วิกฤตขาดบุคลากร ช่องโหว่ใหญ่เหตุ ‘ละเมิดข้อมูล’

Loading

  “ฟอร์ติเน็ต” เผย วิกฤติขาดแคลนบุคลากร เพิ่มช่องโหว่การละเมิดความปลอดภัยทางไซเบอร์ สำรวจพบองค์กรในไทยเกินกว่าครึ่งต่างเคยประสบกับปัญหานี้มาแล้ว ด้านผลกระทบมีตั้งแต่ปัญหาด้านการเงิน การดำเนินงานหยุดชะงัก ตลอดจนปัญหาการเสื่อมเสียชื่อเสียง   ภัคธภา ฉัตรโกเมศ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ติเน็ต เผยว่า การมีบุคลากรด้านไซเบอร์ที่ได้รับการฝึกอบรมและผ่านการรับรองถือเป็นปราการป้องกันด่านแรกสำหรับการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์   ฟอร์ติเน็ตพบว่า 92% ขององค์กรในประเทศไทย พบว่าการละเมิดข้อมูลในปีที่ผ่านมามีส่วนมาจากการขาดทักษะทางไซเบอร์ และ 72% มาจากความเสี่ยงทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นจากช่องว่างด้านทักษะ โดยรวม 68% ขององค์กรในประเทศไทย ต่างเคยประสบกับการละเมิดเนื่องจากมีช่องว่างด้านทักษะทางไซเบอร์   รัฐิติ์พงษ์ พุทธเจริญ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายวิศวกรรมระบบ ฟอร์ติเน็ต ประเทศไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นเป้าหมายหลักของการโจมตีด้วยวิธีการที่ซับซ้อน   ตั้งแต่การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ ตลอดจนช่วงโหว่ในซัพพลายเชน ทำให้องค์กรมากมายต้องตกอยู่ในความเสี่ยงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำให้การดำเนินงานต้องหยุดชะงักและเกิดความไม่ปลอดภัยกับข้อมูลที่ละเอียดอ่อน   ช่องว่าง ‘ทักษะทางไซเบอร์’ กระทบหลายบริษัททั่วโลก   รายงานการศึกษาช่องว่างด้านทักษะความปลอดภัยทางไซเบอร์ในทั่วโลก (Global Cybersecurity Skills Gap Report) ของฟอร์ติเน็ตประจำปี…

IT & gadget ฉุดไม่อยู่! ไทยเบอร์ 1 อาเซียน ถูกโจมตีโดย ‘แรนซัมแวร์’

Loading

แคสเปอร์สกี้ รายงานว่า สามารถบล็อกเหตุการณ์โจมตีในไทยได้มากถึง 109,315 รายการ รองลงมาคืออินโดนีเซีย 97,226 รายการ เวียดนาม 59,837 รายการ ฟิลิปปินส์ 15,312 รายการ มาเลเซีย 4,982 รายการ และสิงคโปร์ 741 รายการ

ข้อมูลเจ้าหน้าที่ตำรวจ Greater Manchester ของอังกฤษถูกแฮ็กจากการโจมตีทางไซเบอร์

Loading

เมื่อ 14 ก.ย.66 กองกำลังตำรวจเขตเกรตเทอร์แมนเชสเตอร์ (Greater Manchester Police – GMP) แถลงระบุว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่อื่น ๆ จำนวนหลายพันคนของ GMP ถูกแฮ็กจากบริษัทผลิตบัตรประจำตัวของเจ้าหน้าที่ด้วยการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์

ระบบคลาวด์ของรัฐบาลศรีลังกาถูกโจมตีด้วยแรนซัมแวร์

Loading

เมื่อ 11 ก.ย.66 ทีมเตรียมพร้อมฉุกเฉินและศูนย์ประสานงานทางคอมพิวเตอร์ของศรีลังกา (CERT/CC) ภายใต้สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของศรีลังกา (ICTA) ระบุว่าระบบคลาว์ของรัฐบาลศรีลังกา (Lanka Government Cloud – LCG) ถูกโจมตีด้วยแรนซัมแวร์

ผู้บริโภค-องค์กร ‘เหยื่อ’ โจมตีไซเบอร์ สะเทือนโลก

Loading

  ‘ผู้บริโภค’ คือ เหยื่อปลายทาง ‘ไอบีเอ็ม’ เปิดผลศึกษาองค์กรที่สูญเสียจากเหตุโจมตีไซเบอร์ “ขึ้นราคาสินค้า-บริการ” ดึงผู้บริโภคร่วมแบกรับ ท่ามกลางภาวะ “เงินเฟ้อ-ซัพพลายเชน” ชะงัก   การโจมตีทางไซเบอร์กลาย เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อย และทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ที่สร้างความเสียหายมหาศาลให้กับธุรกิจ การละเมิดข้อมูลและข้อมูลรั่ว หรือการส่งอีเมลหลอกให้โอนเงิน (BEC)   ในปีที่ผ่านมา เหตุที่โด่งดังไปทั่วโลก เพราะสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชาชน องค์กร เศรษฐกิจ และสังคมในวงกว้าง คงหนีไม่พ้นเหตุแรนซัมแวร์เรียกค่าไถ่ท่อส่งน้ำมันโคโลเนียล ไปป์ไลน์ ที่ทำให้ผู้คนในฝั่งตะวันออกของอเมริกาต้องเข้าคิวยาวเหยียดเพื่อเติมน้ำมัน แถมส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นถึง 10%     ผู้บริโภคแบกรับความสูญเสีย   “สุรฤทธิ์ วูวงศ์” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มเทคโนโลยี บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ชี้ว่า “ไม่เพียงแต่ธุรกิจที่ได้รับความเสียหายจากภัยไซเบอร์ แต่วันนี้ผู้บริโภคคือผู้ที่แบกรับมูลค่าความสูญเสียเหล่านี้ด้วย โดยจากรายงานมูลค่าความเสียหายของเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลประจำปี 2565 องค์กรที่สำรวจ 60% ระบุว่าความเสียหายจากการเผชิญกับเหตุข้อมูลรั่วไหลทำให้ตนเพิ่มราคาสินค้าและบริการ ซึ่งถือเป็นการส่งต่อค่าใช้จ่ายให้กับลูกค้า ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อ ปัญหาซัพพลายเชน และการขึ้นราคาของสินค้าที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ”…