สหภาพยุโรป เริ่มใช้กฎหมายควบคุมปัญญาประดิษฐ์ (AI) ครั้งแรกในโลก
สหภาพยุโรป (EU) เริ่มใช้กฎหมายควบคุมปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นครั้งแรกในโลก เพื่อควบคุมขอบเขตการใช้ปัญญาประดิษฐ์
สหภาพยุโรป (EU) เริ่มใช้กฎหมายควบคุมปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นครั้งแรกในโลก เพื่อควบคุมขอบเขตการใช้ปัญญาประดิษฐ์
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2567 รัฐสภายุโรปได้อนุมัติ EU AI Act โดยกฎหมายดังกล่าว ได้กำหนดหลักการที่สำคัญหลายประการ อาทิ มาตรการที่เหมาะสมสำหรับการใช้ปัญญาประดิษฐ์ทั่วไป (General-purpose AI) ข้อจำกัดในการใช้ข้อมูลชีวภาพเพื่อการระบบระบุตัวตนโดยหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ข้อห้ามการให้คะแนนทางสังคม และระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้ในการจัดการหรือหาประโยชน์จากช่องโหว่ของผู้ใช้ และสิทธิของผู้บริโภคในการร้องเรียนและสิทธิในการได้รับคำอธิบายจากการประมวลผลโดยระบบปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น EU AI Act มีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐาน ประชาธิปไตย หลักนิติธรรม และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมจากระบบปัญญาประดิษฐ์ที่มีความเสี่ยงสูง ส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างยุโรปให้เป็นผู้นำในสาขานี้ กฎระเบียบดังกล่าวกำหนดพันธกรณีสำหรับระบบปัญญาประดิษฐ์ โดยพิจารณาจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและระดับผลกระทบ โดยจำแนกระบบปัญญาประดิษฐ์ตามระดับความเสี่ยงไว้ 4 จำพวก ได้แก่ กลุ่มที่ไม่อาจยอมรับได้ ความเสี่ยงสูง ความเสี่ยงจำกัด และความเสี่ยงต่ำ โดยระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ไม่อาจยอมรับความเสี่ยงได้นำมาซึ่งข้อห้ามการใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Prohibited Artificial Intelligence Practices) ในกรณีดังต่อไปนี้ 1. การดำเนินการที่เกี่ยวกับจิตสำนึก มีเจตนาบิดเบือนหรือหลอกลวง 2. การใช้ประโยชน์จากความเปราะบาง (อายุ ความทุพพลภาพ…
PwC เผยรายงานผลสำรวจพบความเสี่ยงทางไซเบอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นปัญหาสำคัญสำหรับธุรกิจและผู้นำด้านความเสี่ยงในปี 2566 แม้ว่า 60% ของผู้บริหารจะมองว่าเทคโนโลยีเอไอแบบรู้สร้าง (generative AI: GenAI) เป็นโอกาสสำหรับธุรกิจก็ตาม
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว