ระวัง!! ภัยร้ายไซเบอร์ ป่วนหนักยิ่งกว่าเดิม

Loading

  “แคสเปอร์สกี้” เตือนภัย อันตรายทางไซเบอร์จะยิ่งรุนแรงเพิ่มขึ้นในปี 2024 โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากฟิชชิ่ง กลโกง การละเมิดข้อมูล การโจมตี APT แรนซัมแวร์ รวมถึงการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีแรงจูงใจจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์การเมือง   Keypoints : •  ขับเคลื่อนด้วย “ความก้าวหน้าด้านดิจิทัล” และ “ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์” •  ผู้คนหลายแสนคนจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมปฏิบัติการหลอกลวงออนไลน์ •  ผู้ก่อภัยคุกคามมักใช้เทคนิควิศวกรรมสังคมที่ซับซ้อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย •  บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก “แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky)” เปิดคาดการณ์ภาพรวมภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่จะเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) ปีนี้ โดยระบุว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ จะขับเคลื่อนด้วย “ความก้าวหน้าด้านดิจิทัล” อย่างรวดเร็วและ “ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์”   วิทาลี คัมลัก หัวหน้าศูนย์วิจัยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทีมวิจัยและวิเคราะห์ระดับโลก (GReAT) แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า เศรษฐกิจดิจิทัลของเอเชียแปซิฟิกยังคงเติบโตอย่างทวีคูณ และคาดว่าจะรักษาโมเมนตัมเอาไว้ได้ในอีกห้าปีข้างหน้า   ด้วยความพยายามในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล รวมถึงการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ เช่น การชำระเงินดิจิทัล, Super…

เปิดการคาดการณ์ ‘Network Security’ ปี 2024

Loading

  เปิดการคาดการณ์ Network Security ปี 2024 ที่จะมาถึงในอีก 1 สัปดาห์ต่อจากนี้ ซึ่งองค์กรต้องเตรียมการรับมือให้ดี   Enterprise Strategy Group ได้เปิดการคาดการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มทิศทางความปลอดภัยของระบบเครือข่าย 5 อันดับแรกในปี 2024 โดยเริ่มตั้งแต่ความปลอดภัยของ SaaS และการโจมตี DDoS ที่เพิ่มขึ้น ไปจนถึงการรวมระบบเครือข่ายและอุปกรณ์ปลายทาง (Endpoint) ดังนี้   1.การละเมิดข้อมูลจำนวนมาก หลายครั้งเกิดจากแอปพลิเคชัน SaaS ที่กำหนดค่าไม่ถูกต้อง : มีการใช้งาน SaaS กันอย่างแพร่หลาย แต่หลายองค์กรยังคงประสบปัญหาด้านความปลอดภัยของ SaaS   การวิจัยของ TechTarget เรื่อง The Cloud Data Security Imperative พบว่า 39% ขององค์กรสูญเสียข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนในระบบคลาวด์   ขณะที่ อีก 20% สงสัยว่าอาจมีการสูญหายของข้อมูลแต่ยังไม่แน่ใจ และจากองค์กรต่างๆ…

Cloudflare ชี้ภาค Healthcare ไทย เสี่ยงภัยไซเบอร์ แนะ 5 โซลูชั่น ปกป้องข้อมูลลูกค้ารอบด้าน

Loading

อาชญากรทางไซเบอร์กำลังมุ่งเป้าไปที่องค์กรด้านการดูแลสุขภาพ เนื่องจากผลตอบแทนก้อนโตที่จะได้จากข้อมูลผู้ป่วยมาเพื่อการโจรกรรมเอกลักษณ์บุคคล การฉ้อโกงทางการเงิน หรือการโจมตีแรนซัมแวร์ โดยผลการศึกษาของ Cloudflare ระบุว่า 57% ของผู้ตอบแบบสำรวจจากองค์กรในประเทศไทยประสบปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์มากกว่า 10 ครั้งในปีที่แล้ว โดย 65% ได้รับผลกระทบทางการเงินอย่างน้อย 1 ล้านดอลลาร์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

รีสอร์ทหรูในสิงคโปร์ โดนแฮ็กข้อมูลลูกค้า 665,000 ราย

Loading

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน 2566 กล่าวว่า เดอะ มารีนา เบย์ แซนด์ส (The Marina Bay Sands) โรงแรมและรีสอร์ทหรูในสิงคโปร์เปิดเผยการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นสมาชิกโปรแกรมสะสมคะแนนการช้อปปิ้ง

ข้อมูลเจ้าหน้าที่ตำรวจ Greater Manchester ของอังกฤษถูกแฮ็กจากการโจมตีทางไซเบอร์

Loading

เมื่อ 14 ก.ย.66 กองกำลังตำรวจเขตเกรตเทอร์แมนเชสเตอร์ (Greater Manchester Police – GMP) แถลงระบุว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่อื่น ๆ จำนวนหลายพันคนของ GMP ถูกแฮ็กจากบริษัทผลิตบัตรประจำตัวของเจ้าหน้าที่ด้วยการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์

อีคอมเมิร์ซแอป เป้าหมายใหม่ การโจมตีทางไซเบอร์ (1)

Loading

  ในปี 2566 แนวโน้มทิศทางการโจมตีทางไซเบอร์บนแอปพลิเคชันอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) ตกเป็นเป้าหมายหลักเลยก็ว่าได้   เนื่องจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซกลายเป็น Omnichannel เพิ่มเรื่อย ๆ และมีการสร้างและปรับใช้อินเทอร์เฟซ API มากขึ้น โดยแฮ็กเกอร์จะใช้ประโยชน์จากการหาช่องโหว่ต่าง ๆ เพื่อเปิดการโจมตี   นี่คือเหตุผลว่าทำไมการทดสอบและการหมั่นตรวจสอบระบบอย่างต่อเนื่องจึงมีความสำคัญมากในการช่วยหาจุดอ่อนให้ได้อย่างรวดเร็วและเป็นการป้องกันเว็บแอปพลิเคชันอย่างมีประสิทธิภาพ   วันนี้ผมจึงอยากหยิบยกเรื่องการโจมตีแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของ Honda มาพูดถึงว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อธุรกิจและกลุ่มลูกค้า   การโจมตีแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของฮอนด้าที่จัดจำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับอุปกรณ์ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นเครื่องตัดหญ้า เครื่องยนต์ติดท้ายเรือ เป็นต้น ได้เกิดข้อผิดพลาดของ API ที่ทำให้ไม่ว่าจะใครก็สามารถขอรีเซ็ตรหัสผ่านของบัญชีผู้ใช้งานใดก็ได้   หากแฮ็กเกอร์ค้นพบสิ่งนี้ได้ แน่นอนว่าจะเป็นการละเมิดข้อมูลครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เพราะการสูญเสียการควบคุมในการเข้าถึงทำให้บุคคลอื่นสามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดบนแพลตฟอร์มได้ แม้ว่าจะเข้าสู่ระบบด้วยบัญชีสำหรับใช้ทดสอบ (Test Account) ก็ตาม โดยผู้ทดสอบสามารถเข้าถึงข้อมูลต่อไปนี้ได้ทั้งหมด   คำสั่งซื้อของลูกค้าเกือบ 24,000 รายจากตัวแทนจำหน่ายฮอนด้าทุกแห่งตั้งแต่ ส.ค. 2559 ถึง มี.ค. 2566 รวมถึงชื่อที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ของลูกค้า เว็บไซต์ตัวแทนจำหน่ายที่ใช้งานอยู่ 1,091 แห่งซึ่งสามารถแก้ไขไซต์เหล่านี้ได้, ผู้ใช้งาน/บัญชีตัวแทนจำหน่าย…