อาวุธนิวเคลียร์เชิงยุทธวิธี คืออะไร? ทำไมจึงสำคัญต่อภูมิศาสตร์การเมืองโลก?

Loading

กระทรวงกลาโหมรัสเซียกล่าวในวันจันทร์ว่า กองทัพจะจัดการซ้อมรบโดยมี “อาวุธนิวเคลียร์เชิงยุทธวิธี” เข้าร่วมด้วย ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการประกาศซ้อมรบลักษณะนี้ให้สาธารณชนรับรู้

เทคโนโลยี ‘เชื้อเพลิงแข็ง’ คืออะไร และทำไมเกาหลีเหนือถึงพยายามเร่งพัฒนาอย่างหนัก

Loading

    เมื่อไม่นานมานี้ เกาหลีเหนือเพิ่งทดสอบขีปนาวุธวิถีโค้งข้ามทวีป (ICBM) ที่ใช้เชื้อเพลิงแข็ง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการใช้เชื้อเพลิงลักษณะนี้กับจรวดขีปนาวุธพิสัยไกล และเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเพิ่มศักยภาพทางการรบของกรุงเปียงยางด้วยความสามารถเตรียมตัวยิงภายในระยะเวลาอันสั้น   แต่ ‘เชื้อเพลิงแข็ง’ ที่ว่านี้ คืออะไร แล้วทำไมเกาหลีเหนือถึงเร่งพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวมาเสริมโครงการขีปนาวุธของตน   เทคโนโลยี ‘เชื้อเพลิงแข็ง’ คืออะไร   โดยหลัก ๆ แล้ว เทคโนโลยีเชื้อเพลิงแข็ง คือ การผสมเชื้อเพลิงและตัวออกซิไดเซอร์ หรือสารตัวให้ออกซิเจน เข้าด้วยกัน โดย ผงโลหะ เช่น อะลูมิเนียม มักถูกใช้เป็นเชื้อเพลิง และแอมโมเนียม เปอร์คลอเรต ก็เป็นตัวออกซิไดเซอร์ที่ถูกนำมาใช้มากที่สุด   เชื้อเพลิงและตัวออกซิไดเซอร์จะถูกผนวกเข้ากันด้วยวัสดุยางแข็งและบรรจุอยู่ในปลอกโลหะ เมื่อจรวดที่ใช้เชื้อเพลิงแข็งเผาไหม้ ออกซิเจนจากแอมโมเนียม เปอร์คลอเรตจะรวมเข้ากับอะลูมิเนียมเพื่อผลิตพลังงานมหาศาลและอุณหภูมิมากกว่า 2,760 องศาเซลเซียส ที่สร้างแรงขับและส่งให้ขีปนาวุธออกจากแท่นยิงได้   ใครมีเทคโนโลยีนี้อยู่ในมือบ้าง     จีนคือผู้ที่คิดค้นเทคโนโลยีเชื้อเพลิงแข็งมาตั้งแต่เมื่อหลายศตวรรษก่อน เพื่อใช้กับดอกไม้ไฟ และก่อนจะมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ด้วยงานพัฒนาของฝั่งสหรัฐฯ   ในแง่การใช้งานกับขีปนาวุธนั้น สหภาพโซเวียตยิงขีปนาวุธข้ามทวีป…