เอฟบีไอผู้ทรยศ “โรเบิร์ต แฮนส์เซน” เสียชีวิตแล้วในเรือนจำ

Loading

    สื่อต่างประเทศรายงาน “โรเบิร์ต แฮนส์เซน” เอฟบีไอผู้เป็นสายลับให้กับโซเวียต-รัสเซีย เสียชีวิตแล้วในเรือนจำด้วยวัย 79 ปี   สำนักงานสอบสวนกลาง หรือ เอฟบีไอ (FBI) คือ หน่วยงานด้านข่าวกรองและความมั่นคงภายในของมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ เป็นเป็นองค์การหลักของสหรัฐฯ ในการต่อต้านการก่อการร้าย การต่อต้านการสืบข่าวกรอง และการสืบสวนอาชญากรรม   แต่เคยคิดหรือไม่ว่า จะเกิดอะไรขึ้น? หากเจ้าหน้าที่เอฟบีไอซึ่งควรจะรักษาความมั่นคงของสหรัฐฯ กลับเป็นฝ่ายทรยศและนำข้อมูลภายในไปมอบให้กับศัตรูเสียเอง     เรากำลังพูดถึงเรื่องราวของ “โรเบิร์ต ฟิลิป แฮนส์เซน” อดีตเจ้าหน้าที่เอฟบีไอนำข้อมูลความลับของสหรัฐฯ ไปขายให้กับสหภาพโซเวียต แลกกับเงินสดและเพชรมูลค่ารวมกว่า 1.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นหนึ่งในคดีเกี่ยวข้องกับสายลับที่ฉาวโฉ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา   ล่าสุดมีรายงานว่า เอฟบีไอผู้ทรยศรายนี้ ได้เสียชีวิตแล้วในเรือนจำด้วยวัย 79 ปี   เรือนจำกลางในเมืองฟลอเรนซ์ รัฐโคโลราโด รายงานว่า “วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน 2023 เวลาประมาณ 06.55 น. ผู้ต้องขังโรเบิร์ต…

ตำรวจสเปนรวบแฮ็กเกอร์วัย 19 ที่แฮ็กข้อมูลประชาชนกว่า 500,000 ราย

Loading

  สำนักงานตำรวจแห่งชาติสเปน (CNP) เข้าจับกุมตัวแฮ็กเกอร์วัยรุ่นในข้อหาขโมยข้อมูลผู้จ่ายภาษีกว่า 500,000 รายจากฐานข้อมูลของสำนักงานภาษีของสเปน (AEAT)   แฮ็กเกอร์รายนี้มีชื่อว่า โฮเซ ลุยส์ ฮูเอร์ตา (José Luis Huertas) หรือ Alcasec มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงมาดริด ซึ่งเจ้าหน้าที่ชี้ว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงอย่างร้ายแรง และยังเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในด้านสินทรัพย์ทางไซเบอร์และการซ่อนแหล่งเงิน   ฮูเอร์ตาเริ่มแฮ็กมาตั้งแต่อายุ 15 มีวีรกรรมในการแฮ็ก HBO เพื่อสร้างบัญชีฟรีไปปล่อยบน Instagram แฮ็ก Burger King ให้ส่งอาหารฟรี และอีกมากมาย เขาได้เงินจากการแฮ็กเหล่านี้อย่างมหาศาล   เจ้าหน้าที่กล่าวหาว่าเขาแฮ็กเข้าไปในระบบการส่งข้อมูลกลางที่เชื่อมหน่วยงานนิติบัญญัติและบริหารในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว   ฮูเอร์ตายังได้ประกาศศักดาในพอดแคสต์ออนไลน์ว่าสามารถเจาะเข้าไปยังข้อมูลส่วนตัวของชาวสเปนมากถึงร้อยละ 90   สำหรับเหตุการณ์แฮ็กเมื่อเดือนตุลาคม 2022 เป็นการแฮ็กข้อมูลของชาวสเปน 575,186 คน ซึ่งรวมถึงเลขบัญชีการเงินและข้อมูลเงินเดือนด้วย   สำนักข่าว El País รายงานว่าเจ้าหน้าที่สืบสวนชี้ว่าฮูร์เอตาใช้นามแฝง Mango บนเว็บไซต์ซื้อขายข้อมูลใต้ดินเพื่อประกาศขายข้อมูลที่ได้จากการโจมตี   โดยหน่วยข่าวกรองของสเปนมีส่วนช่วยในการติดตามฮูเอร์ตาผ่านกระเป๋าตังค์คริปโทเคอร์เรนซีที่ใช้ในจ่ายเงินเช่าเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้เก็บข้อมูลที่ขโมยมา  …

สธ.ยัน “หมอพร้อม” ปลอดภัยไม่ถูกแฮ็ก หลังมีกระแสขายข้อมูลคนไทย 55 ล้านคน

Loading

    สธ.แจงแฮ็กเกอร์ประกาศขายข้อมูลคนไทย 55 ล้านคน ไม่น่าเกี่ยวข้องระบบหมอพร้อม เหตุมีข้อมูล 33 ล้านคน ความปลอดภัยยังดี ดีอีเอสยืนยันด้วยว่าไม่ได้มาจากหมอพร้อม   เมื่อวันที่ 23 มี.ค. นพ.โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีมีรายงานแฮ็กเกอร์ประกาศขายข้อมูลส่วนบุคคลของคนไทยกว่า 55 ล้านคน ซึ่งมีการพุ่งเป้ามาที่ฐานข้อมูลระบบ “หมอพร้อม” ของ สธ. ว่า ขณะนี้ทราบว่ามีการตรวจสอบกันอยู่ว่า จริง ๆ แล้วมีการแฮ็กข้อมูลจากส่วนไหน ทั้งนี้ ระบบหมอพร้อมหากเป็นตัวแอปพลิเคชันมีธนาคารกสิกรไทยช่วยดูแล มีการทดสอบเป็นเวลาหลายเดือนกว่าจะนำมาใช้ได้ ส่วนคลาวน์มีบริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ INet ซึ่งมีระบบความปลอดภัยที่เป็นมาตรฐาน นอกจากนี้ ข้อมูลที่มีในระบบหมอพร้อมจริง ๆ ราว 30 กว่าล้านคนเท่านั้น จึงไม่คิดว่าข้อมูลเหล่านั้นจะหลุดมาจากระบบหมอพร้อม และคิดว่าระบบความปลอดภัยดีอยู่ ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) จะเข้ามาหารือที่ สธ.ในวันที่ 24…

FBI จับกุมผู้ต้องหาว่าเป็นเจ้าของ BreachForums แหล่งรวมแฮ็กเกอร์อิสระ

Loading

  สำนักงานสืบสวนกลางสหรัฐอเมริกา (FBI) เข้าจับกุม โคนอน ไบรอัน ฟิตซ์แพทริก (Conon Brian Fitzpatrick) ชายชาวนิวยอร์กที่ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ดูแล BreachForums กระดานสนทนาแหล่งรวมแฮ็กเกอร์   ฟิตซ์แพทริก หรือชื่อบนโลกออนไลน์ว่า Pomponpurin หรือย่อว่า Pom เป็นแฮกเกอร์ที่อยู่ในสายตาของหน่วยงานรัฐมาหลายปีแล้ว ตัวเขาเองเคยโจมตีเซิร์ฟเวอร์ FBI ในเดือนพฤศจิกายน 2021 ก่อนที่จะมีข้อมูลบ่งชี้ว่าก่อตั้ง BreachForums ในปี 2022   FBI ชี้ว่าฟิตซ์แพทริกเคยเป็นสมาชิกขาประจำของ RaidForums กระดานสนทนาแฮ็กเกอร์ที่ถูกเจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ และยุโรปร่วมกันปิดไป ทำให้เขาเปิด BreachForums ขึ้นมาแทนที่ และทำหน้าที่ในฐานะผู้ดูแลระบบ   BreachForums เป็นแหล่งซื้อขายข้อมูลที่ถูกโจรกรรมมาได้ซึ่งเป็นที่นิยมของเหล่าแฮ็กเกอร์อิสระ   ทั้งนี้ ฟิตซ์แพทริกได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวด้วยหลักประกันมูลค่า 300,000 เหรียญ (ราว 10.2 ล้านบาท) และจะไปขึ้นศาลเขตเวอร์จีเนียตะวันออกนัดแรกเมื่อ 24 มีนาคม ในข้อหาสมคบคิดฉ้อโกงการเจาะอุปกรณ์    …

ไต้หวันพบว่า OKE แฮ็กเกอร์เจาะข้อมูลประชาชนมาจากจีน

Loading

    สำนักงานสืบสวนความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในสังกัดกรมสืบสวน กระทรวงยุติธรรมของไต้หวันสามารถระบุตัวแฮ็กเกอร์ชาวจีนที่ใช้ชื่อว่า OKE ผู้ต้องหาหลักในเหตุปล่อยข้อมูลรั่วครั้งใหญ่ที่สุดของไต้หวันได้แล้ว   โดยสำนักงานสืบสวนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ระบุว่า OKE เป็นชายชาวจีนในวัยราว 20 ปี ซึ่งสำนักงานอัยการเขตไทเปได้เข้ามารับผิดชอบดูแลคดีนี้ต่อแล้ว และมีการออกประกาศด้านการตรวจคนเข้าเมืองเพื่อตามจับกุม   OKE มีสิทธิ์ถูกตั้งข้อหาภายใต้รัฐบัญญัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และความผิดด้านความมั่นคงปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ตามประมวลกฎหมายอาญา   เจ้าหน้าที่พบว่า OKE ใช้สกุลเงินเสมือนในการรับและโอนเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัลที่จดทะเบียนจีน ซึ่งมีข้อมูลที่ระบุสัญชาติและข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ เช่น สัญชาติ วันเกิด เพศ สถานที่เกิด ฯลฯ   นอกจากนี้ พนักงานอัยการจะคอยเฝ้าติดตามกระแสเงินที่ส่งผ่านบัญชีธนาคารและกระเป๋าเงินดิจิทัลของแฮ็กเกอร์รายนี้ต่อไป   เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว OKE เสนอขายข้อมูลชาวไต้หวัน 23.56 ล้านคน เป็นเงินจำนวน 5,000 เหรียญ (ราว 174,650 บาท) บน Breach Forums กระดานสนทนาที่เป็นแหล่งรวมตัวของเหล่าแฮ็กเกอร์   จากผลการวิเคราะห์พบว่า ข้อมูลดังกล่าวถูกดึงมาจากทะเบียนครัวเรือนที่มาจากก่อนเดือนเมษายน 2018…

ห้องเรียนออนไลน์ไม่ปลอดภัย EdTech ขายข้อมูลเด็ก

Loading

  ห้องเรียนออนไลน์ไม่ปลอดภัย เมื่อกลุ่มเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (EdTech) แอบติดตามข้อมูลเด็กโดยมิชอบ และขายให้กับอุตสาหกรรมโฆษณา   กลายเป็นประเด็นขึ้นมา เมื่อฮิวแมนไรท์วอท์ช (Human Rights Watch) องค์กรรณรงค์ระหว่างประเทศได้เผยแพร่ผลการสอบสวนบริการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (EdTech) ที่มีนักเรียนหลายล้านคนเข้าร่วมการเรียนรู้เสมือนจริงเพราะไม่สามารถไปโรงเรียนได้ในช่วงของการระบาดใหญ่โควิด-19 ซึ่งดำเนินการสอบสวนในช่วง มี.ค. – ส.ค. 2021 พบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลและพฤติกรรมออนไลน์ของนักเรียนถูกติดตามผ่านแอปพลิเคชั่นและเว็บไซต์เพื่อการศึกษาโดยไม่ได้รับความยินยอมจากพวกเขา และในหลายกรณีมีการแชร์ข้อมูลให้กับบริษัทเทคโนโลยีเพื่อการโฆษณาด้วย   พบว่า EdTech กว่า 146 ผลิตภัณฑ์ จาก 164 บริการ หรือกว่า 89% ใน 49 ประเทศที่ถูกตรวจสอบ มีส่วนร่วมในแนวทางปฏิบัติด้านข้อมูลที่ “ละเมิดสิทธิเด็ก” หรือ “มีความเสี่ยง” ต่อการเฝ้าติดตามและรวบรวมการใช้ข้อมูลของเด็กโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าตัว หรือผู้ปกครอง เช่น ตัวตน ตำแหน่ง กิจกรรม และพฤติกรรมออนไลน์ของพวกเขา รวมถึงข้อมูลเด็ก ครอบครัว และเพื่อน   ฮึน จังฮัน (Hye…