เกาหลีใต้สงสัยแฮ็กเกอร์ฝ่ายเหนือ พยายามโจมตีระบบก่อนการซ้อมรบ

Loading

  รัฐบาลโซลกล่าวว่า แฮ็กเกอร์ในสังกัดของรัฐบาลเปียงยาง พยายามโจมตีทางไซเบอร์ ก่อนการซ้อมรบครั้งใหม่ระหว่างเกาหลีใต้กับสหรัฐฯ จะเปิดฉาก   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 20 ส.ค. ว่าสำนักงานตำรวจจังหวัดคย็องกี ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาหลีใต้ ใกล้กับกรุงโซล รายงานว่า กลุ่มแฮ็กเกอร์ซึ่งใช้ชื่อว่า “Kimsuky” และรัฐบาลโซลมีความเชื่อมั่นว่า มีความเกี่ยวโยงกับเกาหลีเหนือ พยายามโจมตีทางไซเบอร์ “อย่างต่อเนื่อง” ต่อระบบอีเมลของบริษัทสัญญาจ้างแห่งหนึ่ง ที่มีส่วนร่วมกับการซ้อมรบร่วมระหว่างสหรัฐฯ กับเกาหลีใต้   #North Korean #hackers targeted S. Korea-US #military drills: #policehttps://t.co/Fc3ilBSY4p — The Korea Times (@koreatimescokr) August 20, 2023   อย่างไรก็ดี ตำรวจเกาหลีใต้ยืนยันว่า ไม่มีข้อมูลทางทหารหลุดรอดออกไป ทั้งนี้ ข้อมูลเบื้องต้นโดยสหรัฐและเกาหลีใต้ระบุว่า แฮ็กเกอร์กลุ่มนี้ปฏิบัติการตั้งแต่ปี 2555 มีเป้าหมายคือการโจมตีทางไซเบอร์ ต่อหน่วยงานรัฐด้านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคง ของเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น…

Account ในระบบคลาวด์ มากกว่าครึ่ง เสี่ยงถูกแฮ็ก

Loading

  ปัจจุบัน มีการใช้งานระบบคลาวด์ (Cloud) กันอย่างแพร่หลายในทั่วทุกมุมโลก ส่งผลให้เกิดปัญหาการคุกคามทางไซเบอร์จากผู้ไม่ประสงค์ดีซึ่งมาในรูปแบบที่แตกต่างกัน   อีกทั้งองค์กรต่าง ๆ ยังคงต้องเผชิญกับสภาวะการขาดแคลนทักษะในตลาดแรงงานทางด้านคลาวด์อีกเป็นจำนวนมากถึง 2.7 ล้านคนทั่วโลก   การสำรวจเรื่องความปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้งานระบบคลาวด์พบว่า องค์กรระดับโลกส่วนใหญ่ต่างพากันไม่มั่นใจในประสิทธิภาพของการควบคุมความปลอดภัยในระบบคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) แม้ว่าองค์กรนั้น ๆ จะมีการจัดเก็บข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนไว้บนนั้นก็ตาม   สำหรับกลุ่มเป้าหมายในการสำรวจครั้งนี้คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีและความปลอดภัยจากองค์กรต่าง ๆ ซึ่งผลสำรวจชี้ให้เห็นว่า 2 ใน 3 หรือประมาณ 67% มีการจัดเก็บข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน หรือ เวิร์คโหลดไว้กับผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะ (Cloud Service Provider หรือ CSP)   นอกจากนี้ มีประมาณ 1 ใน 3 หรือ 31% ที่ยอมรับว่า ไม่มั่นใจ หรือมั่นใจเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับความสามารถในการปกป้องข้อมูลในระบบคลาวด์ และอีก 44% มีความมั่นใจในระดับปานกลางเท่านั้น   ในความเป็นจริงแล้ว CSP…

สุดเสี่ยง!!! เอเชียแปซิฟิก’ พื้นที่เป้าหมายภัยคุกคามออนไลน์

Loading

  แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดรายงานล่าสุดเรื่องรูปแบบแนวโน้มของ APT (Advanced Persistent Threats) ของไตรมาสที่สองของปี 2023 ขณะที่ ‘เอเชียแปซิฟิก’ ยังเป็นพื้นที่ ถูกคุกคามจากภัยออนไลน์ตัวใหม่ ๆ   แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดรายงานล่าสุดเรื่องรูปแบบแนวโน้มของ APT (Advanced Persistent Threats) หรือ การโจมตีแบบระบุเป้าหมาย ซึ่งถือเป็นการโจมตีของภัยคุกคามขั้นสูง ของไตรมาสที่สองของปี 2023   นักวิจัยแคสเปอร์สกี้ได้วิเคราะห์ รวมไปถึงการสร้าง มัลแวร์ สายพันธุ์ใหม่ และการใช้เทคนิคใหม่ๆ ของ อาชญากรไซเบอร์ โดยเฉพาะ เรื่องสำคัญคือแคมเปญการโจมตีที่มีความซับซ้อน ชื่อว่า “Operation Triangulation” ที่ดำเนินการใช้แพลตฟอร์มมัลแวร์ iOS มายาวนานโดยไม่มีใครรู้จักมาก่อน   ข้อมูลสำคัญจากรายงาน APT ไตรมาส 2 ได้แก่   •  เอเชียแปซิฟิกเป็นพื้นที่ถูกคุกคามตัวใหม่ “Mysterious Elephant”…

Cisco Talos พบมัลแวร์เรียกคาไถ่ Yashma ที่ใช้โจมตีองค์กรในจีน เวียดนาม และบัลแกเรีย

Loading

  Cisco Talos พบแฮ็กเกอร์เวียดนามใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ตัวใหม่โจมตีองค์กรต่าง ๆ ในจีน เวียดนาม บัลแกเรีย และประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษอื่น ๆ อย่างน้อยตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายนเป็นต้นมา   มัลแวร์เรียกไถ่ตัวนี้อยู่ในตระกูล Yashma ซึ่งสิ้นฤทธิ์ไปตั้งแต่มีการปล่อยตัวปลดล็อกออกมา โดยเป็นมัลแวร์เรียกค่าไถ่ Chaos ฉบับรีแบรนด์ที่แพร่กระจายครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม 2022   โดยมีการดัดแปลงให้ดาวน์โหลดจดหมายเรียกค่าไถ่มาจากใน GitHub แทนที่จะเก็บไว้ในตัวมันเอง   Talos พบว่าผู้อยู่เบื้องหลังแฮ็กเกอร์ตัวนี้ใช้ชื่อบัญชีใน GitHub ว่า nguyenvietphat และมักเขียนจดหมายเรียกค่าไถ่เป็นภาษาจีน บัลแกเรีย เวียดนาม และภาษาอังกฤษ   นอกจากชื่อบัญชีที่เป็นภาษาเวียดนามแล้ว อีเมล และองค์กรที่แฮ็กเกอร์รายนี้สวมรอยก็ตั้งอยู่ในเวียดนาม อีกทั้งช่วงเวลาที่มักจะขอให้ติดต่อตัวเองสอดคล้องกับเขตเวลาเวียดนาม   เหยื่อที่ถูกโจมตี ภาพพื้นหลังในอุปกรณ์ของตัวเองจะถูกเปลี่ยนเป็นข้อความที่ระบุว่าไฟล์ถูกเข้ารหัสทั้งหมด   มัลแวร์เรียกค่าไถ่ยังหลบระบบการตรวจจับและซอฟต์แวร์ต้านไวรัสของเป้าหมาย มีระบบต่อต้านการฟื้นฟูข้อมูล โดยเมื่อเข้ารหัสไฟล์แล้ว Yashma จะลบเนื้อหาของไฟล์ที่มีอยู่เดิมทั้งหมด     ที่มา   therecord    …

กกต. สหราชอาณาจักรเผยแฮ็กเกอร์ทำข้อมูลรั่ว หน่วยข่าวเชื่อเป็นฝีมือรัสเซีย

Loading

  คณะกรรมการการเลือกตั้งของสหราชอาณาจักรออกมาขอโทษกรณีพบการแฮ็กที่มีความซับซ้อนโดยใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ในเดือนตุลาคม 2022 แต่การแฮ็กจริงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2021 แล้ว   การแฮ็กนี้ทำให้ข้อมูลทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีชื่อและที่อยู่ระหว่างปี 2014 – 2022 หลุดออกมา   สำนักข่าว The Times และ The Telegraph เผยว่าบรรดาหน่วยข่าวกรองของสหราชอาณาจักรพบหลักฐานที่เชื่อมยังการโจมตีเข้ากับรัฐบาลรัสเซีย   เซอร์ เดวิด โอมานด์ (Sir David Omand) อดีตผู้อำนวยการศูนย์สื่อสารรัฐบาล (GCHQ) ซึ่งเป็นหน่วยงานข่าวกรองสัญญาณของสหราชอาณาจักร เชื่อว่ารัสเซียน่าจะอยู่เบื้องหลังการโจมตีในครั้งนี้ เช่นเดียวกับ เซอร์ ริชาร์ด เดียร์เลิฟ (Sir Richard Dearlove) อดีตผู้อำนวยการ MI6 ที่กล่าวในลักษณะเดียวกัน   กรณีนี้ทำให้เกิดความกังวลว่า กกต. อาจไม่สามารถเข้าถึงรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แต่ทางองค์กรชี้ว่าความเสี่ยงที่การแฮ็กดังกล่าวจะส่งผลต่อการเลือกตั้งนั้นมีน้อยนิด เพราะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทำด้วยกระดาษ   อย่างไรก็ดี ชอน แม็กแนลลี (Shaun McNally) ประธาน กกต.…

การโจมตีทางไซเบอร์ระงับการให้บริการโรงพยาบาลใน 5 รัฐของสหรัฐฯ

Loading

  การโจมตีทางไซเบอร์ทำให้ระบบการทำงานของโรงพยาบาลหลายแห่งในหลายรัฐของสหรัฐอเมริกาใช้งานไม่ได้ ทำให้ต้องปิดห้องฉุกเฉิน งดรับรถพยาบาล และย้ายผู้ป่วยไปรักษาที่อื่น   เหตุการณ์นี้เริ่มขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (3 สิงหาคม) ต่อสถาบันทางการแพทย์ที่ Prospect Medical Holdings ดูแลอยู่ ทำให้โรงพยาบาลในแคลิฟอร์เนีย เท็กซัส คอนเนตทิคัต โรดไอแลนด์ และเพนซิลเวเนีย ได้รับผลกระทบ   ด้าน Prospect Medical Holdings เผยว่าได้ปิดระบบชั่วคราวเพื่อคุ้มครองข้อมูลและได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรภายนอกในการตรวจสอบกรณีที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งเน้นการดูแลผู้ป่วยเป็นหลัก โดยบริษัทมีทีมในระดับประเทศที่คอยประเมินผลกระทบอยู่   โรงพยาบาล 2 แห่งในคอนเนตทิคัตต้องปิดห้องฉุกเฉิน ย้ายผู้ป่วยในสถานพยาบาลใกล้เคียง และกลับไปใช้การบันทึกข้อมูลบนกระดาษ   นอกจากนี้ การผ่าตัดที่ไม่ฉุกเฉิน การบริจาคเลือด และบริการอื่น ๆ ต้องระงับออกไปก่อน   สำนักงานสืบสวนกลาง (FBI) ในรัฐคอนเนตทิคัตแถลงว่ากำลังทำงานร่วมกับหน่วยบังคับใช้กฎหมายอื่น ๆ และเหยื่อในการสืบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น     ที่มา latimes       —————————————————————————————————————————————————…