“กรมงานแนวร่วม” คือ ‘อาวุธมหัศจรรย์’ ของจีน ที่เกี่ยวพันกับการสอดแนมได้อย่างไร ?
หากว่ากันตามคำกล่าวของอดีตผู้ก่อตั้งอย่างเหมา เจ๋อตุง และประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ผู้นำคนปัจจุบัน ก็ต้องบอกว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนมี “อาวุธวิเศษ”
หากว่ากันตามคำกล่าวของอดีตผู้ก่อตั้งอย่างเหมา เจ๋อตุง และประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ผู้นำคนปัจจุบัน ก็ต้องบอกว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนมี “อาวุธวิเศษ”
หน่วยงานความมั่นคงของจีน เตือนบรรดานักศึกษาไม่ให้ตกอยู่ใน “กับดักความรัก” ที่มาในคราบของ “ผู้ชายหล่อ” หรือ “ผู้หญิงสวย” ที่อาจล่อลวงให้พวกเขาช่วยล้วงข้อมูลให้ต่างชาติ
เอเอฟพี – อเมริกา ตลอดจนถึงพันธมิตรตะวันตก และไมโครซอฟท์ออกมาเตือนว่า แฮกเกอร์จีนที่ได้รับการสนับสนุนจากปักกิ่งได้แทรกซึมเจาะเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ โดยมีเป้าหมายในการทำให้โครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารระหว่างอเมริกากับเอเชียหยุดชะงัก หากเกิดกรณีขัดแย้งในภูมิภาคนี้ นอกจากนั้นยังมีแนวโน้มว่า การโจมตีเพื่อสอดแนมนี้อาจกำลังเกิดขึ้นทั่วโลก ไมโครซอฟท์ยกตัวอย่าง กวม ดินแดนของอเมริกาในมหาสมุทรแปซิฟิกที่มีที่ตั้งทางทหารสำคัญ เป็นหนึ่งในเป้าหมายการโจมตี แต่เพิ่มเติมว่า บริษัทตรวจพบกิจกรรมประสงค์ร้ายนี้ในสถานที่อื่น ๆ ในอเมริกา การโจมตีล่องหนที่ดำเนินการโดยแฮกเกอร์จีนที่ได้รับการสนับสนุนจากปักกิ่งที่มีชื่อว่า “โวลต์ ไต้ฝุ่น” และเริ่มต้นมาตั้งแต่กลางปี 2021 ช่วยให้มีการสอดแนมระยะยาว และมีแนวโน้มว่าต้องการทำให้โครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารระหว่างอเมริกากับเอเชียหยุดชะงักหากเกิดกรณีขัดแย้งในภูมิภาคนี้ ไมโครซอฟท์เสริมว่า องค์กรที่ได้รับผลกระทบจากปฏิบัติการนี้ครอบคลุมตั้งแต่ภาคการสื่อสาร การผลิต สาธารณูปโภค การขนส่ง การก่อสร้าง การเดินเรือ หน่วยงานรัฐบาล เทคโนโลยีสารสนเทศ และการศึกษา แถลงการณ์ของไมโครซอฟท์สอดคล้องกับคำแนะนำของทางการสหรัฐฯ ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ และสหราชอาณาจักรที่เตือนว่า มีแนวโน้มว่าแฮกเกอร์จีนกำลังไล่เจาะระบบเครือข่ายทั่วโลก อเมริกาและพันธมิตรระบุว่า แฮกเกอร์จีนใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า “living off the land” หรือการใช้เครื่องมือเครือข่ายที่ติดตั้งในระบบอยู่แล้วเพื่อให้การเจาะระบบแนบเนียนไปกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ปกติ …
จีนได้ขยายขอบเขตของกฎหมายต่อต้านการจารกรรม (Counterespionage Law) ซึ่งเดิมกว้างขวางอยู่แล้ว ขณะที่นักวิเคราะห์เตือนว่าอาจสร้างความเสี่ยงทางกฎหมายมากขึ้น หรือเพิ่มความไม่แน่นอนแก่บริษัทต่างชาติ นักข่าว และนักวิชาการ สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานในวันนี้ (27 เม.ย.) ว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ขยายคำจำกัดความของการจารกรรมจาก การรวบรวมความลับของรัฐและข่าวกรอง ไปสู่ “เอกสาร ข้อมูล วัตถุ หรือสิ่งของใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติ” โดยไม่มีการระบุถึงแนวทางที่เฉพาะเจาะจงสำหรับวิธีการกำหนดเงื่อนไขเหล่านี้ สำหรับการโจมตีทางไซเบอร์ที่มุ่งเป้าไปที่โครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลที่สำคัญของจีน ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานด้านการสอดแนม ก็ถูกจัดประเภทเป็นการจารกรรมภายใต้กฎหมายฉบับใหม่ด้วยเช่นกัน โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ก.ค. ข้อกฎหมายดังกล่าวซึ่งได้รับการอนุมัติจากสภานิติบัญญัติของจีนเมื่อวานนี้ (26 เม.ย) มีขึ้นท่ามกลางการเพิ่มขึ้นของการเน้นย้ำเรื่องความมั่นคงของชาติภายใต้การนำของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ซึ่งเป็นผู้นำที่เด็ดเดี่ยวที่สุดของจีนในยุคนี้ —————————————————————————————————————————————— ที่มา : …
หลายสัปดาห์หลังจากมีการเผยแพร่เอกสารลับของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ จำนวนมากบนสื่อสังคมออนไลน์ องค์การสหประชาชาติ ออกถ้อยแถลงตำหนิสหรัฐฯ กรณีที่มีการสอดแนมเลขาธิการและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหประชาชาติ นายสเตฟาน ดูจาร์ริก โฆษกสหประชาชาติ กล่าวว่า สหประชาชาติมีความเห็นว่า การสอดแนมเจ้าหน้าที่บุคลากรของสหประชาชาติ ไม่สอดคล้องกับพันธกรณีของสหรัฐอเมริกาที่ระบุไว้ในกฎบัตรของสหประชาชาติและอนุสัญญาว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของสหประชาชาติ และสหประชาชาติได้ส่งบันทึกไปยังคณะผู้แทนทางการทูตของสหรัฐฯ ในสหประชาชาติเกี่ยวกับเอกสารลับแล้ว โดยในเอกสารลับส่วนที่เกี่ยวข้องกับสหประชาชาติ ที่ถูกนำมาเผยแพร่ เป็นการสอดแนมการสนทนาและการทำงานของนายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ รวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูง โดยมีการแสดงความเห็นว่า นายกูเตอร์เรส “อ่อนข้อ” ให้กับรัสเซียมากเกินไป จนส่งผลกระทบต่อการใช้มาตรการคว่ำบาตร ทั้งมีรายละเอียดการสนทนาส่วนตัวระหว่างนายกูเตอร์เรสกับนางอมินา โมฮัมเหม็ด รองเลขาธิการสหประชาชาติ อย่างไรก็ตาม สำนักงานของนายกูเตอร์เรส ระบุว่า การทำงานของเขาอยู่ในสายตาของสาธารณชนมาเป็นเวลานาน จึงไม่แปลกใจหากจะมีการสอดแนมและดักฟังการสนทนาส่วนตัว แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจคือความบกพร่องหรือไร้ความสามารถที่ทำให้การสนทนาส่วนตัวถูกนำไปเผยแพร่ และถูกบิดเบือน —————————————————————————————————————————————— ที่มา : …
เครื่องบินขับไล่ของกองทัพสหรัฐฯ ในวันอาทิตย์ (12 ก.พ) ยิงร่วงวัตถุบินแปดเหลี่ยมปริศนาลำหนึ่ง เหนือทะเลสาบฮูรอน รัฐมิชิแกน จากการเปิดเผยของเพนตากอน ในเหตุการณ์ล่าสุดนับตั้งแต่บอลลูนลำหนึ่ง ซึ่งต้องสงสัยว่าเป็นบอลลูนสอดแนมของจีน ทำให้กองกำลังด้านความมั่นคงอเมริกาเหนือยกระดับการเฝ้าระวังขั้นสูง เหตุการณ์ล่าสุดนี้ถือเป็นวัตถุบินปริศนาลำที่ 4 ที่ถูกสหรัฐฯ ใช้ขีปนาวุธยิงตกเหนืออเมริกาเหนือ ในเวลาห่างกันแค่ 1 สัปดาห์เศษ แพทริค ไรเดอร์ โฆษกของเพนตากอนระบุในถ้อยแถลงอย่างเป็นทางการว่า ตามคำสั่งของประธานาธิบดีโจ ไบเดน เครื่องบินเอฟ-16 ของสหรัฐฯ ได้สอยร่วงวัตถุดังกล่าวตอน 14.42 น.(ตามเวลาท้องถิ่น) เหนือทะเลสาบฮูรอน ตามแนวชายแดนอเมริกา-แคนาดา แม้ไม่ได้เสี่ยงเป็นภัยคุกคามทางทหาร กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ระบุว่าวัตถุดังกล่าวอาจยุ่มย่ามการสัญจรทางอากาศภายในประเทศ ในระหว่างที่มันเดินทางอยู่ที่ระดับความสูง 20,000 ฟุต (ราว 6,100 เมตร) และบางทีมันอาจเป็นกิจกรรมการสอดแนม วัตถุนี้ดูเหมือนว่ามีรูปร่างลักษณะ 8 เหลี่ยม มีสายห้อยออกมา แต่จากที่มองเห็นด้วยตาเปล่าไม่บรรทุกอุปกรณ์ใดื ๆ ตามการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ รายหนึ่งซึ่งไม่ประสงค์เอ่ยนาม …
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว