ระวังแอป Visit Japan ปลอม ขโมยข้อมูลนักท่องเที่ยวไปญี่ปุ่น

Loading

เพจสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ได้แชร์จาก สำนักงานดิจิทัลแห่งประเทศญี่ปุ่น ว่า เนื่องจากในขณะนี้ได้พบเห็น แอปพลิเคชันให้บริการ Visit Japan Web ปลอม ที่มีชื่อว่า “VISIT JAPAN WEB INFO” (日本語は以下)ขอแจ้งให้ทราบว่า ญี่ปุ่นไม่ได้ให้บริการ Visit Japan ผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

ระวังแอปปลอม แอบอ้างเป็นแอปแจ้งความตำรวจ ปลอมทั้งแอปและเว็บ Play Store พร้อมวิธีสังเกต

Loading

ระวังแอปปลอม แอบอ้างเป็นแอปแจ้งความตำรวจ หลังพบมีมิจฉาชีพสร้างแอปปลอมเพื่อหลอกขโมยเงิน ขโมยข้อมูลส่วนตัว โดยแอบอ้างเป็นแอปเจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปอท. ใช้ชื่อแอปว่า “TCSD Protect”

ปัญหาขององค์กรคืออะไร? เมื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมาพร้อมกับภัยคุกคามไซเบอร์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

Loading

“สมัยนี้ธุรกิจจำเป็นต้องขับเคลื่อนด้วยข้อมูล เพื่อการวิเคราะห์ คาดการณ์ และบริหารงานต่าง ๆ ซึ่งก็เป็นแรงจูงใจให้องค์กรโยกย้ายข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่โลกออนไลน์ เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ  แต่ในทางตรงกันข้ามก็เป็นตัวกระตุ้นชั้นดีให้กับมิจฉาชีพที่จ้องจะฉวยโอกาสจากช่องโหว่ เพื่อเข้าถึงข้อมูลสำคัญ ๆ

10 สิ่งคิดก่อนแชร์ข้อความลงโซเชียล ถ้าไม่อยากเข้าคุก

Loading

ก่อนจะแชร์ โพสต์ ต้องคิดให้ดี การโพสต์ข้อความ หรือภาพใด ๆ ออกไปในโลกโซเชียลนั้น การโพสต์เพียงครั้งเดียว ข้อความหรือภาพนั้นจะคงอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ไปอีกนาน ดังนั้นก่อนจะโพสต์ หรือแชร์สิ่งใด ต้องมั่นใจว่า ขาของเราไม่ได้ย่างเข้าไปในคุก

BlackCat แฮ็กเกอร์จากรัสเซียเจาะข้อมูล 4 องค์กรออสเตรเลีย ขโมยข้อมูลกว่า 5 เทระไบต์

Loading

BlackCat แฮ็กเกอร์จากรัสเซียอ้างว่าได้ขโมยข้อมูลจากองค์กรอย่างน้อย 4 แห่ง ในรัฐวิกทอเรีย ประเทศออสเตรเลีย มากกว่า 5 เทระไบต์ อาทิ MediPath องค์กรให้บริการทางการแพทย์ Strata Plan ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์จัดการองค์กร และ Barry Plant บริษัทนายหน้าอสังหาริมทรัพย์

Microsoft เผยแฮ็กเกอร์จีนเจาะบัญชีวิศวกรล้วงข้อมูลเจ้าหน้าที่สหรัฐ

Loading

  Microsoft Corp เปิดเผยเมื่อวันพุธว่า การแฮ็กเจ้าหน้าที่อาวุโสในหน่วยงานของรัฐและพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกาโดยจีนที่เปิดเผยเมื่อเร็ว ๆ นี้ เกิดจากการเจาะบัญชีของวิศวกรขององค์กร   Microsoft ชี้ว่าบัญชีของวิศวกรถูกเจาะโดยกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่มีชื่อว่า Storm-0558 ซึ่งถูกกล่าวหาว่าขโมยอีเมลหลายแสนฉบับจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอเมริกา รวมถึงรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ จินา ไรแมนโด เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศจีน นิโคลัส เบิร์นส์ และผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศ สำหรับเอเชียตะวันออก แดเนียล ครีเทนบริงค์   โพสต์ในบล็อกดังกล่าวได้ตอบคำถามที่ยังไม่มีคำตอบเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งทำให้เกิดการตรวจสอบความปลอดภัยของ Microsoft อย่างละเอียด และนำไปสู่การเรียกร้องให้ตรวจสอบแนวทางปฏิบัติของบริษัท   โพสต์อธิบายว่าแฮ็กเกอร์สามารถดึงคีย์เข้ารหัสจากบัญชีของวิศวกรได้อย่างไร และใช้เพื่อเข้าถึงบัญชีอีเมลที่ไม่ควรให้สิทธิ์เข้าถึง   Microsoft กล่าวว่าได้แก้ไขข้อบกพร่องที่ทำให้สามารถเข้าถึงคีย์ได้จากบัญชีของวิศวกรที่ไม่ระบุชื่อ ซึ่งทำให้แฮ็กเกอร์สามารถเจาะอีเมลได้ในวงกว้าง ตัวแทนของ Microsoft กล่าวว่าบัญชีของวิศวกรถูกโจมตีโดยใช้ “มัลแวร์ขโมยโทเค็น” แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือช่วงเวลาของเหตุการณ์   สถานทูตจีนในกรุงวอชิงตันไม่ได้แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นนี้ ก่อนหน้านี้ ปักกิ่งได้อธิบายข้อกล่าวหาที่ว่าตนขโมยอีเมลจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ ว่าเป็น “การกล่าวอ้างที่ไม่มีมูล”   ทั้งนี้ สหรัฐได้กล่าวหาจีนและรัสเซียมาหลายปีแล้วว่า อยู่เบื้องหลังความพยายามของแฮ็คเกอร์ ในการเจาะเว็บไซต์หรืออีเมลของเจ้าหน้าที่ระดับสูง โดยครั้งล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เมื่อ…