“ก.ล.ต.” ลงโทษทางแพ่งกับผู้กระทำความผิด 2 ราย กรณีร่วมกันซื้อหุ้น COL โดยอาศัยข้อมูลภายใน

Loading

ก.ล.ต.เผยการดำเนินคดีด้วยมาตรการลงโทษทางแพ่งกับบุคคล 2 ราย ได้แก่ นายวรวุฒิ อุ่นใจ และนางสาวพชรพัชร์ ทองแว่น กรณีร่วมกันซื้อหุ้น บมจ.ซีโอแอล (COL) ซึ่งอาศัยข้อมูลภายในที่ตนรู้หรือครอบครอง โดยเรียกให้ชำระเงินตามมาตรการลงโทษทางแพ่งรวม 4,237,746 บาท และห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร

“ก.ล.ต.” เปิดรับฟังความเห็นปรับเกณฑ์ข้อกำหนดการจัดให้มีระบบ IT

Loading

ก.ล.ต. มีแนวคิดในการปรับปรุงหลักเกณฑ์ข้อกำหนดเกณฑ์ IT เพื่อให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงของผู้ประกอบธุรกิจ รองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี พร้อมรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์

‘ดีอี’ โชว์ผลงาน ‘ปราบโจรออนไลน์’ ใน 30 วัน ตามข้อสั่งการนายกฯ

Loading

‘กระทรวงดีอี’ เปิดผลงานชิ้นโบแดง ‘ปราบโจรออนไลน์’ ใน 30 วัน ตามข้อสั่งการนายกฯ ขอบคุณหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ‘ประเสริฐ’ รับปาก แม้ตัวเลขความเสียหายลดลง แต่ยังลุยแก้ไขปัญหานี้ถึงที่สุด

ทำความรู้จัก KYC การยืนยันตัวตน เพื่อรับเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่าน Super App

Loading

KYC ย่อมาจากคำว่า Know Your Customer หรือแปลได้ว่า “การทำความรู้จักกับลูกค้า” ซึ่งหมายถึง กระบวนการพิสูจน์ตัวตนในการทําความรู้จักลูกค้า ที่สามารถระบุตัวตน และพิสูจน์ตัวตนได้อย่างถูกต้อง (Identification and Verification) เพื่อเป็นการยืนยันตัวตนของลูกค้า ป้องกันการทุจริตหรือปลอมแปลงข้อมูลในการทำธุรกรรมทางการเงิน

6 หน่วยงานรัฐรับไม้ต่อใช้ Digital ID ให้บริการประชาชน

Loading

    กรมการปกครอง, กรมสรรพากร, ก.ล.ต., สพร., สำนักงาน กสทช. และ NDID ร่วมกันเดินหน้าผลักดัน ดิจิทัลไอดี (Digital ID) หรือ การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลให้ใช้งานได้จริง ผ่านเครื่องมือที่บอกและยืนยันว่า “เราเป็นใคร” ในโลกออนไลน์โดยไม่ถูกปลอมแปลง   โดยการร่วมกันของทั้ง 6 หน่วยงานนั้น จะใช้งานผ่านบริการที่คุ้นเคย อย่าง D.DOPA, Mobile ID และ ทางรัฐ เป็นต้น ขณะที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างก็เริ่มทยอยนำกระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยดิจิทัล หรือ Digital ID (ดิจิทัล ไอดี) เข้ามาประยุกต์ใช้งานรวมถึงการให้บริการ เพื่อให้การทำธุรกรรมหรือกิจกรรมผ่านทางออนไลน์มีความปลอดภัย น่าเชื่อถือมากขึ้น ลดการลงทะเบียนยืนยันตัวตนซ้ำซ้อน   สำหรับความร่วมมือครั้งนี้ เป็นหนึ่งในนโยบายเกี่ยวกับ “กรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย ระยะที่ 1 พ.ศ. 2565 – พ.ศ. 2567” หรือ “Digital ID…

4 หน่วยงานภาคการเงินลงนามคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

Loading

  ธปท.เอ็มโอยูร่วมหน่วยงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ก่อนกฎหมายมีผลบังคับใช้ 1 มิ.ย.นี้ “เศรษฐพุฒิ”ระบุ ปี 64 ทั่วโลกพบข้อมูลรั่วไหล 24.7 พันล้านรายการ เป็นการรั่วไหลข้อมูลส่วนบุคคลถึง 65% ชี้ถือเป็นอุปสรรคการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลของประเทศ   วานนี้ (28 เม.ย.) หน่วยงานกำกับดูแลภาคธุรกิจการเงิน ทั้ง 3 องค์กร ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของภาคธุรกิจการเงิน   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า การคุ้มครองสิทธิของประชาชนในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล เป็นสิ่งที่รัฐบาลและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมให้ความสำคัญควบคู่ไปกับการผลักดันเรื่องการสร้างสรรค์นวัตกรรม และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเต็มศักยภาพ กฎหมายฉบับนี้เป็นหนึ่งในชุดกฎหมายดิจิทัลเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็ง รวมทั้ง เสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคมในการใช้บริการออนไลน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัยและเป็นธรรม   ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากเพิ่มขึ้น เป็นประโยชน์ต่อภาคประชาชนในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และในขณะเดียวกันเพื่อไม่ให้เป็นการสร้างภาระเกินสมควรแก่ผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานกำกับดูแลภาคธุรกิจการเงิน จึงได้จัดให้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของภาคธุรกิจการเงินขึ้น   นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ…