แฮ็กเกอร์ประเทศเพื่อนบ้านส่งตรงมัลแวร์ผ่านการโฆษณา ขโมยทุกอย่างตั้งแต่ภาพหน้าจอยันข้อมูลบัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่านในเว็บเบราว์เซอร์

Loading

  ศูนย์ประสานงานรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ด้านโทรคมนาคม (TTC-CERT) รายงาน เกี่ยวกับเทรนด์ในปัจจุบันที่กลุ่มผู้โจมตี (threat actor) กำลังให้ความนิยมในการโจมตีด้วยเทคนิคที่เรียกว่า Malvertising เพื่อแพร่กระจายมัลแวร์ในโลกออนไลน์โดยใช้แพลตฟอร์ม Google Adsense และ Facebook Ads   ซึ่งวิธีการนี้ช่วยให้กลุ่มผู้โจมตีสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการโจมตีได้อย่างละเอียด เช่น สามารถกำหนดเกณฑ์อายุ ตำแหน่งที่อยู่ หรือแสดงโฆษณาเฉพาะคีย์เวิร์ดที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายเท่านั้น ทำให้โฆษณาแฝงมัลแวร์เหล่านี้ไปปรากฏบนหน้าจอของผู้ใช้งานได้ตรงกลุ่มเป้าหมายตามที่กลุ่มผู้โจมตีต้องการ เมื่อประกอบกับพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้งานทั่วไปที่มักไม่ตรวจสอบความปลอดภัยหรือแม้กระทั่งเข้าใจผิดคิดว่าโฆษณาเหล่านี้เป็นผลลัพธ์การค้นหา (search result) ตามปกติ ทำให้เทคนิคการโจมตีแบบ Malvertising ประสบความสำเร็จในการโจมตีผู้ใช้งานทั่วไปค่อนข้างมาก รวมถึงมีโอกาสที่จะใช้ในการโจมตีแบบ targeted attack ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย   แผนภาพ (diagram) แสดง Malvertise บนสื่อสังคมออนไลน์แห่งหนึ่งถูกใช้ในการแพร่กระจายมัลแวร์ Bbot   ทั้งนี้ ศูนย์ TTC-CERT ได้ทำการเฝ้าระวังการโจมตีด้วยเทคนิค Malvertising ที่อาจมีเป้าหมายในการโจมตีผู้ใช้งานในประเทศไทยและได้ตรวจพบแคมเปญการโฆษณาที่มีความผิดปกติจำนวนหนึ่งบนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์แห่งหนึ่ง โดยหนึ่งในนั้นมีลักษณะในการโฆษณาแอบอ้างว่าสามารถช่วยในการกู้คืนบัญชีผู้ใช้งานที่ถูกแบนได้โดยเชิญชวนให้ผู้ใช้งานทำการดาวน์โหลดและติดตั้งไฟล์ต้องสงสัยบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์   ศูนย์ TTC-CERT จึงทำการตรวจสอบไฟล์ดังกล่าวและพบว่าเป็นไฟล์มัลแวร์ประเภท Infostealer ที่มีชื่อว่า “Bbot”…

กดเปลี่ยนชีวิต Terminator เครื่องมือใหม่ หลอกให้ปิดใช้งาน Anti-virus

Loading

    วิศวกรของ CrowdStrike บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ เปิดเผยข้อมูลที่แฮ็กเกอร์ชาวรัสเซีย ได้โพสต์ขายเครื่องมือแฮ็กชนิดหนึ่งชื่อว่า Terminator สามารถปิดการใช้งานซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส (AV) ได้เกือบทุกชนิด รวมถึงโซลูชั่นรักษาความปลอดภัย Endpoint Detection and Response (EDR) และ Extended Detection and Response (XDR) โดยใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ของไดรเวอร์บน Windows   Terminator ถูกขายในฟอรัมแฮ็กรัสเซียชื่อ Ramp โดยมีราคาตั้งแต่ 300 ไปจนถึง 3,000 ดอลลาร์ ส่งผลต่อผู้ใช้งาน Windows แทบทั้งหมด และสามารถหลอกซอฟต์แวร์แอนตี้แบรนด์ดัง ๆ ได้ยกเว้น BitDefender, Avast และ Malwarebytes   จากคลิปตัวอย่างที่เขาเปิดเผย เมื่อกดคลิกที่ Termintor.exe เครื่องมือจะทำการปิดโปรแกรมแอนตี้ไวรัสในเครื่องได้ในพริบตา ทำให้แฮกเกอร์สามารถติดตั้งมัลแวร์เพิ่มเติมในเครื่องได้   ลองนึกเล่น ๆ ว่า หากมีใครจ้องจะโจมตีเรา…

เลขาธิการ กมช. ย้ำ หน่วยงานรัฐมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ไซเบอร์

Loading

    พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ได้กล่าวถึงข้อมูลเกี่ยวกับการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นกับเพจของหน่วยงานภาครัฐ ว่า ในขณะนี้ ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการโจมตีผู้ดูแลเพจ เป็นผลทำให้ข้อมูลผู้ใช้และรหัสผ่านถูกขโมย หรืออาจเกิดจากการติดตั้งมัลแวร์ในอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกัน ทั้งนี้ ผู้โจมตีอาจเข้าระบบเพจและสร้างปัญหาให้กับเพจเปลี่ยนแปลงแก้ไขเป็นข้อมูลไม่เหมาะสม ซึ่งเรื่องนี้ควรถูกป้องกันล่วงหน้าและต้องดำเนินการแก้ไขเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต   หน่วยงานภาครัฐควรทำการลงทะเบียนรับรองความถูกต้อง (verified badge) เพื่อให้สามารถกู้คืนระบบได้ การเป็นแอดมินหน้าเพจจะต้องใช้วิธีการ multi-factor authentication ซึ่งไม่เพียงแค่การใช้รหัสผ่านเดียว แต่ยังต้องมีการพิสูจน์ตัวตนผ่านมือถือหรืออุปกรณ์อื่นเพิ่มเติม เพื่อเสริมความปลอดภัยและป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต การมีการป้องกันและการกู้คืนระบบที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเหตุการณ์นี้ซ้ำ   ในทางกฎหมายของประเทศไทย พ.ร.บ. ไซเบอร์ฯ มีมาตรการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ อาทิเช่น มาตรา 45 กำหนดให้ทุกหน่วยงานต้องมีมาตรการในการป้องกันและการบริหารจัดการความเสี่ยง และมาตรา 58 กำหนดให้หน่วยงานต้องเตรียมพร้อมในการแก้ไขเมื่อเกิดเหตุการณ์ ทั้งนี้ หน่วยงานทุกหน่วยงานและผู้บริหารต้องให้ความสำคัญและปฏิบัติตามกฎหมาย พ.ร.บ. ไซเบอร์ฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ซึ่งทุกฝ่ายต้องร่วมกันดำเนินการเพื่อป้องกันทั้งในเรื่องของเทคโนโลยี การอบรมผู้ใช้งาน และรูปแบบการใช้งานที่เหมาะสม หากปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างเข้มงวด ปัญหาที่เกิดขึ้นก็จะได้รับการบรรเทาและไม่เกิดซ้ำในอนาคต   ในกรณีที่เกิดการโจมตีทางไซเบอร์ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน สามารถแจ้งได้ที่เพจของสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ…

บรรดาเพจ Facebook หน่วยงานราชการถูกเจาะไปเผยแพร่คลิปสยิว

Loading

    หลายวันที่ผ่านมา บรรดาเพจ Facebook และเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการอย่างท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ กระทรวงศึกษา ลามไปถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ถูกแฮ็กเกอร์เข้ายึดบัญชีไปเผยแพร่คลิปสยิว   บางเพจหรือเว็บไซต์ก็ถูกแฮ็กเกอร์เข้าไปฝังมัลแวร์เอาไว้ ลวงให้ประชาชนดาวน์โหลดลงไปไว้ในอุปกรณ์ของตัวเอง   สิ่งที่หน่วยงานเจ้าของเพจ Facebook เหล่านี้ทำคือสร้างหน้าเว็บไซต์ใหม่ไปก่อน ในขณะที่พยายามหาทางแก้ไขเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น     สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานคร หนึ่งในหน่วยงานที่โดนแฮ็กเพจชี้ว่าอยู่ระหว่างการดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วนอยู่ และเตือนประชาชนว่าอย่าเข้าไปปฏิสัมพันธ์กับเพจที่โดนแฮ็ก   ลบสิทธิ์ผู้ดูแลไปโพสต์อนาจาร   แอดมินเพจศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา กรมส่งเสริมการเรียนรู้ (หรือที่รู้จักกันในชื่อ ‘ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ’) ระบุกับทาง Beartai ว่าเพจของศูนย์ฯ ถูกแฮ็กไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคมแล้ว ก่อนจะนำเพจไปเผยแพร่คลิปอนาจารในวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา   สิ่งที่แฮ็กเกอร์ทำ คือ ล็อกอินเข้าไปในเพจและลบการเข้าถึงของแอดมินคนอื่น ๆ ออกทั้งหมด ยิ่งไปกว่านั้นทีมงานผู้ดูแลเพจในปัจจุบันยังไม่สามารถติดต่อผู้ก่อตั้งเพจเดิมได้ เนื่องจากเกษียณอายุราชการไปนานแล้ว     ทางแอดมินของศูนย์ฯ ยังได้พยายามติดต่อไปยัง Facebook พร้อมทั้งประสานไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้ปิดเพจเดิม แต่ยังไม่มีความคืบหน้าใด…

พบช่องโหว่ใน Google Workspace ที่อาจทำให้ผู้ใช้ถูกขโมยข้อมูลแบบไร้ร่องรอย

Loading

    ผู้เชี่ยวชาญจาก Mitiga Security พบว่าผู้ใช้งาน Google Workspace ที่ไม่ได้ซื้อไลเซนส์มีโอกาสถูกขโมยข้อมูลแบบไม่ทิ้งร่องรอยไว้ได้   เนื่องจากการที่ไม่มีไลเซนส์แปลว่าไม่มีการล็อกอินเข้าไปในระบบ และไม่มีการบันทึกข้อมูลหรือประวัติการเปลี่ยนแปลงข้อมูลด้วย ทำให้การเข้าไปเจาะข้อมูลก็จะไม่มีร่องรอยใด ๆ   แต่ก็ไม่ได้แปลว่าผู้ใช้ที่มีไลเซนส์จะปลอดภัย เพราะหากมีแฮ็กเกอร์เจาะเข้าไปในบัญชีคลาวด์และยกเลิกไลเซนส์ของเหยื่อ ก็จะทำให้การปรับแต่งข้อมูลใด ๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตจะไม่มีการบันทึกไว้   คนร้ายก็จะสามารถได้ข้อมูลและหนีไปได้อย่างไร้ร่องรอย ผู้ดูแลระบบก็จะไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น จะเห็นเพียงว่ามีคนยกเลิกไลเซนส์เท่านั้น   ช่องโหว่นี้ไม่ใช่ช่องโหว่ที่เกิดจากความผิดพลาดทางเทคนิค แต่เป็นความไม่รัดกุมของการออกแบบเชิงระบบของแพลตฟอร์มเอง         ที่มา TechRadar         —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                              beartai …

Group-IB เตือนกลุ่มแฮ็กเกอร์ Dark Pink แฮ็กหน่วยงานรัฐแถบอาเซียน ระบุทหารไทยโดนด้วย

Loading

  Group-IB บริษัทความปลอดภัยไซเบอร์จากสิงคโปร์ ออกรายงานถึงกลุ่มแฮ็กเกอร์ Dark Pink ที่มุ่งโจมตีหน่วยงานรัฐในแถบอาเซียน และรายงานฉบับล่าสุดพบว่ามีหน่วยงานทหารไทยถูกโจมตีเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา   กลุ่ม Dark Pink เริ่มต้นจากการส่งอีเมลหลอกให้เหยื่อรันโปรแกรมในเครื่องของตัวเอง จากนั้นฝังโปรแกรมลงในเครื่อง และดาวน์โหลดโมดูลเพิ่มเติมจาก GitHub จากนั้นส่งส่งข้อมูลที่ขโมยมาได้กลับออกไปทาง Telegram   ทาง Group IB พบกลุ่ม Dark Pink โจมตีหน่วยงานต่าง ๆ ตั้งแต่ช่วงปี 2021 โดยเริ่มจากองค์กรในเวียดนาม และในปีที่แล้วเริ่มเห็นการโจมตีหน่วยงานชาติอื่น ๆ ในอาเซียนเพิ่มขึ้น       ที่มา – Group-IB       ————————————————————————————————————————- ที่มา :                     Blognone…