แฮ็ก”ทวิตเตอร์ ปภ.” ปรับแจ้งเตือนน้ำท่วมผ่านเฟซบุ๊ก เฝ้าระวัง”กลาง-อีสาน-เหนือ”

Loading

  แฮ็กเกอร์ ยึดทวิตเตอร์ “ปภ.” แอดมินเร่งกู้คืน แจ้งการติดตามประกาศเตือนภัยน้ำท่วมผ่านเฟซบุ๊ก ล่าสุดเปิดพื้นที่ “เหนือ-อีสาน-กลาง” เตรียมรับมือน้ำท่วม   5 ตุลาคม 2565 ปภ. ถูกแฮ็กเกอร์โจมตี ทวิตเตอร์ (Twitter) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แจ้งผ่านเพจเฟซบุ๊ก “กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM” เมื่อเวลา 19.00 น. วันที่ 4 ต.ค.ที่ผ่านมา ระบุว่า ถูก แฮ็กเกอร์ เข้าถึงระบบหลังบ้านและได้เปลี่ยนแปลงบัญชี “Twitter” ทำให้แอดมินของ ปภ. ไม่สามารถใช้งานได้ โดยมีเนื้อหาดังนี้..   ” เนื่องจากขณะนี้ Twitter ของ ปภ. ชื่อกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) บัญชี @DDPMNews ถูกแฮ็ก แอดมินอยู่ระหว่างการประสานดำเนินการแก้ไขเพื่อให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติโดยเร็ว ผู้ที่ติดตามข้อมูลสาธารณภัยของ ปภ. สามารถติดตามข้อมูลได้ผ่านทาง Facebook ค่ะ “  …

รัฐบาลเม็กซิโกโดนแฮ็กครั้งใหญ่ ข้อมูลสุขภาพประธานาธิบดีหลุด

Loading

  รัฐบาลเม็กซิโก ถูกโจมตีไซเบอร์ครั้งใหญ่ ข้อมูลกองทัพหลุดรวมถึงรายละเอียดโรคหัวใจของประธานาธิบดีแอนเดรส มานูเอล โลเปซ โอบราดอร์ ที่ต้องเข้าโรงพยาบาลเมื่อเดือน ม.ค.   สำนักข่าวรอยเตอร์รายงาน ประธานาธิบดีเม็กซิโก แถลงข่าวประจำวันเมื่อวันศุกร์ (30 ก.ย.) ตามเวลาท้องถิ่น กล่าวว่า ข้อมูลที่สื่อท้องถิ่นรายงานเมื่อคืนที่ผ่านมาเรื่องการแฮกข้อมูลกระทรวงกลาโหมเป็นข่าวจริง พร้อมยืนยันข้อมูลสุขภาพของตนที่ถูกเปิดเผยเป็นของจริง แฮ็กเกอร์ใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงระบบไอทีของกองทัพ   ทั้งนี้ ตามรายงานข่าว การโจมตีข้อมูลครั้งนี้เข้าถึงข้อมูล 6 เทราไบต์จากกระทรวงกลาโหม ประกอบด้วยข้อมูลอาชญากร สำเนาการสื่อสาร และการจับตานายเคน เซลาซาร์ ทูตสหรัฐประจำเม็กซิโก ด้านสถานทูตสหรัฐยังไม่ให้ความเห็นกับรอยเตอร์   การโจมตีข้อมูลครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากมีการเปิดเผยข้อมูลของรัฐบาลเมื่อวันพฤหัสบดี (29 ก.ย.) ว่า เฮลิคอปเตอร์ทหารลำหนึ่งตกในเดือน ก.ค. มีผู้เสียชีวิต 14 คน สาเหตุมาจากน้ำมันหมด   นายฮาเวียร์ โอลิวา นักรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยอิสระแห่งชาติเม็กซิโก กล่าวว่า ข้อมูลหลุดชี้ให้เห็นความเสี่ยงอย่างร้ายแรง โดยเฉพาะในช่วงที่บทบาทของกองทัพกำลังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างร้อนแรง       ——————————————————————————————————————————- ที่มา…

จีนประณามสหรัฐฯ โจมตีทางไซเบอร์มหาวิทยาลัยจีน

Loading

  นายหวาง เหวินปิน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนเปิดเผยว่า มีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าสหรัฐฯ เป็นภัยคุกคามร้ายแรงที่สุดต่อความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ทั่วโลก และเรียกร้องให้มีความพยายามร่วมกัน เพื่อต่อต้านการละเมิดอธิปไตยในโลกไซเบอร์และกฎระเบียบระหว่างประเทศของสหรัฐฯ   เมื่อวันอังคาร (27 ก.ย.) ศูนย์ตอบสนองเหตุฉุกเฉินไวรัสคอมพิวเตอร์แห่งชาติของจีน รายงานว่า สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ (NSA) เจาะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเข้าควบคุมสิ่งอำนวยความสะดวกด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในประเทศจีนและแทรกซึมเข้าไปในเครือข่ายภายในของมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น โปลีเทคนิคอล ของจีนโดยใช้เซิร์ฟเวอร์ในประเทศต่างๆ เช่น เนเธอร์แลนด์และเดนมาร์ก เป็นฐานการโจมตีทางไซเบอร์ผ่าน ญี่ปุ่น เยอรมนี สาธารณรัฐเกาหลี และประเทศอื่นๆ มายังประเทศจีน ทำให้สามารถขโมยข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนและข้อมูลส่วนบุคคลได้ นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังควบคุมผู้ให้บริการโทรคมนาคมอย่างน้อย 80 ประเทศ และดำเนินการดักฟังโทรศัพท์ของผู้ใช้โทรคมนาคมทั่วโลกตามอำเภอใจ   นายหวาง กล่าวว่า รายงานฉบับนี้นับเป็นฉบับที่ 3 ของเดือนนี้ ที่เกี่ยวกับการที่สหรัฐฯ โจมตีทางไซเบอร์ต่อมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น ซึ่งที่ผ่านมา จีนได้เรียกร้องคำอธิบายจากสหรัฐฯ และขอให้ยุติการดำเนินการที่ผิดกฎหมายในทันที แต่จนถึงขณะนี้ สหรัฐฯ ยังคงนิ่งเงียบ       —————————————————————————————————————————————– ที่มา :   …

สายการบินแห่งชาติโปรตุเกสยืนยันไม่เจรจากับแฮ็กเกอร์ที่ขโมยข้อมูลลูกค้า

Loading

  TAP Air Portugal สายการบินแห่งชาติของโปรตุเกสออกมาประกาศว่าจะไม่ยอมเจรจากับแฮ็กเกอร์ที่ขโมยข้อมูลลูกค้าไปปล่อยบนดาร์กเว็บ   ข้อมูลทื่หลุดออกมามีทั้งชื่อลูกค้า สัญชาติ เพศ วันเกิด ที่อยู่ อีเมล เบอร์โทร วันที่ลงทะเบียน และเลข Frequent Flyer แต่ไม่มีหลักฐานว่าข้อมูลการเงินหลุดไปแต่อย่างใด   สายการบินดังกล่าวถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่ชื่อว่า Ragna Locker เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งในครั้งนั้น TAP Air Portugal อ้างว่าสามารถยุติการโจมตีที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และยืนยันว่าไม่มีการหลุดรั่วของข้อมูลลูกค้าแต่อย่างใด   อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นเพียง 1 เดือน ทาง Ragnar Locker ก็ออกมาเผยแพร่ข้อมูลลูกค้ามากกว่า 1.5 ล้านราย พร้อมบอกด้วยว่าทาง TAP Air Portugal ยังไม่ได้แก้ไขช่องโหว่ภายในระบบ ซึ่งทางสายการบินก็ออกมายืนยันว่าจะไม่เจรจาเป็นอันขาด   “เราไม่อยากเจรจา เพราะเราไม่อยากที่จะให้รางวัลกับพฤติกรรมแบบนี้” คริสติน อูร์มีเรส-วิเดเนอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ TAP Air…

สมาชิก QUAD เรียกร้องให้ทุกประเทศร่วมมือกันจัดการกับภัยทางไซเบอร์

Loading

  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ QUAD หรือกลุ่มความร่วมมือด้านความมั่นคง 4 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ร่วมกันเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการจัดการปฏิบัติการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่มีจุดกำเนิดจากภายในดินแดนของแต่ละประเทศ   รัฐมนตรีของทั้ง 4 ประเทศพบกันในระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (UN General Assembly) ซึ่งถือเป็นวงประชุมใหญ่ที่สุดขององค์การสหประชาชาติ   ในคำแถลงของทั้ง 4 ประเทศยังได้มีการให้คำมั่นว่าจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกรณีที่สมาชิก QUAD ประสบกับการโจมตีทางไซเบอร์ อาทิ มัลแวร์เรียกค่าไถ่ และการโจมตีทางไซเบอร์ต่อโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ โดยเฉพาะที่เป็นหัวใจของความมั่นคงและการพัฒนาทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก   นอกจากนี้ ประเทศสมาชิก QUAD ยังได้เปิดรับความเป็นไปได้เกี่ยวกับการจัดทำอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์ ที่จะมีเนื้อหามุ่งต่อกรกับกับภัยจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่ด้วย   ทั้งนี้ การประชุมครั้งต่อไปของ QUAD จะจัดขึ้น ณ กรุงนิวเดลี เมืองหลวงของอินเดีย ในช่วงต้นปี 2023   ที่มา Bloomberg       ——————————————————————————————————————————…

ภัยไซเบอร์กับการเข้าสู่ระบบงานแบบดิจิทัล

Loading

  การโจมตีไซเบอร์ในช่วงโควิด-19   ในช่วงที่โควิด-19 ระบาดทั่วโลก ปี 2021 เป็นปีที่การโจมตีไซเบอร์เรียกค่าไถ่ (ransomware attack) รุนแรงที่สุด เหตุครั้งแรกมีบันทึกย้อนกลับไปปี 1989 โดยเริ่มมีอาชญากรเข้ามามีบทบาทตั้งแต่ปี 2006 และแพร่ไปทั่วโลกตั้งแต่ 2011 การเรียกค่าไถ่ไซเบอร์เกิดในทุกประเทศทั้งกับบุคคลทั่วไปและองค์กร หน่วยงานสาธารณูปโภคเช่นไฟฟ้า, ประปา, โรงพยาบาล ล้วนกลายเป็นเป้าหมาย มีหลักฐานว่าโรงพยาบาลบางแห่งถึงกับไม่สามารถรักษาพยาบาลผู้ป่วยเพราะไม่สามารถดูประวัติการรักษาที่จำเป็น ไม่กี่ปีมานี้บริษัทยักษ์ใหญ่ที่เป็นเหยื่อก็เช่น Colonial Pipeline (น้ำมัน) Mersk (เดินเรือ) JBS (อาหาร) NBA(กีฬา) เป็นต้น   การเรียกค่าไถ่ไซเบอร์ คือการที่แฮคเกอร์(hacker) แอบส่งซอฟต์แวร์ประสงค์ร้าย(มัลแวร์ – malware) ที่เรียกว่าแรนซัมแวร์ (ransomware) เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์แล้วยึดไฟล์ข้อมูลด้วยการเข้ารหัสไฟล์ (encrypt) คือยึดข้อมูลเป็นตัวประกันด้วยการทำให้เจ้าของไม่สามารถอ่านหรือเข้าถึงข้อมูลของตัวเอง โดยอาจขู่ว่าจะลบข้อมูลที่เข้ารหัสไว้แล้วทั้งหมดหากไม่ทำตามคำสั่ง แล้วเรียกค่าไถ่สำหรับกุญแจถอดรหัส (decryption key) ปกติจะเรียกค่าไถ่เป็นเงินคริปโตซึ่งจ่ายไปยังกระเป๋าเงินดิจิทัล (digital wallet)ที่ไม่ระบุตัวตนเจ้าของกระเป๋า ช่วงก่อนปี 2015 ค่าไถ่มักเรียกเป็นหลักร้อยหรือหลักพันดอลลาร์ แต่วันนี้ปี…