่ศาลพิเศษในกรุงเนปีดอ เย ลิน อ่อง ทนายความของเทอร์เนลล์ กล่าว โดยจำเลยทั้ง 5 คน อยู่ร่วมฟังการไต่สวนที่ไม่เปิดเผยต่อสาธารณะและสื่อ เย ลิน อ่อง กล่าวว่า อัยการได้ขอให้ศาลไม่อนุญาตล่ามเข้าร่วมในกระบวนการ และผู้พิพากษาเห็นพ้องกับคำร้องดังกล่าว โดยอ้างถึงเหตุผลด้านความปลอดภัย และรายละเอียดที่แน่นอนของความผิดที่เทอร์เนลล์ถูกกล่าวหาก็ไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ แต่สถานีโทรทัศน์พม่าอ้างคำแถลงรัฐบาลที่ระบุว่า นักวิชาการชาวออสเตรเลียได้เข้าถึงข้อมูลทางการเงินของรัฐที่เป็นความลับ และพยายามหลบหนีออกนอกประเทศ “เป็นเรื่องยากสำหรับเราที่ไม่มีล่ามแปลให้กับเขา (เทอร์เนลล์) ที่ศาล เรากำลังหารือกับเจ้าหน้าที่จากสถานทูตออสเตรเลีย” เย ลิน อ่อง กล่าว คดีนี้เป็นหนึ่งในหลายข้อหาที่ซูจีถูกฟ้อง ซึ่งถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นความพยายามที่จะทำให้เธอเสียชื่อเสียงเพื่อขัดขวางเธอจากการกลับลงเล่นการเมือง.…

โซลูชั่นไร้รหัสผ่าน (Passwordless Solutions) vs ความปลอดภัยที่ปรับตัวตามสถาการณ์ (Adaptive Security)

Loading

  โซลูชั่นไร้รหัสผ่าน (Passwordless Solutions) vs ความปลอดภัยที่ปรับตัวตามสถานการณ์ (Adaptive Security) : อะไรคือการป้องกันที่ดีที่สุดจากการโจมตีทางไซเบอร์ในช่วง Covid-19   Pawel Bulat, ผู้จัดการแผนกความปลอดภัยทางไซเบอร์ บริษัท Comarch การระบาดของโรค Covid-19 ได้สร้างความท้าทายใหม่ๆต่อธุรกิจ ความท้าทายส่วนใหญ่ได้เร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของธุรกิจต่างๆ อย่างไรก็ตามอาชญากรรมทางไซเบอร์ (cyber criminal) สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆได้เร็วกว่าองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้นความปลอดภัยทางไซเบอร์ (cybersecurity) จึงกลายเป็นเรื่องหลักที่น่ากังวล มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware), การหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ตเพื่อขอข้อมูลที่สำคัญจากเหยื่อ (Phishing), มัลแวร์ (Malware) และการบิดเบือนข้อมูล (Disinformation) เป็นเครื่องมือทั่วไปที่อาชญากรรมทางไซเบอร์ใช้ในช่วงที่เกิดโรคระบาด ในปีที่แล้วจำนวนการละเมิดข้อมูลและการบุกรุกระเบียนข้อมูล รวมถึงมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) มีจำนวนสูงที่สุดตั้งแต่เคยมีมา มีการรายงานจาก ZDNet ว่า “ในปี 2020 เพียงปีเดียว มีการบุกรุกระเบียนข้อมูลมากกว่าในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา” ขณะเดียวกันจำนวนการโจมตีของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ได้เพิ่มสูงขึ้นเกือบ 60%   ต้นทุนที่แท้จริงของจุดอ่อนของความปลอดภัยทางไซเบอร์ ตัวเลขเหล่านี้ได้เปลี่ยนเป็นการสูญเสียเงินจำนวนมาก…

“นาโต” ขับนักการทูตรัสเซีย 8 คน แฉทำงานข่าวกรองอย่างลับๆ

Loading

  “นาโต” – วันที่ 7 ต.ค. บีบีซี รายงานว่า องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต ประกาศขับนักการทูตรัสเซียประจำนาโต 8 คน โดยระบุว่าทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ข่าวกรองรัสเซียอย่างลับๆ พร้อมประกาศลดจำนวนคณะผู้แทนทางทูตรัสเซียประจำสำนักงานใหญ่ของนาโตในกรุงบรัสเซลส์ของเบลเยียมลงครึ่งหนึ่ง จาก 20 คน เหลือเพียง 10 คน ตั้งแต่เดือนพ.ย.เป็นต้นไป     นับเป็นครั้งแรกที่นาโตปฏิบัติต่อรัสเซียเช่นนี้ ตั้งแต่เคยขับนักการทูตรัสเซีย 7 คน ออกจากคณะผู้แทนทางทูตรัสเซีย และลดจำนวนคณะผู้แทนทางทูตรัสเซียประจำนาโตจาก 30 คน เหลือ 20 คน หลังเหตุการณ์ช็อกโลกจากการลอบวางยาพิษนายเซียร์เกย์ สกรีปัล สายลับสองหน้าชาวรัสเซีย ในเมืองซอลส์บรีของอังกฤษ เมื่อปี 2561 “เราสามารถยืนยันได้ว่า เราถอดถอนการรับรองสมาชิกคณะผู้แทนทางทูตรัสเซียประจำนาโต 8 คน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ข่าวกรองรัสเซียที่ไม่ได้แสดงตัวแล้ว” เจ้าหน้าที่นาโตกล่าวว่า “นโยบายของนาโตต่อรัสเซียยังไม่เปลี่ยนแปลง เราเสริมความแข็งแกร่งในการป้องปรามและการป้องกันของเราเพื่อตอบโต้ต่อการกระทำก้าวร้าวของรัสเซีย ขณะเดียวกัน เรายังเปิดกว้างสำหรับการเจรจาที่มีความสำคัญ”     อย่างไรก็ตาม นายอเล็กซานเดอร์…

ปอท.ซิวแฮกเกอร์ ดูดข้อมูล-ขายเว็บมืด ลูกค้าบริษัท 6 แสนชื่อ

Loading

    ตำรวจ บก.ปอท. รวบแฮกเกอร์หนุ่มแฮ็กรายชื่อลูกค้าบริษัทประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอาหารออกเร่ขายทางดาร์กเว็บ 6 แสนรายชื่อ ในราคากว่า 3 แสนบาท อ้างหาเงินเล่นพนันออนไลน์ หลังบริษัทผู้เสียหายตรวจพบประกาศขายรายชื่อดังกล่าวบนเว็บไซต์ รวบแฮกเกอร์หนุ่มแฮ็กรายชื่อลูกค้าบริษัทใหญ่ออกขาย โดยเมื่อวันที่ 7 ต.ค. พล.ต.ต.ศารุติ แขวงโสภา ผบก.ปอท. พ.ต.อ.วัชรพันธ์ ศิริพากย์ ผกก.1 บก.ปอท. พ.ต.ต.ชัยยุทธ เชียงสอน สว.กก.1 บก.ปอท. นำกำลังจับกุมนายวรพล ฤทธิเดช อายุ 27 ปี ฐานเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน และกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ หลังนำหมายค้นศาลจังหวัดสมุทรปราการที่ 561/2564 ลง วันที่ 5 ต.ค. เข้าตรวจค้นห้องเลขที่ 78/1121 ชั้น 32 อาคารเคนชิงตัน ถนนเทพารักษ์ ต.เทพารักษ์ อ.เมืองสมุทรปราการ ตรวจยึดสิ่งของที่น่าเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ได้แก่ โน้ตบุ๊ก…

Facebook Smart Glasses

Loading

  เมื่อรูปแบบของการใช้เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลง อาจมีโอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งกันระหว่างกฎหมายกับการใช้เทคโนโลยีขึ้นมาได้ ตัวอย่างเกิดขึ้นแล้วจากกรณีของสินค้า smart glasses กับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แว่นตาอาจถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์พกพาชนิดหนึ่งที่อยู่คู่กับหลาย ๆ คนมานาน ในยุคที่ทุกๆ อย่างถูกทำให้อัจฉริยะมากขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยีฝังเข้าไปในอุปกรณ์เพื่อให้มีความเป็น smart devices และสามารถตอบสนองต่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ หลากหลายมากขึ้น และสามารถเชื่อมต่อในระบบเครือข่ายอัจฉริยะของ IoT เจ้าแว่นตาก็เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่หลายๆ บริษัทได้พยายามปรับปรุงให้เป็น smart glasses   Google เป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำที่ได้พัฒนา smart glasses ของตนเอง ภายใต้ชื่อ Google Glass ขึ้นมาและนำออกจำหน่ายในช่วงปี 2013 และยุติการจำหน่ายเป็นการทั่วไปในปี 2015 เนื่องจากราคาที่ค่อนข้างสูง (1,500 USD) และไม่ได้รับการตอบรับจากตลาดเท่าที่ควร และดูเหมือนว่ากระแสของ smart glasses ก็จะดูแผ่วเงียบเบาไปจนกระทั่ง Facebook ร่วมมือกับ Ray-Ban ในการพัฒนา Facebook smart glasses ขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อทำตลาดกลุ่มลูกค้าทั่วไปที่มีความสนใจในแฟชั่นและเทคโนโลยี   แต่ไม่ทันที่…

ศาลผู้ดีเผย เจ้าผู้ครองดูไบใช้สปายแวร์ดักฟังมือถืออดีตชายา

Loading

  ศาลผู้ดีเผย เจ้าผู้ครองดูไบใช้สปายแวร์ดักฟังมือถืออดีตชายา ศาลสูงของอังกฤษพบข้อมูลว่า ชีคมูฮัมหมัด บิน รอชิด อัล มักตูม เจ้าผู้ครองนครดูไบ ซึ่งดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีสหรัฐอาหรับเอ็มเรตส์ (ยูเออี) คนปัจจุบัน ได้แทรกแซงกระบวนการยุติธรรมของอังกฤษ ด้วยการแฮกข้อมูลจากโทรศัพท์ของเจ้าหญิงฮายาแห่งจอร์แดน ซึ่งเป็นอดีตพระชายาของพระองค์ รวมถึงทนายความและทีมงานของเจ้าหญิง ศาลระบุว่าการสั่งให้มีการแฮกข้อมูลดังกล่าวทำขึ้นโดยใช้ซอฟต์แวร์ “เพกาซัส” ซึ่งเป็นของบริษัทอิสราเอลที่ยูเออีมีอยู่ในความครอบครอง โดยซอฟต์แวร์ดังกล่าวมีความสามารถทั้งในการติดตามตัวเป้าหมาย ดักฟังการพูดคุยทางโทรศัพท์ เข้าถึงรายชื่อที่มีการติดต่อ พาสเวิร์ดต่างๆ ตารางนัดหมาย รูปภาพ รวมถึงการอ่านข้อความที่มีการส่งผ่านทางแอพ อีเมล หรือเอสเอ็มเอส ผู้พิพากษาแอนดรู แมคฟาร์เลน ที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลครอบครัวของอังกฤษระบุว่า การค้นพบข้อเท็จจริงดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการละเมิดความเชื่อถือและเป็นการละเมิดอำนาจ ซึ่งถือเป็นการล่วงละเมิดอย่างต่อเนื่องที่ผิดกฎหมายอาญาของอังกฤษ และไม่มีเวลาใดเลยที่แสดงให้เห็นว่าผู้ที่เป็นบิดามีความวิตกกังวลเกี่ยวกับมารดาซึ่งเป็นผู้ดูแลบุตรทั้งสองของพวกเขา แต่การแทรกซึมระบบรักษาความปลอดภัยและการแฮกข้อมูลที่เกิดขึ้นเป็นเพียงความพยายามที่จะหาข้อมูลมาแย้งกับการต่อสู้คดีในศาลจากมุมของผู้เป็นมารดาเท่านั้น เจ้าหญิงฮายาเผยว่า การค้นพบดังกล่าวทำให้พระองค์รู้สึกเหมือนถูกตามล่าและตามหลอกหลอน ขณะที่ทีมทนายของเจ้าหญิงระบุว่า การแฮกข้อมูลมีขึ้นในช่วงเวลาที่เขาติดต่อกับหน่วยราชการอังกฤษ ด้านชีคมูฮัมหมัดออกแถลงการณ์โต้แย้งคำพิพากษาว่าตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ โดยพระองค์ปฏิเสธข้อกล่าวหาใดๆ ที่มีต่อตัวพระองค์เช่นที่ทำมาตลอด พร้อมกับปฏิเสธว่าพระองค์ไม่ได้สั่งการให้ใครใช้ซอฟต์แวร์ใดๆ ในแนวทางดังกล่าว และทีมกฎหมายของพระองค์ไม่ได้เตรียมพร้อมที่จะมาโต้แย้งในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านความมั่นคงของประเทศยูเออี และว่าพระองค์ไม่เคยได้รับทราบในรายละเอียดของสิ่งที่นำมาอ้างเป็นหลักฐาน ดังนั้นวิธีในการพิจารณาคดีจึงอยู่บนพื้นฐานที่ปราศจากความยุติธรรม ทั้งนี้ชีคมูฮัมหมัดและเจ้าหญิงฮายา ได้ต่อสู้กันในศาลเกี่ยวกับสิทธิในการดูแลบุตร 2 คนของทั้งคู่ หลังเจ้าหญิงฮายาหอบลูกหนีอดีตพระสวามีจากยูเออีมายังอังกฤษเมื่อหลายปีก่อน   —————————————————————————————————————————————————-…