แบงค์ใหญ่อันดับ 2 ของออสเตรเลียถูกกล่าวหาฟอกเงิน-สนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย

Loading

A pedestrian looks at his phone as he walks past a logo for Australia’s Westpac Banking Corp located outside a branch in central Sydney, Australia, November 5, 2018. REUTERS/David Gray ธนาคารใหญ่อันดับสองของออสเตรเลีย Westpac ถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฎหมายต่อต้านการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินให้แก่กลุ่มก่อการร้าย รวม 23 ล้านกรณี ผู้ตรวจสอบของรัฐบาลออสเตรเลียกล่าวหาว่า ธนาคาร Westpac ยินยอมให้องค์กรจากหลายประเทศ รวมทั้ง อิรัก เลบานอน ซิมบับเว และสาธารณรัฐคองโก เข้าถึงภาคการเงินของออสเตรเลียโดยไม่มีการตรวจสอบที่เหมาะสม ซึ่งเปิดโอกาสให้กลุ่มอาชญากรหรือผู้ก่อการร้ายสามารถโอนถ่ายเงินเข้าและออกจากออสเตรเลียได้ ศูนย์วิเคราะห์และรายงานธุรกรรมการเงินของออสเตรเลีย หรือ AUSTRAC ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบอาชญากรรมด้านการเงิน กล่าวหาด้วยว่า Westpac ล้มเหลวในการตรวจสอบธุรกรรมการเงินที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาประโยชน์จากเด็กในฟิลิปปินส์และประเทศในอาเซียน และยังอนุญาตให้มีการสั่งจ่ายเงินอย่างน่าสงสัยจากผู้ที่ถูกตัดสินว่าละเมิดทางเพศต่อเด็กจำนวนมากด้วย…

ไอเอสดึงแม่บ้านอาเซียน เข้ากลุ่ม เลือกคนมีปัญหาเป็นสายก่อการร้าย

Loading

ไอเอสดึงแม่บ้านอาเซียน – ซีเอ็นเอ็น รายงานการเปิดข้อมูลกระทรวงกิจการภายในของสิงคโปร์ที่ตรวจจับความเคลื่อนไหวกลุ่มก่อการร้ายในภูมิภาคอาเซียน พบว่า กองกำลังรัฐอิสลาม หรือไอเอส เพ่งเล็งเป้าหมายสตรีผู้รับจ้างทำงานแม่บ้านและสาวใช้ ซึ่งเผชิญความโดดเดี่ยว มีปัญหาหนี้สินและปัญหาครอบครัว เข้าเป็นสมาชิกใหม่ สิงคโปร์จับกุม แม่บ้านชาวอินโดนีเซีย 3 คนที่รับจ้างทำงานบ้านในสิงคโปร์ เมื่อเดือน ก.ย. ฐานละเมิดกฎหมายความมั่นคง ทั้งตกเป็นผู้ต้องหาสนับสนุนทางการเงินให้กลุ่มก่อการร้าย  และใช้เวลาว่างทำกิจกรรมสนับสนุนกลุ่มไอเอสทางออนไลน์  ทำให้ทั้ง 3 คนอาจต้องโทษจำคุกสูงสุด 10 ปี และถูกปรับ 500,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือราว 11,300,000 บาท ตำรวจอินโดนีเซียตรวจพบระเบิด 3 ก.ก. ในบ้านพักเมืองเบกาซี ชวาตะวันตก เมื่อปี 2559 พบ 1 ใน 4 คนร้ายทำงานเป็นแม่บ้านรับจ้างที่สิงคโปร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อการร้ายเผยว่าผู้หญิง 3 คนนี้ไม่ได้เป็นเพียงกลุ่มเดียวที่เคลื่อนไหวสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายในสิงคโปร์และฮ่องกง เนื่องจากมีแนวร่วมกระจายอยู่ในเอเชีย หลังจากไอเอสในตะวันออกกลางอ่อนกำลังลง นาวา นูรานิยาห์ นักวิจัยสถาบันวิเคราะห์นโยบายความขัดแย้งของอินโดนีเซีย หรือ IPAC บอกว่ากลุ่มผู้หญิงเหล่านี้ตกเป็นเหยื่อของกลุ่มไอเอสและถูกใช้ให้สร้างรายได้แก่ไอเอส ระหว่างปี 2558-2559 มีผู้หญิงชาวอินโดนีเซียอย่างน้อย 50…

กลุ่มรัฐอิสลามจะทำอย่างไรต่อไป หลังขาดผู้นำ

Loading

ภายใต้การนำของอาบู บาการ์ อัล-บักห์ดาดี กลุ่มรัฐอิสลาม (Islamic State–IS) ที่นิยมใช้ความรุนแรงแบบสุดโต่ง ได้พัฒนาจากกลุ่มก่อความไม่สงบ กลายเป็นกลุ่มติดอาวุธที่น่าหวาดกลัวและยากที่จะกำราบมากที่สุดในโลก ไอเอส ได้ขยายอิทธิพลข้ามทวีปจากแอฟริกาไปจนถึงออสเตรเลีย แต่หลังจากการเสียชีวิตของหัวหน้ากลุ่ม ไอเอส จะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ อย่างไร รีบหาผู้สืบทอดตำแหน่ง ผู้นำไอเอสคนอื่น ๆ คงคิดไว้นานแล้วว่า วันนี้จะมาถึง ทางกลุ่มคงต้องการแสดงให้เห็นถึงพลังของตัวเอง และส่งสัญญาณต่อบรรดาสาวกว่า “ไอเอสยังอยู่” แม้ว่า เสียศูนย์ไปบ้างจากการสูญเสียผู้นำคนสำคัญ คณะกรรมการชูรา ซึ่งประกอบด้วยผู้นำอาวุโสที่เป็นผู้ชายทั้งหมด คงพิจารณาบุคคลที่เหมาะสมจำนวนหนึ่งไว้แล้ว คุณสมบัติแรกที่ผู้นำกลุ่มไอเอสจะต้องมีก็คือ การภักดีต่อไอเอสอย่างไร้ข้อสงสัย มีความสามารถในการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ที่ผ่านการพิสูจน์แล้ว มีประวัติทางด้านศาสนาที่สมบูรณ์แบบ มีประสบการณ์ในการสู้รบมาบ้าง และบางทีอาจจะเป็นที่เลื่องลือในการสั่งลงโทษที่โหดเหี้ยมด้วย ไอเอสเกิดจากการรวมตัวกันที่แปลกประหลาดระหว่างนักรบญิฮาดที่สุดโต่ง กับอดีตสมาชิกกองทัพและหน่วยข่าวกรองที่รู้จักกันในชื่อ บาทิสต์ส (Baathists) ของนายซัดดัม ฮุสเซน อดีตผู้นำอิรัก บาทิสต์สรับผิดชอบเรื่องการจัดหาอาวุธ วัตถุระเบิด สนับสนุนงานด้านข่าวกรองและการวางแผน เพราะไม่มีใครรู้จักอิรักดีไปกว่าพวกเขา ขณะที่บรรดานักรบญิฮาดจะก่อเหตุที่บ้าคลั่งและจัดหาอาสาสมัครมือระเบิดฆ่าตัวตาย ผู้ที่สืบทอดตำแหน่งต่อจากบักห์ดาดี น่าจะเป็นคนที่มีสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับทั้งสองข้างของสมการนี้ ไอเอสน่าจะรู้สึกเจ็บปวดกับการสูญเสียบักห์ดาดีไปสักพักหนึ่ง ตอนที่นักรบญิฮาดทั่วโลกประกาศสวามิภักดิ์ต่อไอเอส ก็ถือว่าพวกเขาสวามิภักดิ์ต่อบักห์ดาดีด้วย และเรียกเขาว่า “กาหลิบอิบราฮิม” (Caliph Ibrahim)…

ชะตากรรม ‘กลุ่มไอซิส’ หลังการเสียชีวิตของผู้นำสูงสุด

Loading

สหรัฐฯ ยืนยันว่าจะไม่มีการฟื้นกำลังของกลุ่มรัฐอิสลาม หรือ ISIS ขึ้นมาอีก หลังการเสียชีวิตของนายอาบู อัคร์ อัล-แบกห์ดาดี เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์หลายคนเตือนว่า กลุ่มไอซิสถูกสร้างขึ้นมาโดยไม่ต้องพึ่งพาบุคคลระดับผู้นำเพียงไม่กี่คน นายอาบู อัคร์ อัล-แบกห์ดาดี เริ่มบทบาทในฐานะผู้นำสาขาย่อยของกลุ่มอัล-ไคยด้า ในอิรัก เมื่อปี ค.ศ.2010 ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนสถานะของกลุ่มก่อการร้ายนี้ให้กลายเป็นกลุ่มรัฐอิสลาม หรือ ไอซิส ที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีในหลายเมืองทั่วโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปลายปี 2015 ในช่วงที่กลุ่มไอซิสกำลังมีอำนาจมากที่สุด กองกำลังพันธมิตรนำโดยสหรัฐฯ พยายามที่จะสกัดกั้นการขยายพื้นที่การครอบครองของไอซิส โดยใช้การโจมตีทางอากาศสังหารนักรบระดับนำของกลุ่มไอซิสเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก โดยเฉลี่ยสองวันต่อหนึ่งคน ในเวลานั้น เจ้าหน้าที่อเมริกันระบุว่ายุทธวิธีการโจมตีทางอากาศของสหรัฐฯ ได้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อกลุ่มรัฐอิสลาม แต่ปฏิบัติการของกลุ่มไอซิสก็ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องอีกหลายปี เนื่องจากกลุ่มไอซิสถูกสร้างขึ้นมาโดยไม่มีผู้นำคนใดคนหนึ่งเป็นศูนย์กลาง ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มอัล-ไคยด้า ในยุคของอุสซาม่า บิน ลาเดน สำหรับในครั้งนี้ เจมส์ แคลปเปอร์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ กล่าวกับวีโอเอว่า แม้การเสียชีวิตของนายแบกห์ดาดี ถือเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่ของกลุ่มรัฐอิสลาม เนื่องจากเขาคือสัญลักษณ์สำคัญของไอซิส แต่ตนเชื่อว่านั่นยังไม่เพียงพอจะทำให้กลุ่มไอซิสล่มสลาย เพราะบรรดาผู้นำของกลุ่มนี้ถูกฝึกมาเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่มีผู้นำสูงสุดอยู่แล้ว ด้านคุณไมเคิล โฮโรวิทซ์ นักวิเคราะห์ด้านการก่อการร้ายขององค์กรที่ปรึกษา Le Beck ชี้ว่า ปกติแล้วการเสียชีวิตของผู้นำสูงสุดของกลุ่มก่อการร้ายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง…

ศรีลังกายังเฝ้าระวังก่อการร้าย ออกกฎห้ามสวมชุดคลุมหน้า

Loading

          ประธานาธิบดีไมตรีปาละ สิริเสนา ออกคำสั่งห้ามสวมเครื่องแต่งกายปิดบังหน้าตา เริ่มมีผลตั้งแต่วันจันทร์ที่ผ่านมา อ้างเหตุผลด้านความมั่นคงภายหลังกลุ่มอิสลามิสต์ระเบิดโจมตีวันอีสเตอร์ฆ่าเหยื่อ 253 คน ขณะเจ้าหน้าที่เตือนสมาชิกเครือข่ายนี้ยังมีแผนก่อเหตุซ้ำ และอาจปลอมตัวเป็นทหาร         ข่าวเอเอฟพีรายงานเมื่อวันจันทร์ที่ 29 เมษายน 2562 ว่าประธานาธิบดีไมตรีปาละ สิริเสนา ออกแถลงการณ์เมื่อวันอาทิตย์ว่า เขาขอใช้อำนาจภายใต้คำประกาศภาวะฉุกเฉิน ห้ามการแต่งกายทุกชนิดที่ปิดบังใบหน้าเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ คำสั่งห้ามนี้เริ่มมีผลทันทีในวันจันทร์         “การห้ามนี้ก็เพื่อรักษาความมั่นคงของประเทศ ไม่ว่าใครก็ไม่ควรปิดบังใบหน้าที่ทำให้ยากต่อการแสดงตัวตนของบุคคลนั้น” คำแถลงกล่าว โดยไม่ได้ระบุโดยตรงถึงเครื่องแต่งกายของสตรีมุสลิม ทั้งชุดนิกอบที่เปิดเผยแค่ดวงตา และบุรกาที่คลุมศีรษะอย่างมิดชิด แม้ว่าคำสั่งนี้จะมีความหมายเป็นนัยถึงเครื่องแต่งกายดังกล่าวก็ตาม         ไม่กี่วันก่อนหน้านี้ องค์กรครูสอนศาสนาอิสลามในศรีลังกาได้ออกมาเรียกร้องสตรีมุสลิมหลีกเลี่ยงการคลุมหน้าในสถานที่สาธารณะ เนื่องจากหวั่นเกรงว่าจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่นักรบอิสลามิสต์ซึ่งประกาศสวามิภักดิ์ต่อกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) ระเบิดฆ่าตัวตายโจมตีโรงแรมหรู 3 แห่งในเมืองหลวง และโบสถ์คริสต์อีก 3 แห่งระหว่างการประกอบพิธีมิสซาเนื่องในวันอีสเตอร์ ทำให้มีคนเสียชีวิตรวม 253…

การใช้สารเคมีกลุ่มคลอเรต 2 ชนิดผลิตดินระเบิด

Loading

          คาดว่าพวกเราจะลืมข่าวสาร เมื่อ 3 มิถุนายน 2549 ที่ว่า เจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรภาค 4 พบสารโซเดียมคลอเรต จำนวน 625 กิโลกรัม ที่บริเวณตลาดสดทุ่งลุง ต.พะตง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ข่าวดังกล่าวเป็นที่น่าสนใจ เพราะสารเคมีนี้เป็นส่วนประกอบในการผลิตดินระเบิด  เกี่ยวกับสารเคมี 2 ชนิด คือ โซเดียม คลอเรต และโพแทสเซียม คลอเรต นี้สามารถนำมาผลิตเป็นดินระเบิดประเภทวัตถุระเบิดกำลังสูงขั้นทุติยภูมิ secondary high explosives (ต้องจุดระเบิดด้วยชนวนหรือตัวเร่ง) ได้เช่นเดียวกับแอมโมเนียม ไนเตรต ซึ่งเป็นสารเคมียอดนิยมของกลุ่มก่อการร้าย         ทั้งโซเดียม คลอเรต และโพแทสเซียม คลอเรต ทั้ง 2 ชนิดนี้ในทางทหารถือเป็นสารเทียม(ระเบิด)กลุ่ม pyrotechnic (สารหรือสารผสม เมื่อสลายตัวจะเกิดความร้อน และก๊าซ หรือควัน…